การอบรมการสอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษา ตามแบบฉบับ ผศ.ประเทือง คล้ายสุบรรณ์


แล้วก็ไม่ผิดหวัง ไม่ผิดหวังตั้งแต่ เอกสารและการให้ อาจารย์ให้ความรู้ด้วยใจที่จะให้ เหมือนครูที่ให้ลูกศิษย์ เหมือนครูที่รู้ว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหาอะไร เขาต้องการอะไร อาจารย์ให้เขาตรงกับที่เขาต้องการ
                วันนี้ครูภาทิพ โชคดีได้มีโอกาส เข้ารับการอบรมการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา  โดยมี ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์ เป็นวิทยากร  ครูภาทิพเพิ่งมีโอกาสเข้ารับการอบรมเป็นครั้งแรก   เป็นการอบรมที่มีความสุขมาก ๆ ได้หัวเราะยิ้มแย้ม ได้ความรู้ที่ตรงกับปัญหาและความต้องการ    ของครู  ได้เอกสารที่สามารถนำไปใช้สอนได้และให้นักเรียนทำกิจกรรมได้  ในบางครั้งที่ครู    จำเป็นต้องทิ้งห้องเรียนกะทันหันก็สามารถหาเอกสารไปให้นักเรียนทำกิจกรรมได้ทัน  ที่สำคัญ    ได้ CD การอ่านทำนองเสนาะที่ปัจจุบันค่อนข้างหายากอีกด้วย

 

             การอบรมครั้งนี้มีเพื่อนครูภาษาไทยมาจากจังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัด  เมื่อได้  
สอบถามได้ความว่าติดตามอบรมในรายการของ ผศ.ประเทือง  มาแล้วหลายที่  เช่นที่  อยุธยา    ตรัง  และสุราษฎร์ธานีในปีก่อน ๆ เป็นแฟนคลับตัวจริงเลยทีเดียว

 

                 

                แล้วก็ไม่ผิดหวัง   ไม่ผิดหวังตั้งแต่  เอกสารและการให้   อาจารย์  ให้

ความรู้ด้วยใจที่จะให้   เหมือนครูที่ให้ลูกศิษย์  เหมือนครูที่รู้ว่าเด็กเหล่านี้  มีปัญหาอะไร เขาต้องการอะไร  อาจารย์ให้เขาตรงกับที่เขาต้องการ

 

                การลงทะเบียน ๖๐๐ บาท   ประกอบด้วย  สถานที่ประชุมคือโรงแรมสยามธานี  เอกสาร จำนวน  ๕๖ ชุด (ประกอบด้วย ใบความรู้ นิยาม  ความหมาย แบบฝึกหัด   แบบ
ทดสอบ ม.๑ – ม.๖  ประมาณ ๓๐๐ หน้า)   CD  การอ่านทำนองเสนาะ   อาหารว่าง ๒ มื้อ 
   และอาหารกลางวัน ๑ มื้อ  ดูค่าลงทะเบียนกับสิ่งที่ได้รับแล้วก็มองว่าการเป็นวิทยากรของ
อาจารย์เป็นการให้มากกว่าที่จะเป็นธุรกิจ  และยิ่งเห็นวิธีการถ่ายทอดของอาจารย์แล้ว    
ก็ยิ่งเข้าใจว่าทำไมครูจากที่ต่างๆ จึงตามมารับการอบรมกันมากมาย (วันเสาร์ที่ ๑๘ ก.ย.    
ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษามาอบรม ๕๐๐ กว่าคน)

 

 

                ลีลาการบรรยายของ ผศ.ประเทือง  เป็นลีลาของ ครูของครู  จริง ๆ อาจารย์จะให้ครูนำเอกสารออกมาทีละชุด ซึ่งอาจารย์แยกแยะไว้อย่างเป็นระบบ   เริ่มจากชุดที่ ๑ การสอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา  อาจารย์ก็จะชี้ประเด็นสำคัญๆ ที่ครูควรทราบ  ให้เหตุผลว่าทำไมต้องอย่างนั้นอย่างนี้  พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน  จากนั้นอาจารย์ก็ให้ครูหยิบชุดที่ ๒๓ ออกมา แล้วก็แนะนำเฉพาะประเด็นสำคัญเล็กน้อย พร้อมแทรกเกร็ดตลกตลอดเวลา จนถึงชุดที่ ๔ ธรรมชาติของภาษา อาจารย์ก็จะชี้ให้เห็นจุดสังเกต  จุดสำคัญ ารแยกแยะให้ความหมาย  ให้ตัวอย่าง    แล้วก็แนะนำให้นำไปใช้ ไปสอน ไปบอก ไปชี้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเคล็ดลับ ที่บางคนสอนมาทั้งชีวิตก็ไม่พบ  และมีไม่กี่คนที่จะถ่ายทอดเคล็ดลับ ข้อสังเกตเหล่านี้ให้เพื่อน ๆ หรือน้องๆ ทราบ  ขณะที่ถ่ายทอดวิธีการ อาจารย์ก็ให้เราร่วมอ่านร่วมตอบ  อาจารย์จะมีลูกเล่นแกล้งพวกเราให้ตอบผิด ๆ ถูก ๆ หัวเราะน้ำตาเล็ดกัน 

 

                อาจารย์เป็นวิทยากรที่รักษาเวลามาก  ไม่เร่งรีบแต่ไม่หย่อน   อาจารย์จะบอกพักเองเมื่อถึงเวลา   และเมื่อครบกำหนดก็จะขึ้นมาบรรยายทันที  แม้ว่าขณะนั้นผู้เข้าอบรมหลายคนยังไม่เข้าห้อง    พอได้ยินเสียงอาจารย์บรรยาย  ผู้เข้าอบรมก็จะรีบเข้าห้องทันที  ไม่ต้องมีใครประกาศเรียก  เพราะถ้าใครเข้ามาช้าก็จะเสียโอกาสในการฟังเรื่องหนึ่ง ๆ ทันที  ตลอดระยะเวลาในการบรรยายเช้าถึงเย็น จากชุดที่ ๑ -๕๖ มีแต่เสียงบรรยายและซักถามของอาจารย์  เสียงตอบและเสียงหัวเราะของครูเป็นระยะ ๆ ไม่มีใครง่วง หาวหรือคุยให้เห็น   ตาของครูทุกคนเป็นประกายอิ่มเอิบมีความสุข  สุขกระทั่งหมดเวลาไม่มีใครลุกออกจากที่เพื่อขอตัวกลับก่อน

 

 

                ขอกราบขอบพระคุณ ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์ และชมรมส่งเสริมภาษาไทย  
  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ทำให้ครูภาทิพได้รับทั้งความรู้และความสุข  มา ณ โอกาสนี้

 

 

ปล. สำหรับผู้สนใจหรือมีปัญหาภาษาไทย โทรศัพท์ติดต่อ ได้ที่

ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์  ๐๘๖๘๐๓๐๔๔๔

 

หมายเลขบันทึก: 395863เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท