นโยบายการเงิน การคลังในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อสร้างเสถียรภาพแก่ระบบเศรษฐกิจ

        นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้มีการเลิกจ้างงาน  ผู้ประกอบการปิดกิจการ ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐมีความจำเป็นต้องเข้ามาดูแลความมั่นคงของทุนของผู้ประกอบการของสถาบันการเงินเพื่อหยุดยั้งประชาชนที่ทยอยถอนเงินฝากออกจากสถาบันการเงิน ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ขาดสภาพคล่องทางการเงินเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบกับหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการลงทุนภายในประเทศของผู้ลงทุน 

        ในช่วงแรกของการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจภาครัฐต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในเรื่องของตลาด ได้แก่ ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้  และตลาดการลงทุนของภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยรัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องสำคัญๆ 7 เรื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพแก่ระบบเศรษฐกิจคือ

        1.    อัตราเงินเฟ้อ

        2.    อัตราดอกเบี้ย

        3.    เงินไหลออก

        4.    ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ

        5.    เสถียรภาพของสถาบันการเงิน

        6.    ปัญหาทางสังคม

        7.    นโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ 

        นอกจากนี้รัฐได้ดำเนินนโยบายที่สำคัญเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้แก่

        1. การดำเนินนโยบายการคลังด้วยวิธีการขาดดุลการคลังในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อรองรับการหดตัวทางเศรษฐกิจ

        2. ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินคือ การทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินนิ่ง มีสภาพคล่องทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

        3. ฟื้นฟูสถาบันการเงินให้มีความความเข้มแข็งและมั่นคง

        4. กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือปัญหาทางสังคมคือ รัฐเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโดยใช้ระบบความปลอดภัยทางสังคม( social  safety net) เพื่อรองรับและให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีการอยู่ดีกินดีและช่วยเหลือตนเองได้ 

        สำหรับปัจจัยที่แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวที่สำคัญได้แก่

        1.    การจับจ่ายใช้สอยของภาครัฐ ควรมีมาก

        2.    การอุปโภค บริโภคของประชาชนและภาครัฐ ควรมีมาก

        3. การมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ดีเป็นการแสดงถึงความสามารถในการหาเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ

        4. มีการขยายการลงทุนของภาคเอกชนทำให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้ ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมและสร้างบรรยากาศการลงทุนเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ เพื่อประเทศไทยจะได้เข้าสู่จุดสมบูรณ์มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 

        ประชาชนไม่อยากให้ประเทศไทยเข้าสู่จุดวิกฤติเศรษฐกิจอีก ดังนั้นผู้เขียนมีความเห็นว่าภาครัฐต้องกำหนดนโยบายการเงิน การลงทุน และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างระบบการเงินของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีเสถียรภาพ เทียบเท่าและแข่งขันกับระบบการเงินของโลกได้ อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงพัฒนาแผนพัฒนาระบบการเงินและแผนพัฒนาตลาดทุน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต

ปล.ตอนนี้มีบ้านหลังที่สองโปรดติดตามอ่านงานได้ที่

http://learners.in.th/blog/vayupak/33238

หมายเลขบันทึก: 39642เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
 ไม่อยากให้ประเทศไทย ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ
นางสาวมณิสรา ชาญชัยรัตนโชติ

สวัสดีค่ะ คุณวันทนา หนูขอรบกวนสักเรื่องได้ไหมคะ คือว่าเนื่องจากเทอมนี้หนูได้ทำรายงานเกี่ยวกับนโยบายการเงินและการคลัง ย้อนหลัง 10 ปี หนูหาข้อมูลจนทั่วแล้วหาไม่ได้จิงๆ  ถ้ามีข้อมูล รบกวนช่วยส่งให้หนูทางเมลหน่อยได้มั้ยคะ  ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ผมเองก็ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่คับ

แล้วก็มีปัญหาเช่นเดียวกันคือหาเนื้อเรื่องค่อนข้างที่จะยากอยู่คับ

งัยผมก็พยายามหาต่อไป แต่ถ้าพอช่วยผมได้กรุณาชี้แนะหน่อยนะคับ

ขอบพระคุณอย่างสูง

lจมส์คุง๐

  • สวัสดีค่ะ น้องๆ
  • สำหรับน้องๆ ที่ทำรายงานเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลัง พี่ขอแนะนำให้ลองเข้ามาค้นข้อมูลในเว็บ
  • www.fpo.go.th หรือ www.mof.go.th
  • จะมีข้อมูลให้ค้นคว้าได้เบื้องต้น
  • แต่ถ้าต้องการเจาะลึก อาจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องนั้นๆ โดยตรง
  • พี่ขอแนะนำให้ลองโทร.หาเจ้าหน้าที่ โดยโทร.มาที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020
  • จะมีโอเปอเรเตอร์คอยให้ข้อมูลเช่นกันค่ะว่า ต้องติดต่อส่วนไหน
  • หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่สนใจนะค่ะ

คือหนูทำงานงานด่วนมากวันเดียวต้องเสร็จ แต่หาไม่เจอเกี่ยวกับการวิเคราะห์ โจทย์ว่า 1.ถ้าต้องการให้เศรษฐกิจหดตัว จะใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง อย่างไร 2.ถ้าต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัว จะใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง อย่างไร แบบสั้นนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง จากคนเดือดร้อนอย่างแรง

นโยบายการเงินการคลังในการแก้ใขปัญหาสภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ

  • ถึง น้องๆ ทุกท่านที่แวะมาขอข้อมูล
  • หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดำเนินการตามที่แจ้ง
  • โดยการค้นคว้าข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงการคลังก่อน
  • หากไม่ได้จริงๆ ก็สอบถาม operator ของ สศค. เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง น่าจะได้รับข้อมูลไม่มากก็น้อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท