ความรู้กับมนุษย์


ความรู้กับมนุษย์

ความรู้เป็นสิ่งที่พัฒนามนุษย์ให้แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ในโลก มนุษย์นั้นมีการพัฒนาได้ก็เพราะความสามารถในการถ่ายทอดสารต่างๆ ผ่านภาษา และมีการจดบันทึกในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยรักษาองค์ความรู้ต่างๆ เอาไว้ คนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

ภาษา  เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญของมนุษย์ มนุษย์สามารถคิดค้นภาษาขึ้นมาเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการ ในขณะที่สัตว์อื่นๆ บนโลกก็มีการส่งภาษาต่างๆ ในรูปของสัญญาณต่างๆ แต่ก็มีข้อจำกัดเพียงเพื่อการใช้งานไม่กี่อย่าง เช่น การส่งสัญญาณเตือนภัย การส่งเสียงร้องเพื่อเรียกหาคู่ในขณะที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์คิดค้นคำต่างๆ เพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบพบมา รวมถึงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ จับต้องไม่ได้ รวมถึงความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ การใช้ภาพวาด หรือแม้แต่กระทั่งดนตรีเพื่อการสื่อสาร ที่หลายๆ คนเรียกว่าเป็นภาษาสากล ซึ่งไม่มีข้อจำกัดพรมแดนของประเทศหรือวัฒนธรรมของชนชาติ สิ่งเหล่านี้มีความซับซ้อนสูงกว่าสติปัญญาของสัตว์อื่นๆ บนโลกจะทำได้

ตัวอักษร  เป็นเครื่องมือในการบันทึกองค์ความรู้ไม่ใช้ถูกลบเลือนหรือทำลายไปด้วยสติปัญญาที่มีข้อจำกัดของมนุษย์เอง เพราะสมองของมนุษย์มีข้อจำกัด ข้อมูลหรือความรู้บางอย่างจะถูกลบเลือนไปตามกาลเวลา ถ้าหากว่าเราไม่สามารถจนบันทึกเอาไว้ได้ เรื่องบางเรื่องต้องอาศัยการเรียนรู้เกือบชั่วชีวิตของคนร่นหนึ่งแต่คนรุ่นถัดไปอาจเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นเพียง 5 นาที หากว่าคนรุ่นก่อนจดบันทึกสิ่งเหล่านั้นเอาไว้เพื่อเป็นสมบัติทางปัญญาให้กับคนร่นหลัง กระบวนการพัฒนาความรู้ของมนุษย์จงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วภายหลังมีการคิดค้นภาษาและตัวอักษร เพราะเราสามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางผ่านอาณาเขตพื้นที่และกาลเวลาได้อย่างไม่มีขีดจำกัดตราบใดที่ภาษาและการสื่อสารไม่ได้เป็นอุปสรรค ด้วยเหตุนี้ภาษาและหนังสือจึงถูกยกย่องให้เป็นประดิษฐกรรมแห่งศตวรรษเลยทีเดียว

ความรู้กับคุณภาพชีวิตของมนุษย์  ในอดีตมนุษย์ต้องเผชิญความยากลำบากในการต่อสู้กับความอยู่รอด เช่น การจุดไฟ การผลิตน้ำ การหาอาหาร เมื่อประกอบกิจกรรมเหล่านี้มนุษย์ก็ใช้เวลาเกือบทั้งวันโดยไม่ต้องคิดถึงเรื่องอื่นแล้ว แต่ในปัจจุบันเราใช้เวลาเพียงเสี้ยวนาทีเพื่อเปิดน้ำและเปิดไฟ เราใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเพื่อรับประทาน fast food เราใช้เวลากับความจำเป็นพื้นฐานของเรามากยิ่งขึ้น ความรู้ทำให้เราพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพราะเราสามารถแก้ปัญหาในสิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานได้สำเร็จ

แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ประเทศของโลกก็ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่สำเร็จ ซึ่งนอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจแล้ว มันสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มคนในประเทศเหล่านั้นยังต้องฝ่าฟันปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยของการดำรงอยู่เพราะขาดความรู้ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนในมุมอื่นของดลกสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จมาแล้ว ความไม่รู้หนังสือทำให้ขาดความสามารถในการพัฒนาและการรับ-ถ่ายทอดความรู้ไปด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

ref : ยุทธนา แซ่เตียว. (2548). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : สร้างองค์กรอัจฉริยะ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อินโนกราฟิก.

หมายเลขบันทึก: 39576เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้ความรู้ดีครับ
  • รออ่านเรื่องจากมหาสารคามอีกครับ
  • ขอบคุณครับผม

ดีมากค่ะ ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท