Postmodern กับ Appreciative Inquiry


         วันนี้ (19 ก.ค.49) ใน Weekly Meeting ของ สคส.   คุณโหน่งตีความหนังสือ Appreciative Inquiry ตอนที่ 16   เรื่อง Postmodern

         ปัจจัยผลักดันคือเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้การไหลของข้อมูลข่าวสารมากมายท่วมท้น   เปลี่ยนลักษณะการตีความหรือทำความเข้าใจแบบใหม่ที่เรียกว่า large - scale public information

         คนยุคหลังทันสมัยต้องรู้จักตีความข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นและยุ่งเหยิง

         ภายในองค์กรต้องมีกระบวนการให้สมาชิกขององค์กรร่วมกันตีความและ ลปรร. การตีความข้อมูลข่าวสารที่มากมายท่วมท้นและสับสน  ให้กลายเป็นความรู้หรือปัญญาสำหรับการพัฒนาองค์กรและพัฒนาสมาชิกทุกคนร่วมกัน

แนวคิด
1. เน้นการปฏิบัติเพื่อตั้งคำถามและสืบค้น
2. องค์กรคือดินแดนลี้ลับที่รอคอยการค้นพบ   ผู้นำเปลี่ยนบทบาทจากผู้มีอำนาจ  เป็นผู้รับผิดชอบการสร้างวิสัยทัศน์และปฏิบัติการในองค์กร
3. อาจอยู่ในรูปขององค์กรเครือข่าย   มีการสนทนาสาธารณะมากขึ้น
4. อดีตมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  เป็นหน่ออ่อนของอนาคต
5. ชีวิตการทำงานประจำวันคือประดิษฐกรรมทางสังคม
6. ให้ความสำคัญต่อคนเล็กคนน้อยและคนชายขอบ
7. เน้นการร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์
8. เน้นเรื่องอารมณ์  ความรู้สึก  ความเป็นมนุษย์

ประสบการณ์ 20 ปี   พบปัจจัยสำคัญ 3 ประการในการประยุกต์ใช้ AI
(1) Open space : การสนทนาโดยสมัครใจ  อิสระ  เท่าเทียมกัน  เป็นเสมือนพิภพเล็ก ๆ ในองค์กร
(2) RTSC (Real Time Strategic Change)
     - Real Issue ที่ช่วยให้ทุกคนได้ทำสุนทรียสนทนาร่วมกัน 
     - Real People : Right number & Type of people (8 - 12 คนจากหลายหน่วย  หลายกลุ่มธุรกิจ)
     - Real Result : เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสัมพันธ์ของหลายเรื่องเล่า  ไปสู่การประยุกต์ใช้สร้างการเปลี่ยนแปลง

      ผมมองว่าเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มย่อยจำนวนมาก
(3) Future Search เพื่อทำให้เกิด shared future vision และ shared intention  เกิดความรับผิดชอบส่วนตนตามเป้าหมายมโนทัศน์

         เขาเขียนถึงการประชุมใหญ่ขององค์กร   โดยใช้เทคนิค AI ด้วย AI คือเครื่องมือใช้ "เสียงที่หลากหลาย เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านโลก"

วิจารณ์  พานิช
 19 ก.ค.49

คำสำคัญ (Tags): #ai#appreciative-inquiry#postmodern
หมายเลขบันทึก: 39625เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท