สภามหาวิทยาลัย 43 : สภาวิชาการ


สภาวิชาการต้องร่วมกันคิดเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องเชิงพัฒนาวิชาการ อย่าหลงเข้าไปทำงานเชิงกฎระเบียบหรือเชิงงานประจำ

          ผมได้รับเชิญจากประธานสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล  ศ. พญ. อำไพวรรณ   จวนสัมฤทธิ์  ไปร่วมประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2549  ในวันที่ 18 ส.ค.49   และขอให้ผมแสดงความเห็นเรื่อง "วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยมหิดล"

         ผมจึงขอเอกสารเกี่ยวกับสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยมหิดลมาศึกษา   พบว่าสภาวิชาการจัดตั้งขึ้นโดย "ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยสภาวิชาการ พ.ศ.2541"

         ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 16 ว่า "สภาวิชาการมีหน้าที่ในการเสนอความเห็นต่อสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบายวิชาการและแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายความเป็นเลิศทางวิชาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย   เพื่อสนองความต้องการของประเทศและกลไกในการพัฒนาและประกันคุณภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย   รวมทั้งการร่วมมือกับองค์กรนอกมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกประเทศ
(2) นโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับประเภทวิชาและคณะวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย   รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักสูตร  การให้ปริญญาและปริญญากิตติมศักดิ์และการจัดตั้ง  การรวมและการยุบเลิกหลักสูตร  ประเภทวิชาและคณะวิชาต่าง ๆ
(3) ความตรงต่อนโยบาย แนวทาง มาตรฐาน และหลักเกณฑ์ของความคิดริเริ่มการดำเนินการและการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ภายใต้กำหนดตามข้อ (1) และ (2)
(4) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางวิชาการตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย"

         ทำให้เกิดแนวความคิดว่า  สภาวิชาการต้องร่วมกันคิดเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องเชิงพัฒนาวิชาการ   อย่าหลงเข้าไปทำงานเชิงกฎระเบียบหรือเชิงงานประจำ   เพราะการทำงานเช่นนั้นจะไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของศาสตราจารย์ทั้งหลาย

         คำแนะนำของผม (ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสม) คือ  สภาวิชาการจัดทำ Mapping of Success Stories ของมหาวิทยาลัยมหิดล   ซึ่งเป็น Success Stories ที่น่าภาคภูมิใจ   เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง  และน่าจะได้หาทางเชื่อมโยงส่งเสริมให้เกิด Success Stories แบบนี้เพิ่มขึ้น   ทำให้กิจกรรมเชื่อมโยงเข้าหากัน   เป็นกิจกรรมที่กว้างและลึก   และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคม

         ผมคิดว่าวันที่ 18 ส.ค.49  เราควรคุยกันเรื่องนี้ครับ

วิจารณ์  พานิช
 20 ก.ค.49

หมายเลขบันทึก: 39723เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  ถ้าคิดและทำได้อย่างจริงจัง และกว้างขวาง แพร่กระจายไปสู่ทุกมหาวิทยาลัย วิชาการ จะไม่ ปลีกวิเวก แยกตัวเองไปจาก Social Issue  มากอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ตัวนักวิชาการเองก็จะได้ลิ้มรสชาติใหม่ๆของความเป็นมนุษย์มากขึ้น นั่นคือการได้สัมผัสชีวิตผู้คน เรียนรู้ความจริงที่หลากหลาย เห็นความเชื่อมโยงของปัญหาและสรรพสิ่ง ที่สำคัญจะ รัก  เห็นใจ และ เข้าใจผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น วิชาการ เพื่อ วิชาการ ก็จะกลายเป็น วิชาการเพื่อชีวิต
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท