การคิดโจทย์วิจัย "การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน"


งานวิชาการเป็นงานสำคัญที่จะช่วยในการจัดการองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานของงานพัฒนา

ทางเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน ได้จัดเวทีพูดคุยกันในเรื่อง "ประเด็นงานวิจัยการท่องเที่ยว"  ที่เห็นว่า จะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิผลและสอดคล้อง   ในบริบทของแม่ฮ่องสอนน่าจะมีประเด็นใดบ้าง

ลองมาดูกันนะครับ จะประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน จะได้ร่วมเรียนรู้ และเกิดไอเดียในประเด็นบางประเด็น และสามารถนำไปเทียบเคียง และนำไปพัฒนาโจทย์วิจัยในพื้นที่ ของท่านได้

ประมวลภาพรวมประเด็นการพัฒนาโจทย์วิจัยการท่องเที่ยวของแม่ฮ่องสอน

โจทย์ในระดับชุมชน

การจัดการ การประเมินค่าทรัพยากรฯ 

๑.การจัดการผลประโยชน์ร่วมของผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ? 

๒.การสร้างความตระหนักให้นักท่องเที่ยว 

๓.การจัดการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชน 

๔.การดึงหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมจัดการ 

๕.การค้นหารูปแบบการจัดการอย่างครบวงจรและยั่งยืน 

๖.การสร้างเครือข่ายชุมชน CBT และการขยายผลสู่ชุมชนอื่น 

๗.การศึกษาพื้นที่ชุมชนทีมีการจัดการในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

โจทย์ในระดับจังหวัด

 

๑.จะพัฒนากลไกการจัดการฯได้อย่างไร? ควรมีใครเข้ามาร่วมบ้าง?

๒.รูปแบบกลไกการจัดการฯ เป็นอย่างไร?(การเชื่อมโยงบทบาทของแต่ละภาคี) 

๓.ระดับความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการฯ (ทั้งในระดับจังหวัด/อบจ./เทศบาล/อบต./ชุมชน) 

๔.จุดเด่นของแม่ฮ่องสอนด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีอะไรบ้าง? 

๕.รูปแบบการบริหารจัดการตลาดเพื่อชุมชน/การกำหนดบทบาท 

๖.การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวกับจังหวัดอื่น 

๗.การค้นหาเส้นทางการท่องเที่ยวอื่น

ทั้งหมดเป็นประเด็นที่เรานั่งพูดคุยกัน แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือระดับชุมชน และระดับจังหวัด

ซึ่งผมคิดว่า ประเด็นเหล่านี้ น่าสนใจและกำลังรอการศึกษา วิจัยต่อไปที่แม่ฮ่องสอน

หมายเลขบันทึก: 39702เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สนใจรูปแบบเชิงนิเวศของแม่ฮ่องสอน
  • อยากรูปว่าทำโครงร่างของแหล่งท่องเที่ยวไว้อย่างไร
  • ขอบคุณครับ
     หากได้ลองทำอย่างนี้คือทำ Research Mapping ก็จะได้ประเด็นวิจัย "เชิงพัฒนาระบบการท่องเที่ยวของแม่ฮ่องสอน" นะครับ
     ทีนี้เราก็จะรู้ว่าประเด็นไหนได้ทำมาแล้ว ต้องทำ ควรทำ น่าทำ หรือค่อยทำ ผมว่าจะได้ "องค์รวมและรอบด้าน" เลยครับ
     ลองคิดกันดูนะ การทำ Research Mapping ก็เป็น Research ชิ้นนึงด้วย...นิ

อาจารย์ขจิต

ผมจะนำเสนอเรื่องราวของการท่องเที่ยวโดยชุมชนสม่ำเสมอครับ

คิดว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เป็นจุดแข็งของที่แม่ฮ่องสอน เราใช้การท่องเที่ยวสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนครับ

 พี่ชายขอบ ครับ

ผมสนใจเรื่อง Research Mapping กระบวนการจะคล้าย mindMapใช่หรือเปล่าครับ? คืิอ คิดเชิงระบบจากประเด็นใหญ่...? มีตัวอย่างหรือไม่ครับ? น่าสนใจมากครับ

 

Hi Khun Jatuporn,

I have learned 'mind mapping' two years ago in my master coursework here at Curtin Univ.

Mind mapping is only one useful tool for you to make a further implementation in conducting research.

I got two websites for you krab:

http://www.mapyourmind.com/linksresearch.htm

This one consisted of several tools releted to mapping your ideal or concepts.

http://freemind.sourceforge.net/wiki/index.php/Main_Page

The second one provides a free software for organizing your model krab.

Thank for your email and take good care krab.

     ประเด็นการทำ Research Mapping  น่าจะไม่ใช่ MindMap อย่างที่เขียนไว้นะครับ ยังไงขอติดไว้นะครับ เดี่ยวจะมาต่อเติมกันอีกทีนะครับ ให้เสร็จสิ้นเวทีวันนี้ก่อนนะครับ

อาจารย์ Pop

ผมได้รับบทความที่ส่งมาทางเมลล์เรียบร้อยแล้วครับ น่าสนใจมากครับ ผมเห็นอย่างหนึ่งว่า "กระบวนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน" นั้น เน้น ในเรื่องของการพัฒนา "คน" และ พัฒนา "พื้นที่" เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้พึ่งตนเองได้ ในที่สุดก็เกิดความยั่งยืน ครับ 

ผมตามไปดูลิงค์ที่ให้ แล้วครับ...น่าสนใจมากเช่นเดียวกัน แล้วผมจะย่อย นำมาแลกเปลี่ยนกันในบอร์ดครับผม

 พี่ชายขอบ

ผมขอรบกวนพี่ด้วยครับ เกี่ยวกับรายละเอียด กระบวนการใหม่ๆ ที่พี่เคยใช้ในเวที ผมคิดว่าเครื่องมือบางเครื่องมือจะช่วยให้พวกเราคล่ิองตัวมากขึ้น  และเกิดประโยชน์ในการทำงานของพวกเราครับ 

น้องครับ มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่มหิดล ทำงานของ สกว ทำเรื่องการท่องเที่ยว ลองหาข้อมูลนะครับชื่อ ดร เทิดชาย ช่วยบำรุง

คุณจตุพรครับ

      ผมมาสอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน   ได้พูดคุยกับอาจารย์ ข้าราชการที่นั่น ก็ได้เห็นภาวะการตื่นตัวทางวิจัย โดยเฉพาะการขานรับนโยบายการท่องเที่ยวของจังหวัด  นักวิจัยมากมายมากระทบไหล่กันที่แม่ฮ่องสอน บ้างก็เน้นทางด้านชาติพันธุ์ บ้างก็เน้นการท่องเที่ยว บ้างก็เน้นเศรษฐกิจ ฯลฯ  แต่ที่ผมสนใจก็คือ  ภาพรวมของการวิจัยเพื่อแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างไร ใครคุมภาพรวมนั้น  คุณจตุพรคลุกคลีเรื่องนี้มากกว่าผม ลองขยายให้ฟังหน่อยครับ  ตอนนี้เท่าที่เห็นอุปสรรคในพื้นที่แทบทุกพื้นที่ก็คือ "ความไม่ตื่นเต้น ตื่นตัวและความไม่เข้าใจอย่างแท้จริงของประชาชนในพื้นที่ "  มองจากนักศึกษา ก็พอเห็นภาพนี้เหมือนกัน  แต่ถ้าถามว่าดีไหม เขาก็ตอบว่าดี  แต่เขาไม่เห็นว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในชีวิตเขามากนักครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

P

ผมกำลังคิดว่า ผมจะเปิดเป็นบันทึกประเด็นนี้เลยครับ และบอกได้เลยว่า แม่ฮ่องสอนนั้นมีดีมาก โดบเฉพาะนักพัฒนา - ชุมชน ที่เติบโตขึ้นเป็นแผงในส่วนของกระบวนการเรียนรู้

การเติบโตนั้นน่าสนใจมาก

ผมจะเขียนบันทึกใหม่เพื่อตอบข้อซักถามรายละเอียดของอาจารย์ครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท