จรรยาบรรณและคุณธรรมสำหรับครู


ครู

ความหมายจรรยาบรรณ

จรรยา คือ ความประพฤติที่พึงปฏิบัติ กิริยาที่ควรปฏิบัติ หรือสิ่งที่ควรปฏิบัติ

บรรณ คือ หนังสือ หรือเอกสาร

หมายถึง ประมวลความประพฤติ ที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอาชีพกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

ความสำคัญของจรรยาบรรณ

1.จรรยาบรรณช่วยควบคุมมาตรฐานรับประกันคุณภาพ

2.จรรยาบรรณช่วยส่งเสริมจริยธรรม เช่น ความมีเมตตากรุณา

3.จรรยาบรรณช่วยลดปัญหาการคดโกง การเอารัดเอาเปรียบ

4.จรรยาบรรณช่วยให้เห็นสิ่งที่ดีของผู้มีจริยธรรม

5.จรรยาบรรณช่วยทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฎหมายให้สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นไปตามทำนองคลองธรรม

ประวัติความเป็นมาของจรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ ในความหมายของ Ethics  ก็เพิ่งจะได้รับการนำมาใช้ได้ไม่นานเท่าใดนัก ไล่ๆ กับการรับวิธีการศึกษาแบบชาติตะวันตกเข้ามาในประเทศสยาม โดยเริ่มใช้กับจรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณครู  และจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ก่อน   และกว่าจะมีการระบุเรื่องจรรยาบรรณไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ก็ต้องใช้เวลานานกว่าหกสิบปี (ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑)  

ข้อบังคับจรรยาบรรณครูของคุรุสภา

ต้องไม่ประพฤติผิดทางชู้สาวและพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ระบุว่า ครูต้องรัก ศรัทธาซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ สำหรับจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ระบุว่า ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

คุณธรรมสำหรับครู

คุณธรรม 4 ประการ
ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความเชื่อ และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

ความหมายของคุณธรรม

คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดีผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี

 คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อ

คุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจ

ความสำคัญของคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพครู

1 ด้านตัวครู คุณธรรมมีความสำคัญ ดังนี้

1.1 ทำให้ครูมีความเจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงในงานอาชีพ

1.2ได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป เป็นที่เคารพเชื่อฟังของศิษย์

1.3มีชิวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไร้ภยันตรายใดๆเพราะแวดล้อมความรักความนับถือจากศิษย์และประชาชนทั่วไป

1.4ครอบครัวมีความอบอุ่นและมั่นคง ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ฝืดเคือง

2 ด้านสถาบันวิชาชีพครู คุณธรรมมีความสำคัญ ดังนี้

2.1ทำให้ชื่อเสียงของคณะครูเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของปวงชน

2.2งานวิชาชีพครูมีความเจริญก้าวหน้า เพราะอาจารย์ทำงานเต็มกำลัง ความสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ

2.3สถาบันศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากประชาชนเต็มที่

3 ด้านสังคมและชุมชน คุณธรรมมีความสำคัญ ดังนี้

3.1 สมาชิกของสังคมเป็นคนดีมีคุณธรรมสูง รู้จักสิทธิหน้าที่อย่างถูกต้อง

3.2 สังคมมีสันติสุขเพราะสมาชิกของสังคมได้รับการสั่งสอนจากผู้มีคุณธรรม

3.3 สั่งคมได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านเพราะสมาชิกมีคุณธรรม

4 ด้านความมั่นคงของชาติ คุณธรรมมีความสำคัญ ดังนี้

4.1 สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความรักความข้าใจและเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง

4.2 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนาธรรมของชาติ มีความมั่นคงถาวร เพราะครูอาจารย์ได้รับการอบรบสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณธรรม 4 ประการสำหรับคนไทย

ประการแรก... คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจ ต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง... คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสัจความดีนั้น
ประการที่สาม... คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่... คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมของครูตามจรรยาบรรณของคุรุสภา

1. ครูต้องรัก และเมตตาศิษย์
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และ นิสัยที่ต้องดีงาม ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั่งกายวาจาและจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย ปัญญา จิตใจอารมณ์ และ  สังคมของศิษย์

5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์  อันเป็นอนิจสินจ้างแก่ศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และ ไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด  ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนา ทางวิชาการ เศรษฐกิจ และการเมืองอยู่เสมอ

7. ครูย่อมรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์

8. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำทางการอนุรักษ์ และ พัฒนาภูมิปัญญา และ  วัฒนธรรมไทย

คุณธรรมที่พึงประสงค์ของครู

ครูที่ ใจดี มีเหตุผล มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความมั่นใจในตัวเอง พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำไม่ลำเอียง ไม่ข่มขู่ แต่คอยเอาใจใส่ดูแล ให้กำลังใจ ไม่ลงโทษด้วยวิธีรุนแรง ไม่ใช้อารมณ์ มีวิธีการสอนที่สนุกสนาน ไม่สอนเร็วหรือช้า

1.  ครูจะต้องเป็นนักวิจัย   เก็บข้อมูลให้ละเอียดว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันมีอะไรครูจะต้องร่วมมือแก้ไข

2.  ครูต้องเป็นนักวิเคราะห์   เมื่อหาข้อมูลมาพร้อมก็นำปัญหาเหล่านั้นมาวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาให้ละเอียด

3.  ครูต้องเป็นนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง   ของนักเรียนและสังคมด้วยวิธีจิตวิทยาเพื่อความกระจ่างของปัญหา   ครูจะต้องเป็นคนกล้าที่จะแสดงว่า   ครูเข้าใจปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหา

4.  ครูจะต้องมีความสามารถนำคุณค่าของบทเรียนมาเป็นตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิดการแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม

๑. วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ข้าราชการ  พนักงานราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน  เกิดทักษะในการทำงานอย่างมีความสุข พัฒนาศักยภาพในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๒.เป้าหมาย
ข้าราชการ  พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดทักษะในการทำงานอย่างมีความสุขบุคลากรทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีใน  หน่วยงาน

 

คำสำคัญ (Tags): #ครุสังคม
หมายเลขบันทึก: 396639เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2010 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีน้องมานัส
  • สำหรับคุณธรรมของครู ดีมากครับ
  • อยากให้คุณครูทั้งประเทศได้อ่าน และปฏิบัติตามครับ

ขอบคุณมากนะค่ะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นให้

ถ้าครูทั้งประเทศทำได้อย่างนี้ทุกคน

ก็จะดีมากๆๆเลยค่ะ

หวังว่าครูไทยส่วนใหญ่จะมีจรรยาบรรณเช่นที่กล่าวมานะครับ การศึกษาไทยจะได้ก้าวโลด

สวัสดีค่ะ

จรรยาบรรณและคุณธรรมสำหรับครูเป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ ถ้าครูทั้งประเทศปฏิบัติตามก็คงจะดีการศึกษาของไทยก็จะก้าวหน้าและ

เด็กก็คงมีคุณภาพชีวิตที่ดี

" นู๋โอ๋ " - เด็กสังคมคร้า

ทักทายจ้า

สวัสดีค่ะ

ยินดีมากนะคะที่แวะเข้าไปทักทายกัน

คนที่จะเป็นครูที่ดีและน่าเคารพนับถือต้องมีจรรยาบรรณและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมีคุณธรรมดังที่กล่าวมา

หากครูเราประพฤติปฏิบัติได้ก็เชื่อว่าการศึกษาจะพัฒนาและก้าวไกลมากกว่านี้.....

สวัสดีครับ

   เเวะมาชมครับน้องมานัส   ดีมากเลยน้องเอย เพราะสมัยนี้ครูม่ายค่อยมีกัน เเต่บางคนก็ยังคงมั่นไว้ซึ้งจรรยาอย่างเคร่งคัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท