นปส.55 (52): บทเรียนล้ำค่า


Warren Wilhelm “ผู้นำต้องฉลาด ปฏิภาณไหวพริบดี มีหลักคิด คุณค่าที่ชัดและหนักแน่น มีไฟแรง ใฝ่รู้ สามารถเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นไม่เห็น จำแม่น และทำให้ผู้ร่วมงานมีความรู้สึกที่ดีเชื่อมั่นในตัวเอง โดยพฤติกรรมของผู้นำที่เอื้อต่อการนำ ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา คาดคะเนได้ ชักชวนเก่ง นำโดยการเป็นตัวอย่าง และสื่อสารเก่ง”

(52): บทเรียนล้ำค่า

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 16ของการฝึกอบรมแล้วผมกับพี่เวงขับรถเดินทางกลับวิทยาลัยมหาดไทยด้วยกันในตอนเช้าวันจันทร์หลังจากกลับจากการศึกษาดูงานเวียดนามมาด้วยกันส่วนเอ้กับพี่จิตรก็กลับตากด้วยกัน ผมกับพี่ทิสนิทสนมกันมากขึ้นอย่างไม่รู้ตัวผมรู้สึกว่าพี่ทิเป็นพี่ชายที่น่ารักมาก คล้ายๆกับพี่ตู่ (นพ. เกษมตั้งเกษมสำราญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก)ที่เคยไปเรียนเบลเยียมด้วยกัน เคยเล่าในบันทึก “หมอบ้านนอกไปนอก” ตอนhttp://gotoknow.org/blog/practicallykm/149131แล้ว กาลเวลาทำให้พวกเราสนิทสนมกันมากขึ้นแม้จะไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกัน เช่นพี่วัฒน์ พี่หมู พี่ยอด พี่ฮิมพี่ภาส

พี่วัฒน์หรือนิวัฒน์ ภาตะนันท์ท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี เป็นคนเงียบๆเรียบๆสบายๆ พูดน้อยเปี่ยมด้วยรอยยิ้ม มีมิตรไมตรีดี เป็นพี่เขยของหมอขจร เพื่อนผม

พี่หมูหรือนิวัฒน์ รุ่งสาคร นายอำเภอบ้านแพ้วจังหวัดสมุทรสาคร หนุ่มหล่อ สมาร์ท ไม่ถือตัว ยิ้มเก่งเป็นมิตรกับทุกคน ให้ความร่วมมือกับหมู่คณะดี มีอัธยาศัยใจคอดีไม่ถือตัว

พี่ยอดหรือศักระ กปิลกาญจน์ นายอำเภอควนเนียงจังหวัดสงขลา เป็นคนอารมณ์ดี พูดน้อย ยิ้มง่าย เป็นมิตรอัธยาศัยใจคอดีพี่ยอดมักจะคุยเรื่องสุขภาพกับผมบ่อยๆในช่วงนั่งทานอาหารด้วยกันพี่ยอดร้องเพลงเก่งมาก

พี่ฮิมหรือสุรพล ลีลาเลิศแล้ว นายอำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นคนคุยสนุก ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส ชอบแซวไม่ถือตัว เป็นคนเรียบง่ายสบายๆ ไม่เรื่องมาก

พี่ภาสหรือประภาส คงแตง นายอำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ใหญ่ใจดี ใจเย็น สบายๆ พูดน้อยแต่ก็มีความเป็นกันเอง

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2553เป็นการสรุปหมวดวิชาที่ 3, 4 และ 5 โดยอาจารย์ชาติชาย ณ เชียงใหม่ผู้อำนวยการหลักสูตร ซึ่งทำให้พวกเราเข้าใจภาพรวมของหมวดวิชามากขึ้นอาจารย์ทำเอกสารมาแจกพวกเรา 4 หัวข้อ เป็นข้อเขียนที่ดีมากผมจึงไม่สรุปเองแต่ขอยกข้อเขียนของอาจารย์มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาไปด้วยผมทำหน้าที่ Knowledge transferring (ไม่ใช่Knowledge sharing) ดังนี้

หัวข้อที่ 1สรุปผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการเมืองการปกครองเป็นการพิจารณาผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อท้องถิ่นในบริบทของสถานการณ์ของประเทศและโลกการเมืองประชาธิปไตยทุนนิยมอุปถัมภ์ และรัฐไทยสมัยใหม่สถานการณ์ของประเทศและโลกในภาวะปัจจุบันที่มีความไม่พอเพียงไม่สมานฉันท์ และไม่มั่นพัฒนา จะทำอย่างไรให้ “พอเพียงสมานฉันท์ มั่นพัฒนา

คลื่นพลังกดดันโลกที่เป็นผลจากกระแสโลกาภิวัตน์คลื่นที่หนึ่งทุนนิยมเสรีไร้พรมแดนนำไปสู่การจัดระเบียบโลกเศรษฐกิจใหม่และการควบรวมทุนโลกกับทุนชาติบีบคั้นทุนดั้งเดิมเพิ่มความไม่พอเพียงให้กับคนรากหญ้าคลื่นที่สองประชาธิปไตยใหม่และกระแสประชาชนนิยมและการสื่อสารเสรีนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มอัตตลักษณ์กลุ่มแนวคิดใช้ความรุนแรงตอบโต้พลังทุนโลกและคลื่นที่สามกระแสคิดและผลประโยชน์เสรีนิยมใหม่และอนุรักษ์นิยมใหม่ปะทะขับเคี่ยวกับพลังชาตินิยมโลกที่สามและกระแสความเป็นธรรมโลกในการแข่งขันรีบเร่งจับจอง กักตุนและเร่งใช้ทรัพยากรต่างๆของโลกนำไปสู่วิกฤตของทรัพยากรทั้งโลก

ผลกระทบของโลกาภิวัตน์เกิดการรุกคืบเข้ามาครอบงำเป็นใหญ่ของทุนต่างชาติ ค่าจ้างแรงงานชั้นล่างไม่พอรายจ่าย คนชีวิตไม่พอเพียงเพิ่มจำนวนช่องว่างรายได้และความไม่เสมอภาค ไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้นต่างกันในความสามารถเข้าถึงและได้ประโยชน์จากระบบทุนนิยมใหม่และรัฐละเลยการดูแลคุ้มครองคนด้อยโอกาส คนชายขอบ

อาจารย์ชาติชาย เสนอประเด็นทางสังคมใน 10ปีข้างหน้าจะมีการขยายที่ไร้ทิศทางของเมืองกับภาวะวิกฤตของชุมชนชนบททวิลักษณ์ของสังคมไทย (วิถีชีวิตโลกาภิวัตน์กับชุมชนาภิวัตน์)ปัญหาความยากจน/ยาเสพติดและโรคเอดส์ พหุนิยมทางภาษาและวัฒนธรรมปัญหาความรู้ สารสนเทศ และกระบวนการเรียนรู้ (ช้า) ในสังคมความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเด็นทางเศรษฐกิจใน 10ปีข้างหน้า จะมีการดำรงและเสริมสร้างฐานชีวิต ฐานทรัพยากรการผลิตการบริโภค ภูมิปัญญา สุขภาพ วัฒนธรรมและจิตวิญญาณการจัดการอธิปไตยทางเศรษฐกิจเพื่อปกป้องการค้าและประโยชน์ของชาติ

ประเด็นทางการเมืองใน 10ปีข้างหน้าจะมีการเผชิญหน้าของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนกับประชาธิปไตยโดยตรง(ระดับชาติกับระดับท้องถิ่น)การเมืองกระแสสากลกับการเมืองอนุรักษ์โครงสร้างเดิมกับการเมืองของคนด้อยโอกาสการเมืองของนักการเมืองกับการเมืองของพลเมือง ความเป็นรัฐความเป็นราชการที่น้อยลงกับความเป็นประชารัฐและประชาสังคมมากขึ้น

ปัญหาสาธารณะมีโครงสร้างปัจจัยสาเหตุที่ซับซ้อนโยงกันเป็นข่ายยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ด้วยสติปัญญาของคนใดคนหนึ่งปัญหาระดับโลกจะแก้ไขได้ต้องทำในระดับท้องถิ่นข้อจำกัดความสามารถของรัฐ “ใหญ่เกินไปสำหรับปัญหาของท้องถิ่น(ที่เล็ก) และเล็กเกินไปสำหรับปัญหาระดับโลก (ที่ใหญ่)”ทางออกของปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่ที่ในตัวปัญหาผู้แก้ปัญหาคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรงการแก้ปัญหาสาธารณะต้องการพลังความรู้และความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากกว่าการใช้อำนาจรัฐและอำนาจเงิน

การเร่งสร้างรัฐและเศรษฐกิจไทยสมัยใหม่โดยดูดซับทรัพยากรท้องถิ่นไปใช้ที่ส่วนกลางท่ามกลางโครงสร้างวัฒนธรรมอุปถัมภ์และความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความยากจนที่ต่อเนื่องของคนท้องถิ่นรากหญ้าเป็นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างสำคัญที่ทำให้สำนึกและจิตวิญญาณท้องถิ่นเสื่อมคลายสลายการปลุกฟื้น “สำนึกท้องถิ่น”ต้องคืนสิทธิและอำนาจแก่ท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรและเศรษฐกิจวัฒนธรรม สังคมและการเมือง การปกครองตนเอง

หัวข้อที่ 2ยุทธศาสตร์การบริหารภาครัฐแนวใหม่ อาจารย์ชาติชายพูดถึงการเมืองการบริหารทวิภพที่นักธุรกิจขนาดใหญ่และชนชั้นกลางหวังพึ่งภาครัฐได้ยากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันส่วนคนชายขอบคนด้อยโอกาสกลับมีจิตคิดพึ่งพารัฐมากขึ้นต้องการให้ช่วยเหลืออุ้มชูเรียกร้องนโยบายโครงการประชานิยมภาครัฐของไทยต้องเผชิญกลับโลกที่ประชาชนเข้มแข็งมากขึ้น(Stronger world) พหุนิยมลักษณะของสังคม(Pluralistic society) และความอ่อนแอทางการคลัง (Fiscalcrisis)ระบบบริหารภาครัฐไทยกำลังอยู่ท่ามกลางบริบทสภาพแวดล้อมที่มีประเด็นท้าทาย3 ประการ คือ สมรรถนะ (Capabilities)ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (Trustworthiness) และความชอบธรรม(Legitimacy)

การปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในหลายเรื่องประชาชนมีความพึงพอใจมากขึ้น ข้าราชการปฏิบัติงานเชิงรุกมากขึ้นแต่ระบบริหารงานภาครัฐมีสมรรถนะความสามารถความรู้น้อยลงเรื่อยๆในการรับรู้และรับมือกับปัญหาเงื่อนไขเศรษฐกิจสังคมที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งเก่าและใหม่ที่มีขนาดใหญ่และเปลี่ยนแปลงเร็วอัตราเร็วในการเรียนรู้และการสั่งสมความรู้ภายในหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไปในขณะนี้มีอัตราเร็วที่ช้ากว่าการเรียนรู้ของธุรกิจเอกชนและภาคประชาชนปฏิบัติงานโดยยึดถือให้ความสำคัญแก่การบริหารหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้(Function-based management) มากกว่าการปฏิบัติงานตามประเด็นนโยบาย(Agenda-based management)

ปัญหานโยบายมีปัจจัยสาเหตุที่หลากหลายซับซ้อนการจัดการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเช่นนี้ ต้องการความคิดเห็นมุมมองและความรู้แบบสหวิทยาการ ต้องการวิธีการเข้าถึง เข้าใจและแก้ปัญหาด้วยการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ต้องมีการบริหารความรู้เพิ่มพูนทุนความรู้ เพื่อสร้างปัญญาและจิตวิญญาณที่รู้ทันปัญหาเพื่อเรียนรู้ปรับตัวและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับภาคเอกชนและประชาชน(Co-evolution) และได้รับการยอมรับนับถือไว้วางใจจากประชาชน

การบริหารงานภาครัฐ เป็นการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะเปรียบเสมือนกับ“ศูนย์กลาง (Hub) การต่อสู้ต่อรองและตอบสนองโครงข่ายของเครือข่ายแห่งผลประโยชน์และค่านิยมอันหลากหลายและขัดแย้งแย่งชิงกันองค์กรภาครัฐที่มีประสิทธิผลในสังคมพหุนิยมทุนนิยมอุปถัมภ์คือองค์กรที่ชาญฉลาดและริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีพลวัตรสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ดีและสามารถเชื่อมโยงนโยบายด้านต่างๆเข้าด้วยกันให้เกิดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ที่แตกต่างนำไปสู่การปฏิบัติที่รวดเร็วและได้ผล (Pragmatism)

ระบบการบริหารภาครัฐแนวใหม่จึงต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนแก่4 ประเด็นสำคัญคือ

1. การปรับเปลี่ยนในระดับระบบ (Systemic level)มากกว่าระดับเทคนิคการบริหาร (Technical level)

2. ปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนและประชาชน (Statefunction)

3. ตำแหน่งแห่งที่ (Positioning)ภาครัฐในแต่ละประเด็นปัญหานโยบาย

4.เพิ่มความสามารถของการบริหารภาครัฐในการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรในเรื่องประเด็นเป็นปัญหาเชิงนโยบาย

สมรรถนะความสามารถแกนหลัก (Corecapability) 3 ประการของระบบบริหารภาครัฐแนวใหม่คือเข้าใจเงื่อนไขความต้องการของภาคส่วนต่างๆที่สลับซับซ้อนเพื่อกำหนดและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การทำงานที่ได้ผลเสาะแสวงหา แบ่งปัน และรักษาทุนความรู้ทุนสังคมและทุนการจัดการโดยเฉพาะส่วนที่เป็นจิตวิญญาณและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและบริหารจัดการการสื่อสารแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ของโครงข่ายและเครือข่ายผลประโยชน์และพลังต่างๆในสังคมเพื่อประโยชน์สูงสุดร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคส่วนอื่นที่อยู่ในระบบนิเวสน์เดียวกัน

อาจารย์ชาติชายเสนอยุทธศาสตร์การบริหารงานภาครัฐที่ชาญฉลาดและสร้างสรรค์ที่ต้องธำรงสมรรถนะหน่วยงานที่มีอยู่แล้วเสริมสร้างสมรรถนะใหม่โดยเร็วเพื่อรับมือกับงานที่ยากและซับซ้อนมากขึ้นต้องใช้วิธีการเรียนรู้แบบก้าวกระโดดและสามารถใช้การเรียนรู้จากผลการปฏิบัติงานและประสบการณ์ที่ได้รับเป็นฐานสำหรับก้าวไปบรรลุผลงานและบริการใหม่ที่ดีกว่าเดิมแนวคิดนี้ 4 องค์ประกอบ คือ

  1. หลักการบริหาร (Management principle) ต้องเข้าใจ เข้าถึง (Sense)และทำได้ทำเป็น (Simplicity)
  2. การกำหนดบทบาทภารกิจและการวางตำแหน่ง (Role and Positioning)จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มภารกิจหน้าที่พื้นฐานกลุ่มหน้าที่เชิงยุทธศาสตร์ และกลุ่มหน้าที่การบริการสาธารณะ
  3. กลยุทธ์การบริหาร ใช้กลยุทธ์เชื่อมโยงและเรียนรู้ (Link andLearn)
  4. สมรรถนะของบุคคลากร ต้องการคนดี เก่ง มุ่งมั่นและทุ่มเทพัฒนาให้บุคลากรมีความเชื่อมั่นในตนเองให้โอกาสและทรัพยากรที่เหมาะสม

หัวข้อที่ 3ภาวะผู้นำตามกระบวนทัศน์ใหม่ อาจารย์ชาติชาย พูดถึงผู้นำในอนาคต ที่ต้องตระหนักดีว่าบุคลากรคือสินทรัพย์ที่สำคัญสูงสุดสร้างสภาวการณ์นำในสถานการณ์ที่หลากหลายระดมกำลังผู้คนมาช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคในยามลำบากมุ่งรับรู้และเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าและถือว่าความเป็นชุมชนนำไปสู่ความสำเร็จของหน่วยงาน

อาจารย์ชาติชาย นำแนวคิดของปีเตอร์ ดรั๊กเกอร์ มานำเสนอว่าภาวะผู้นำสามารถและต้องเรียนรู้พัฒนา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าบุคลิกภาพภาวะผู้นำ ผู้นำที่ดีมีบางอย่างคล้ายกัน เช่นความรับผิดชอบการเป็นตัวอย่างที่ดี ทำงานได้ผล มีคนนิยมยกย่อง พูดจริงทำจริงไม่ดีแต่พูด พฤติกรรมผู้นำ “เราควรทำอะไร” ไม่ใช่“ฉันต้องการอะไร” ทนต่อความแตกต่างของคนไม่อิจฉาผู้อื่น

บทเรียน 7 ประการของการเป็นผู้นำ (James Kouzes and Barry Posner,Seven Lessons for Leading) ประกอบด้วย ไม่นิ่งนอนใจชิงลงมือทำก่อนเป็นคนที่เชื่อถือวางใจได้ ตาดูดาวเท้าติดดินสร้างชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ร่วม ไม่เป็นพระเอกคนเดียว ทำในสิ่งที่พูด(คำพูดเป็นนาย กายเป็นบ่าว) และภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี

อาจารย์ให้แนวคิดไว้อีกว่า ผู้นำจะใช้อำนาจหน้าที่ได้จริงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีสมรรถนะสูง“ปัจจัยที่ทำให้ได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ่อมตัวและฟังมากกว่าพูด หลงใหลทุ่มเทให้กับงานและชอบพบปะทำงานกับผู้คน ขณะที่อยู่ตามลำพังได้

องค์กรที่มีทั้งการนำและการตามที่เข้มแข็งแม้ผู้นำยังต้องกำหนดทิศทางและตัดสินใจในเรื่องยากและสำคัญองค์กรจะมีผลงานดีขึ้นอยู่กับความสามารถและรู้จริงของผู้อื่นผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะนำและจะตามต้องยอมรับการนำของบุคคลที่รู้ดีที่สุดต้องยอมรับการนำทีมหากจุดมุ่งหมายของทีมนำไปสู่ผลสำเร็จต้องยอมรับการนำของคนอื่นในองค์กรหากความสำเร็จขององค์กรต้องมีการกระจายตัวของศูนย์การนำ

อาจารย์ยกคุณลักษณะของผู้นำที่ดี จากLearn from Past Leaders ของWarren Wilhelm ที่ “ผู้นำต้องฉลาด ปฏิภาณไหวพริบดี มีหลักคิดคุณค่าที่ชัดและหนักแน่น มีไฟแรง ใฝ่รู้สามารถเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นไม่เห็น จำแม่นและทำให้ผู้ร่วมงานมีความรู้สึกที่ดีเชื่อมั่นในตัวเองโดยพฤติกรรมของผู้นำที่เอื้อต่อการนำ ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราคาดคะเนได้ ชักชวนเก่ง นำโดยการเป็นตัวอย่างและสื่อสารเก่ง

หัวข้อที่ 4สรุปการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย:การบริหารงานพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและการบริการประชาชนอาจารย์ชาติชายเน้นเรื่องหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหลักและเครื่องมือการบริหารจัดสรรทรัพยากรสาธารณะเพื่อทำให้เกิดการประสานเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายอย่างมีดุลยภาพชอบธรรมและเพิ่มการยอมรับเชื่อถือในภาวะการนำของกระทรวงมหาดไทยภายใต้บริบทของรัฐพหุนิยมที่มีส่วนร่วมและการบริหารงานที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง

การเร่งสร้างธรรมาภิบาลดังกล่าวต้องยึดหลักการและความเชื่อที่ว่า“สืบสานวัฒนธรรมไทยพร้อมไปกับการปรับตัวสู่สากล”โดยกำหนดปัจจัย 3 ประการคือ วัฒนธรรม (สุจริตคุณธรรม ความมีเหตุผล ปฏิบัติได้ประสานประโยชน์ของหลากเครือข่ายหลายระดับลดความเหลื่อมล้ำ)สมรรถนะ (คนดี คนเก่ง กระบวนงานที่ฉับไวคิดไกลไปข้างหน้า คิดทบทวน คิดก้าวข้าม: Think Ahead-Again-Across)และนโยบายที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริการประชาชนต้องออกแบบระบบและกระบวนงานบริการประชาชนที่ยึดหลักธรรมาภิบาลโดยใช้แนวคิด Value chain มาพัฒนา “ห่วงโซ่การบริการประชาชน”ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือและเกณฑ์ที่จะใช้กำกับกระบวนการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล

ผมคิดว่าแนวคิดต่างๆทั้ง 4 หัวข้อของอาจารย์ชาติชายมีความแหลมคมและทันสมัยมาก แต่เป็นนามธรรมสูงเข้าใจได้ยากผู้นำไปปฏิบัติต้องตีให้แตกแล้วคิดวิธีปฏิบัติขึ้นมาให้ได้แต่ที่แน่ๆทุกคนในรุ่นรู้ว่า ต้องให้ความสนใจกับเอกสาร 4 ชุดนี้เพราะน่าจะใช้ในการออกข้อสอบปลายภาคผมพยายามอ่านอยู่หลายรอบเพื่อสร้างความเข้าใจในภาษาที่อาจารย์ใช้เขียนและผมได้ใช้แนวคิดอาจารย์ชาติชายออกแบบกระบวนการหลักและสนับสนุนของระบบราชการตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าได้และกำกับด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นโมเดลของผมออกมาตามที่เคยเขียนตอบไปตอนสอบกลางภาคแล้ว

คืนนี้ ผมนอนดึกอีกแล้ว เกือบตีสองเพราะต้องทำสไลด์นำเสนอ 2เรื่องคือ Action learning สกลนคร กับIS เรื่องยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพในบริบทพื้นที่ชายแดนจังหวัดตากปี 2553ซึ่งผมต้องนำเสนอเป็นคนแรกทั้งสองเรื่องเช้าและบ่าย

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2553ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอ Action Learning เป็นกลุ่มจังหวัดไม่แยกย่อยเป็นรายหมู่บ้าน ผู้นำเสนอของกลุ่มระยองมีพี่นัด พี่ไก่พี่ตุ้ย กลุ่มนครศรีธรรมราชมีพี่สงกับพี่จู๊ดกลุ่มน่านมีพี่ลือชัยและกลุ่มสกลนครผมนำเสนอคนเดียวและไม่มีเวลาที่จะมาสรุปเนื้อหาร่วมกันก่อนยังดีที่ผมพอจำได้จากการนำเสนอของทั้ง 5 กลุ่มต่อรองผู้ว่าสกลนครจึงสามารถสรุปประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ที่สกลนครออกมาได้และลงลึกในการเรียนรู้ของกลุ่มผมเองที่บ้านนาจานแต่ละกลุ่มมีเวลานำเสนอ 30 นาทีและมีอาจารย์คอยวิพากษ์ 5 ท่านหลายกลุ่มเกินเวลาไปเพราะนำเสนอหลายคน

ผมเริ่มนำเสนอด้วยประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ 5 กลุ่ม คือหมู่ 8บ้านบัว ต.กุดบาก หมู่ 6 บ้านกุดไห ต.กุดไห หมู่ 19 ตำบลนาม่อม อ.กุดบาก หมู่ 7 บ้านจอมแจ้ง ต.นาแก้ว และหมู่ 6 บ้านนาจาน ต. บ้านโพนอ. โพนนาแก้ว สองกลุ่มแรกมีเรื่องแนวคิดเครือข่ายอินแปลงคือ“แนวคิด 7 รอด” ประกอบด้วย“รอดสารพิษ รอดหนี้ รอดป่วยไข้ รอดถูกเอาเปรียบ รอดไม่พอเพียงรอดกระแสพัดไป และรอดเหงา” ที่บ้านกุดไหจะโดดเด่นมากส่วนบ้านนาขามเจอปัญหาที่ สปก.และมีแหล่งแต่ขาดน้ำบ้านจอมแจ้งที่นาไปอยู่เขตป่าสงวนริมหนองหารแล้วก็ลงลึกกระบวนการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือศึกษาชุมชน 7ชิ้นที่บ้านนาจาน ซึ่งได้รับคำชมจากอาจารย์ด้วย

ช่วงบ่าย เป็นนำเสนอISที่ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์ที่ปรึกษา 7ท่านเลือกผู้นำเสนอมากลุ่มละ 3-4 คน รวม 21 คน คือ ผศ. ดร.จรัญญา  ปานเจริญ (น.พ. พิเชฐ บัญญัติ นายลือชัย เจริญทรัพย์ นายพิชัย  อุทัยเชฏฐ์)อาจารย์ ปรีชา  วุฒิการณ์(นายชัยสิทธิ์  วรคำแหง นายศักระ  กปิลกาญจน์นายวันชัย  คงเกษม) อาจารย์วิจิตร  วิชัยสาร(นางณัฏฐญา  พัฒนะวาณิชนันท์ นายกอบชัย  บุญอรณะนายวัชระ  รัตนวิไล) ผศ. ดร. สมศักดิ์  ดำริชอบ(นายภัคพงศ์  ทวิพัฒน์ นายนิวัฒน์  ภาตะนันท์นายอุกฤฏ์  มนูจันทรัถ)

รองศาสตราจารย์ ดร. สุรสิทธิ์  วชิรขจร (นายสมฤกษ์ บัวใหญ่ นายสุชาติ  สบาย นายกฤตชัย  อรุณรัตน์นายพีระพงศ์  ศิริเกษม) ศ.ดร.จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ(นายวิชัย  ตั้งคำเจริญ นายรัชกฤช  สถิรานนท์นางสุมาลี  ทั่งพิทยกุล นายศุภวัชร  ศักดา)อาจารย์สุดจิต  นิมิตกุล (นายธารทิพย์  มีลักษณะนายสรายุทธ  แก้วกุลปรีชา ว่าที่ ร.ต.ไพเจน  มากสุวรรณ์)ซึ่งได้ประกาศรายชื่อตั้งแต่ก่อนไปเที่ยวเวียดนามแล้วเพื่อให้ได้เตรียมตัวนำเสนอคนละ 15 นาที

พี่หน่องขอนำเสนอก่อนเพราะต้องรีบไปพบรัฐมนตรีที่สภาผมจึงนำเสนอเป็นคนที่สอง ผมทำสไลด์สั้นๆมีโครงเรื่องหลักๆและใส่รูปไปด้วยเพื่อให้รูปช่วยสื่อความหมายให้มากขึ้นผมเคยมีประสบการประกวดนำเสนอผลงานวิชาการกระทรวงสาธารณสุข 2ครั้งต้องนำเสนอภายใน 12 นาทีและสอบวิทยานิพนธ์ที่เบลเยียมนำเสนอภายใน10 นาที จึงมีประสบการณ์พอสมควรและนำเสนอได้ภายในเวลาที่กำหนดเสนอได้ชัดเจน ไม่มีคำถามจากอาจารย์ผู้วิพากษ์คืนนี้ผมหลับอย่างสบายหายกังวลเพราะภารกิจการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว

หมายเลขบันทึก: 395722เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท