การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint for change)


การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้จังหวัดและส่วนราชการสามารถสังเคราะห์ความคิด (Diagnose)

สวัสดีค่ะ....:)

     วันนี้จะนำความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change) มานำเสนอกันนะค่ะ

ตอนที่  1

     เนื่องจากในปีงบประมาณ  พ.ศ.2548  สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง หรือ  การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change) ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Blueprint  for  change  ส่วนราชการละ  1  ประเด็นยุทธศาสตร์เป็นอย่างน้อย   ซึ่งจังหวัดชุมพร  ได้เลือกประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจน  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change)  การเปลี่ยนแปลงของของกลุ่มจังหวัด(ชุมพร  สุราษฎร์ธานี  และระนอง)  ดังนั้น  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจน  จึงได้พบหน้ากันบ่อย  ๆ  ที่สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์เพื่อระดมสมองและมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change)  ของจังหวัดในครั้งนี้.....น่าภูมิใจนะค่ะ...ที่ได้มีส่วนร่วมการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change) และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบบริหารราชการจังหวัดชุมพร  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ประชาชน และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ของจังหวัดชุมพร  "มุ่งการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรครบวงจร  นำการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและเสริมสร้างบ้านเมืองน่าอยู่  คู่สังคมที่ยั่งยืน"

หลักการและเหตุผลของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint  for  change) 

     การบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน เป็นการบริหารราชการแนวใหม่ที่มุ่งเน้นความสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งมีความสอดคล้องของการวางแผนยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน (Cascade) โดยเริ่มจาก “คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี” ที่พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 ไปสู่การจัดทำ “แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551” จนกระทั่งเป็น แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2548-2551” ของกระทรวง กรม และจังหวัด
     การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้จังหวัดและส่วนราชการสามารถสังเคราะห์ความคิด (Diagnose) อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และทำให้จังหวัดและส่วนราชการเกิดความพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Readiness) อันประกอบด้วย การปรับปรุงประสิทธิภาพ (Efficiency Improvement) การพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement) และการเสริมสร้างขีดสมรรถนะ (Capacity Building) เพื่อให้การปฏิบัติราชการของจังหวัดและส่วนราชการเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  แล้วพบกันต่อครั้งต่อไปในตอนที่  2 ค่ะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3970เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2005 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ..

จากที่ผมอ่านมา..การจัดทำจ้ดเสนอการเปลี่ยนแปลง..ก็คือสอนให้เราตั้งเป้าหมายว่าเรามีเป้าหมายอย่างไร..และให้ใช้  Blueprint  for  change..มาเป็นเครื่องมือเพื่อให้เป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ..นะครับ

จาก.คนรุ่นใหม่...

สวัสดีครับ..

จากที่ผมอ่านมา..การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง..ก็คือสอนให้เราตั้งเป้าหมายว่าเรามีเป้าหมายอย่างไร..และให้ใช้  Blueprint  for  change..มาเป็นเครื่องมือเพื่อให้เป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ..นะครับ

จาก.คนรุ่นใหม่...

สวัสดีครับ..

จากที่ผมอ่านมา..การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง..ก็คือสอนให้เราตั้งเป้าหมายว่าเรามีเป้าหมายอย่างไร..และให้ใช้  Blueprint  for  change..มาเป็นเครื่องมือเพื่อให้เป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ..ผมเข้าใจถูกต้องนะครับ

จาก.คนรุ่นใหม่...

จากวันที่ 16 กันยาน  ดิฉันก็รออ่านข้อมูลในตอนที่ 2  อีก

เพราะอ่านแล้วก็เริ่มเข้าใจ(อ่านและคิดตามประมาณ 5-6 รอบ)เพราะเป็นศัพท์ใหม่จริงในสังคมข้าราชการ.ไทยเรา  

Blueprint  for  change  จะช่วยให้ระบบราชการทำงานมีประสิทธิภาพ  มีคุณภาพมากขึ้นนั้น..(ตามหลักการและเหตุผลข้างต้น)แล้วขั้นตอนที่ 2  เป็นอย่างไร...ดิฉันรออ่านอยู่นะค่ะ(คิดว่าคุณพยูนสตูลคงยังไม่ว่าง..แต่เมื่อจะนำเสนอความรู้ที่คุณมี...กรุณาอย่าให้ลูกค้ารอนานนะค่ะ...........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท