ดาวเทียมไทยคม


ดาวเทียม

                                                  ดาวเทียมไทยคม


 

ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2
คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2
         ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 เป็นดาวเทียมรุ่นแรกของโครงการดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) ณ ประเทศไทย 36 dBW (เดซิเบลวัตต์) ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) 50 dBW (เดซิเบลวัตต์)

พื้นที่การให้บริการของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2


 
 
 

การออกแบบ

ดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin

บริษัทนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส

วันกำหนดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และวันที่เริ่มให้บริการ

ดาวเทียมไทยคม 1A
ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536
·       มีการย้ายตำแหน่งวงโคจรจาก 78.5 องศาตะวันออก ไปที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540
เริ่มให้บริการ
·       ดาวเทียมไทยคม 1 เมื่อเดือนมกราคม 2537
·       ดาวเทียมไทยคม 1A เมื่อเดือนมิถุนายน 2540
ดาวเทียมไทยคม 2
·       ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537
เริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม 2537

ดาวเทียมไทยคม 3

คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 3
        ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่เคยู-แบนด์นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 3 สามารถให้บริการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในสี่ทวีปได้อีกด้วย
พื้นที่การให้บริการของดาวเทียมไทยคม 3

การออกแบบ

ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน

บริษัทนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส

วันที่กำหนดส่ง ดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

16 เมษายน 2540

วันที่เริ่มให้บริการ

พฤษภาคม 2540

 

 

 

     
        ไทยคม 4-ไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสื่อสารชนิดบอร์ดแบรนด์ โดยสามารถเชื่อมติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือครอบคลุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยสามารถส่งสัญญาณ Ka-band ได้ 21 ช่องสัญญาณ และ Ku-band อีก 51 ช่องสัญญาณ นับเป็นดาวเทียมที่มีพลังส่งครอบคลุม 14 ประเทศในแถบภูมิภาคนี้ และสามารถบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ตั้งแต่อินเดียจนกระทั่งถึงนิวซีแลนด์

รูปภาพ 1 ดาวเทียมไทคม 4 ipstar
     จรวดแอเรียน 5 (Ariane 5) ของบริษัทแอเรียนสเปซ (Arianespace) ที่ทำหน้าที่ส่งดาวเทียมไทยคม 4-ไอพีสตาร์ ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส์ ลอเรล (Space System / Loral - SS/L) เข้าสู่วงโคจร ได้จุดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 15.20 น.ของประเทศไทย หรือเวลา 04.20 น.ตามเวลาของฐานปล่อยจรวด ELA-3 ณ เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนซ์กิยานาของประเทศฝรั่งเศส ในทวีปอเมริกาใต้
                   ไอพีสตาร์ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส์ ลอเรล (Space System / Loral - SS/L) จะถูกขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดแอเรียน 5 (Ariane 5) ของบริษัทแอเรียนสเปซ (Arianespace) ซึ่งการทำหน้าที่ในการส่งดาวเทียมน้ำหนัก 14,300 ปอนด์หรือ 6,486.48 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรนั้นนับเป็นการขนส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่หนักที่สุดเท่าที่เคยมี และเมื่อไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นไปแล้วจะโคจรที่ความสูง 22,300 ไมล์หรือ 35,880.7 กิโลเมตรเหนือเส้นสูตรศูนย์ และอยู่ในวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก
                                                                                                         
                                                                                    รูปภาพ 2 ตรวดแอเรียน
       ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริในเรื่องของการศึกษา โดยมีการนำเอาดาวเทียมไทยคมเข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรม
ราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาทางไกล
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3980เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2005 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอดีดีกว่านี้นะคะ ดูแล้วมันงง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท