jus dispositivum แปลว่าอะไร?


เป็นคำละตินที่อาจารย์แหววถามมานานแล้ว แต่เพิ่งจะค้นคว้ามามีความหมายดังนี้ค่ะ...

     JUS DISPOSITIVUM เป็นภาษาละติน แปลว่ากฎหมายไม่บังคับตายตัวหรือกฎหมายอันเกิดจากความยินยอม เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า JUS COGENS ที่ได้เคยเสนอไว้แล้ว

     jus dispositivum ตาม BLACK'S LAW DICTIONARY(2004)ได้ให้ความหมายว่า"(n)[Latin"law subject to the disposition of the parties"] International Law : A norm that created by the consent of participating nations, as by an international ageement , and is binding only on the nations that agree to be bound by it" jus dispositivum ดังกล่าวนี้ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ แปลว่าหลักเกณฑ์ที่ถือปฏิบติโดยความยินยอมในการเข้าร่วมทำความตกลงระหว่างประเทศและผูกพันเฉพาะกับรัฐที่ตกลงหรือยอมรับที่จะผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าว โดย jus dispositivum นี้เป็นเรื่องความตกลงระหว่างประเทศหรือใช้หลักความยินยอมจึงจะผูกพัน

     ซึ่งต่างจาก jus cogens ที่เป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด(Compelling Law or Peremptory Norm) อันเป็นกฎเกณในหลักกฎหมายทั่วไปที่ได้รับการยอมรับและได้รับความเห็นชอบในประชาคมระหว่างประเทศ ในฐานะกฎเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติที่ไม่อาจมีกฎเกณฑ์ใดมาขัดหรือแย้งหรือยกเลิกกับหลัก jus cogensซึ่งมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน(Public Orders) เช่น การค้าทาส การฆ่าล้าเผ่าพันธุ์มนุษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม jus cogens อาจถูกแก้ไขโดยกฎหมายที่เกิดขึ้นภายหลัง(กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า)โดยมีเงื่อนไขว่ากฎหมายที่เกิดขึ้นภายหลังต้องมีลักษณะเป็นและองค์ประกอบฐานะเป็น jus cogens เช่นกันจึงจะสามารถยกเลิกหรือแก้ไข jus cogens ที่มีอยู่เดิมได้

      นอกจากความต่างในเรื่องของค่าบังคับของกฎหมายแล้ว jus cogens ยังมีลักษณะบังคับเป็นการทั่วไป(erga omnes) กล่าวคือบังคับทุกรัฐแม้รัฐนั้นจะไม่ได้ยอมรับจากความตกลงก็ตาม ก็มีความผูกพันเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาดและเป็นกฎเกณฑ์อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยดังกล่าว ซึ่งต่างจาก jus dispositivum ที่ผูกพันเฉพาะรัฐภาคีที่เข้าร่วมทำความตกลงระหว่างประเทศเท่านั้นไม่มีผลผูกพันเป็นการทั่วไป

หมายเลขบันทึก: 39708เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบใจจ๊ะ

และถ้าจะดี ก็ต้องหาต่อว่า jus gentium คืออะไร ?

รออีกหน่อยนะคะ เดี๋ยวหนูจะเอามาลงให้ค่ะ
  • ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
  • มีข้อมูลมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาติดตามอ่าน

ดิฉันก็ชอบศึกษาอะไรแปลกๆ เหมือนกันค่ะ เพื่อไม่ให้ใครเอาเปรียบได้

อีกประการหนึ่งการที่เรารู้ศาสตร์ต่างๆ หลายแขนงนั้น เรายังสามารถนำต้นทุนดังกล่าวไปแบ่งปันคนรอบข้างได้อีกด้วยค่ะ

สงสัยต้องใช้คำว่าการหาความรู้เปรียบเสมือนการบริโภคที่ไม่มีวันอิ่มล่ะมั้งคะคุณขจิต

     ชอบจัง จริงๆเราเองชอบภาษาละตินมาตั้งแต่ตอนเรียนศัพท์Engกับอ.พินัยแล้ว  รู้สึกว่าเป็นอีกหนึ่งภาษาที่น่าสนใจมากและเชื่อมโยงกับภาษาอังกฤษทำให้จำศัพท์ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น

       มีของมาฝากนะจ๊ะ

  • Commodum ex juria sua nemo habere debet

          ไม่มีใครได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดของตน

  • Salus populi est suprema lex

           ความผาสุกของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด

ขอบคุณมากจ้ะ วันนี้เห็นออนเอ็มเป็นภาษาละติน เชียว...ดีดีมาช่วยกันเผยแพร่ละตินเกี่ยวกฎหมายกันห้องเรียนจะได้น่าเรียน

อาจารย์ ดวงเด่น จิงๆด้วย ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท