sija
นาง ศิริลักษณ์ บุญสุวรรณ

สรุปงานวิจัย เรื่อง ปัญหาการบริหารงานวิชาการ


สรุปงานวิจัย

ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา

สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาจังหวัดระยองเขต 1

ผู้วิจัย : ชำนาญ  ท้วมพงษ์

สาขาวิชาการบริหารบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยบูรพา     เมษายน 2550

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> 

 

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาด้านการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษาและด้านการนิเทศภายใน ตามลำดับ2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับรายด้าน พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ3. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียนพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวม และรายด้านของโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

 ความสำคัญของปัญหา

                การศึกษาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มีความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาความรู้  ความคิด  ความประพฤติ  และคุณธรรมของบุคคลเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  เพราะการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ  มีทักษะและเจตคติที่ถูกต้องในการพัฒนาตนเอง  พัฒนาเศรษฐกิจ  สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน ตลอดจนเป็นรากฐานของการพัฒนาทางด้านการเมืองและการปกครองอีกด้วย  และเชื่อว่าการศึกษาที่เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมของประเทศจะสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทย

               การบริหารงานวิชาการโรงเรียนนักวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนต่างก็ยอมรับกันว่าเป็นนงานที่สำคัญที่สุดของการบริหารการศึกษาทุกระดับเนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิด ในโรงเรียน โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน.งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของสถานศึกษา ความสามารถของผู้บริหารงานวิชาการจึงเป็นกระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

               จากรายงานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปรับปรุง สาเหตุของปัญหาอาจสืบเนื่องมาจาก ครูขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรและองค์ประกอบของหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วัสดุประกอบหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผล การวิจัยในชั้นเรียน การประกันคุณภาพการศึกษาการขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ขาดความจงรักภักดีต่อโรงเรียน เกิดความเบื่อหน่ายและครูลาออกจากโครงการ มีส่วนทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำไปด้วย ปัญหาการบริหารงานวิชาการเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องบริหารจัดการและให้บริการ สร้างแรงจูงใจ ใช้ภาวะผู้นำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจแก่ครูในการพัฒนาหลักสูคร และการนำหลักสูตรไปใช้การวิจัยในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการนนิเทศภายในสถานศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การวัดประเมินผลการเรียนการสอน การประกันคุณภาพ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ การช่วยพัฒนาครูให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               จากปัญหาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 น่าจะมีปัญหาการบริหารงานวิชาการที่แตกต่างกันผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาวิจัยปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย วางแผนและแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงส่งเสริมพัฒนางานวิชาการแก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1.  เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง  เขต 1

2.  เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1  จำแนกตามขนาดและประเภทของโรงเรียน

 

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

                ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน  ผู้บริหาร  ครู  นักเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้คือ

                1.  ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการแก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1

                2.  ใช้เป็นเครื่องมือกำหนดนโยบาย  วางแผน  และบริหารงานทางด้านวิชาการให้มีคุณภาพ  เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  อันจะส่งผลให้โรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  มีผลสัมฤทธิ์และมาตรฐานทางวิชาการสูงมากยิ่งขึ้น

 คำถามในการวิจัย  

          1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 อยู่ในระดับใด

          2.  ปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดและประเภทของโรงเรียน แตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า

1.  ปัญหาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกัน

2.  ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน แตกต่างกัน

 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                1.  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  13  โรงเรียน  จำนวนครู  198  คน

   2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970,pp.607-610)  จำนวน 131 คน โดบใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียนเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของแต่ละโรงเรียน

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  1. สภาพการบริหารโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระยองเขต 1
  2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
  3. ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
  4. ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
  5. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
  6. งานวิจัยภายในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศ

การบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารสถานศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา การตรวจสอบว่าสถานศึกษาใด ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการบริหารงานวิชาการสามารถดูได้จากสิ่งต่อไปนี้

  1. สถานศึกษามีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการอย่างชัดเจน
  2. ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ และแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนางาน
  3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครุมีความตระหนักและร่วมกันพัฒนางานวิชาการอย่างจริงจัง
  4. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสามารถนำปรัชญาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติตามโครงการต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่ง

ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานวิชาการถือเป็นงานหลักในการจัดการศึกษาในทุกระดับ ดังนั้นผู้บริหารควรใหความสำคัญในด้านการบริหารงานวิชาการเป็นอันดับแรกและให้เวลาในการบริหารงานวิชาการมากกว่าด้านอื่นๆ เพื่อให้การบริหารงานวิชาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                              กรมสามัญศึกษาได้กำหนดขอบข่ายของงานวิชาการไว้ดังนี้

  1. การวางแผนงานวิชาการ
  2. การบริหารงานวิชาการ
  3. การพัฒนาและส่งเสริมงานด้านวิชาการ
  4. การจัดการเรียนการสอน
  5. การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
  6. การประเมินผลการจัดงานวิชาการ

 

เครื่องมือการวิจัย

               เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมเป็นแบบสอบถามปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามตรวจสอบรายการของครู

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักศุตรการศึกษาขั้นพื้นบานพุทธศักราช 2544 สอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านวิจัยในชั้นเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาและด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ลักษณะของแบบสอบถาม เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้

5             หมายถึง              มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับ              มากที่สุด

4             หมายถึง               มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับ              มาก

3             หมายถึง               มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับ              ปานกลาง

2             หมายถึง               มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับ              น้อย

1             หมายถึง               มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับ              น้อยที่สุด

 

 วิธีการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                1.  ศึกษาเอกสาร  ระเบียบ  คำสั่ง  คู่มือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการบริหารงานวิชาการ

                2.  ศึกษาวิธีการเขียนแบบสอบถาม เรื่องปัญหาการบริหารงานวิชาการ จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                3.  นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคนิพนธ์  ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาตรวจความเหมาะสมและสอดคล้องของข้อคำถาม เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

                4.  การหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) และความเชื่อมั่น (Reliability)  โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item-total Correlation)  ผลการวิเคราะห์ได้ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .53 ถึง .86  และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบสอบถามทั้งฉบับโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟา (Coefficient Alpha)  ของ ครอนบาค (Cronbach,1990,pp.202-204)  ผลการคำนวณได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ  .98  ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูง

  1. นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองใช้และได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วจัดทำเป็นแบบสอบถาม

ฉบับสมบูรณ์ลการคำนวณได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูง

 

วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

  1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ
  2. นำแบบสอบถามตอนที่2 มาตรวจสอบให้น้ำหนักคะแนนโดยกำหนดน้ำหนักแบบสอบถามแต่

ละข้อโดยยึดหลักของไลเคิร์ท (Likert)

  1. นำคะแนนที่ได้ไปดำเนินการหาค่าสถิติต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
  2. เกณฑ์การพิจารณาว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ดูได้จากคะแนนเฉลี่ยของ

น้ำหนักคำตอบของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละข้อโดยใช้เทียบกับจุดตัดของคะแนนเฉลี่ย

 

 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

          1.  ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการเป็นรายข้อ  รายด้านและภาพรวม  วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน  คะแนนเฉลี่ย (x) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (SD)

          2.  เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอพัฒนานิคม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามตามขนาดของโรงเรียน โดยใช้สถิติ t-test

          3.  เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยใช้สถิติ F-test

 

สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ

 

               การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาด้านการบริหารวิชาการของโรงเรียนในก่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฮ,ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที

                    

 

 

 

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                1.  ปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา และด้านการนิเทศภายในตามลำดับ

                2.  ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง  เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับรายด้าน พบว่าปัญหาการบริหารงานวิชาการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียนพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวม และรายด้านของโรงเรียนประปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกิ่งอำเภอพัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียนพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวม และรายด้านของโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีมีนัยสำคัญ

 

อภิปรายผล

  1. การปฏิรูปการศึกษาส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียน เพราะโรงเรียนต้องคอยปรับเปลี่ยนและทำ

ความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง

  1. ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหลักสูตร
  2. อบรมให้ครูมีความรู้และเข้าใจการวิจัยชั้นเรียน
  3. มีปัญหาในการขาดแคลนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้
  4. ควรมีการดูแลช่วยเหลือกัน เพื่อกัฒนาการเรียนการสอน ควรจัดวิทยากรมาให้ความรู้ภายใน

โรงเรียน

  1. ควรใช้เครื่องมือและเทคนิคการประเมินผลอย่างหลากหลาย
  2. การเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการประกันคุรภาพการศึกษา
  3. สำหรับโรงเรียนขนดเล็กต้อจัดให้บุคลากรได้อบรมสัมมนาเพื่อส่งเสริมการบริหารงานด้าน

วิชาการ

              

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 398009เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งานนนี้ ต้องส่ง paper ด้วยนะครับ

ไม่ทราบว่า ส่งหรือ ยัง

แล้วได้เข้าสอบไหมครับ

เอกพรต

ศิริลักษณ์ บุญสุวรรณ

ได้ส่ง paper แล้วนะคะ และได้เข้าสอบด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท