ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“การประชุมที่เคร่งเครียด”


“เครียดแต่เช้ายันบ่าย”

การประชุมที่เคร่งเครียด          

         เครียดแต่เช้ายันบ่าย14.00 น. ของวันที่  19  กรกฎาคม 2549  ศ.ดร.อภิชัย   พันธเสน  ที่ปรึกษาหลักสูตร ดร.สุทธิดา   แจ่มใส เลขานุการหลักสูตรพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และอาจารย์ที่ศึกษาอีกประมาณ  6 คน ได้นัดให้นักศึกษาปริญญาโท เอก มาร่วมประชุมหารือด่วน แต่ไม่ได้แจ้งหัวข้อเรื่องที่จะประชุมให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า จึงทำให้นักศึกษาทุกคนค่อนข้างตกใจและเครียดไปตามๆกัน เพราะเนื่องจากช่วงนี้มีเรื่องราวหลายๆ เรื่องที่มีมาถึงนักศึกษาที่ได้รับทุน สคส. บ้างก็บอกว่าอาจารย์เลื่อนการสอน บ้างก็บอกว่าทุนไม่การพิจารณาอนุมัติบ้างจึงทำให้นักศึกษาเครียดไปตามๆ กัน     

  สาเหตุของความเครียดจริงๆแล้วความเครียดนั้นมีสาเหตุมาจากหลายๆประการไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวล ความเครียดที่เกิดจากสุขภาพ เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวออกมามาก จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรงและมีพลังงานพร้อมที่จะหาแนวทางออก เพื่อลดฮอร์โมนดังกล่าว  แต่ความเครียดที่เกิดกับนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ในครั้งนี้จริงๆ แล้วเป็นความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวลเรื่องทุนที่ สคส. เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา ด้วยความที่เราไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเขียน Blog ที่แท้จริง จึงมีทิศทางการเขียนที่แตกต่างกัน ก็เกรงว่าจะไม่ได้รับทุนต่อไป

ผลเสียของความเครียดต่อสุขภาพความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกาย เช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อีกทั้งอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคทางเดินอาหารโรคปวดศีรษะไมเกรนโรคปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน การฆ่าตัวตายและมะเร็ง เป็นต้น         

 ความเครียดสามารถแก้ไขได้อย่างไรสำหรับความเครียดที่เกิดกับนักศึกษาสาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับการแก้ไขปัญหาความเครียดเรียบร้อยหลังจากที่ ศ.ดร. อภิชัย   พันธเสน และดร.สุทธิดา   แจ่มใส ได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อที่จะประชุมหารือ กล่าวคือวันนี้คณาจารย์ต้องการทราบความก้าวหน้าเกี่ยวกับการเรียน ว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง และการพัฒนา Proposal ของนักศึกษาที่ต้องทำ Thesis แต่ละคนไปถึงไหนแล้ว สำหรับเรื่องทุนการศึกษานั้น ทางหลักสูตรจะได้ชี้แจงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้กับ สคส. ให้เข้าใจต่อไป แต่ขอให้ทุกคนตั้งใจในการศึกษา และทำตามกติกาที่กำหนดไว้ และสุดท้ายเพื่อทุ่มเทแรงกายแรงใจที่จะต้องให้จบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และช่วยกันพัฒนาประเทศไทยต่อไป   สำหรับท่านล่ะ หายเครียดหรือยัง หากยังไม่หายจะต้องหาเวลาในการ ผ่อนคลายสมองบ้าง เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง ไปพูดคุยกับเพื่อน หรือหากเป็นเข้ามากๆ อาจจะต้องไปปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามพยายามอย่าปล่อยให้ตนเองเครียดนะครับ เดี๋ยวแก่เร็ว และอายุสั้น

สวัสดีครับ

อุทัย   อันพิมพ์  

หมายเลขบันทึก: 39706เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เครียดเพราะเงิน กลายเป็นปัจจัยหลัก เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ คือ การศึกษา เพราะในหลักสูตร ป.โท ป.เอก ต้องใช้เงินมากพอควรต่อหลักสูตรเพื่อการสำเร็จการศึกษา...

แต่ปราชญ์ชาวบ้าน การสำเร็จการศึกษาคือ การได้มีอยู่มีกิน ปากท้องอิ่ม มีหนี้สินพอประมาณ และส่งลูกเรียนจนจบ ป.ตรีได้ แต่เราก็ต้องไปเรียนรู้จากพวกเขาเหล่านี้.. เพื่อที่จะได้สำเร็จการศึกษา..

     สิ่งที่สำคัญสุดของการมีชีวิตอยู่ที่ดีงามก็คือ การทำตามพันธสัญญา อันหมายถึงเรื่องราวที่ถูกกล่าวถึงและเป็นข้อตกลงร่วมทั้ง 2 ฝ่าย เพราะทุกอย่างมีเหตุผลที่เชื่อมโยงสัมพันธ์และสามารถอธิบายได้ด้วยเจตนาเดิมโดยพื้นฐาน

       ถ้าเรานำเงิน วัตถุสิ่งของ มากำหนดและมีอิทธิพลเหนือการเรียนรู้ก็นับเป็นเรื่องที่น่าคิดในสังคมโดยเฉพาะสังคมการบริโภคในปัจจุบัน องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมและมีบทบาทอธิบายกับสังคมวงกว้างเสมอมาต้องระวัดระวังสุดท้ายการเรียนรู้และการสร้างในสิ่งที่ดีงามก็เป็นเรื่องที่น่าทบทวนอย่างยิ่ง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท