กระบวนการการจัดการความรู้ การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน


กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสรา้งสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น

แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองในฝันของนักท่องเที่ยวหลายๆคน ด้วยความที่มีจุดเด่นทางด้านกายภาพที่เข้าถึงยาก ทุนธรรมชาติที่มีอย่างเหลือเฟือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

ที่แม่ฮ่องสอน ได้มีกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนที่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดแรกๆของประเทศไทยก็ว่าได้ มีทั้งการพัฒนาจากองค์กรพัฒนาเอกชน จากรัฐ และจากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น รวมถึงงานศึกษาของนักศึกษา อาจารย์ที่มาศึกษาในพื้นที่

องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เกิดจากการสำรวจความรู้ การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) มีหลากหลายวิธีการ และมีมากมาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย ซึ่งถือได้ว่า กระบวนการพัฒนา และวิจัยที่แม่ฮ่องสอนประสบความสำเร็จที่เห็นชัดเจนคือ "คน" ที่เก่งขึ้น "คน" ในที่นี้คือ "ชาวบ้าน" ที่อยู่ในกระบวนการพัฒนานั่นเอง 

ด้วยพัฒนาการที่น่าสนใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมากมายนี่เอง จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดเก็บและเกิดงานสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อการจัดความรู้ที่เป็นระบบ(Knowledge Organization) นักวิชาการที่รับผิดชอบร่วมกันประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เพื่อจะนำไปสู่การถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดอันจะเป็นข้อมูล ในการใช้วางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ในการพัฒนางานด้านการท่องเที่ยวโดยตรง ตอบสนอง "เครือข่าย" การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(ตอนนี้กำลังก่อร่าง สร้างสายใย) ให้เข้าถึงความรู้มากขึ้น(Knowledge Access) เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

 ขณะนี้ทาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้อนุมัติโครงการวิจัย "การสังเคราะห์องค์ความรู้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน" และอยู่ในช่วงเซ็นสัญญา โดยมีผมเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ในครั้งนี้

เป็นหนึ่งของพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ของแม่ฮ่องสอน เพื่อจะได้ใช้กระบวนการจัดการองค์ความรู้ สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น 
หมายเลขบันทึก: 39695เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นกำลังใจให้พี่ชาย  ในการทำงานดีๆเพื่อชาวบ้าน เพื่อท้องถิ่นครับ

ยินดีด้วยครับท่านหัวหน้าโครงการ รอฟังข่าวและชื่นชมความสำเร็จนะครับ
  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • ดีใจที่จะได้ไปช่วยงานครับ
น่าจะศึกษากิจกรรม การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาคอื่นๆ    เพื่อประกอบการเรียนรู้ด้วยนะครับ    เพื่อให้มีมุมมองที่กว้าง    แต่ไม่ใช่จะเอาอย่างเขานะครับ

เรียนน้องหมอ bukpat

ขอบคุณน้องมากครับ สำหรับกำลังใจ ผมก็อาศํยกำลังใจจากเพื่อนๆนี่หละครับ เป็นยาใจเวลาทำงาน ...ขอบคุณครับ 

เรียน ท่าน ผอ.บวร

ในกระบวนการทำงานวิจัย คงต้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับข้างนอกอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญที่สุดก็คือ

ประโยชน์ที่จะได้รับในพื้นที่ จาก การจัดการองค์ความรู้ในครั้งนี้ครับ 

เรียนอาจารย์ขจิต

ต้องขอขอบพระคุณมากครับ สำหรับแรงใจและ จิตสาธารณะ ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาที่นี่ ...เป็นอีกแรงหนึ่งที่สำคัญมาก...แค่เอื้อนเอ่ย ก็ประทับใจ สุดประมาณ ครับ

เรียนอาจารย์หมอวิจารณ์

ผมรู้สึกมีกำลังใจ และรู้สึกได้รับเกียรติที่อาจารย์กรุณาให้ข้อคิดเห็นครับ

ผมขอชี้แจงดังนี้ครับ

กระบวนการสังเคราะห์ที่เรากำลังจะศึกษา วิจัย ในครั้งนี้ เรามีภาพของการเคลื่อนงาน CBT. ระดับประเทศด้วย ระดับภาคเหนือ และ ระดับจังหวัด ลงถึงระดับพื้นที่ เครือข่ายครับ ข้อมูลทั้งหมดจะนำมาสังเคราะห์รวมกัน

ส่วนประเด็นงาน ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ที่หลากหลาย มากมาย ในพื้นที่นั้น เป็นงานที่พวกเราจะสังเคราะห์เพื่อใช้งานให้สอดคล้อง กับบริบทพื้นที่และเหมาะสมกับบริบทของแม่ฮ่องสอน

ตามจุดมุ่งหมายของงานที่มุ่งเรื่ืองของความยั่งยืน และพัฒนา"คน" อันเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดครับ 

 

 

  • น้องครับลืมบอกไปอาจารย์ Panda ของเราทำงานเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวของวังน้ำเขียว ลองเข้าไปที่บันทึกอาจารย์Panda นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

มีเครือข่ายเยอะนะครับ...หากไม่ใช่ Gotoknow ก็คงไม่ทราบว่ามีเครือข่ายความรู้อยู่มากมายไปหมด

 ขอบคุณอาจารย์ขจิตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท