สกว.กับแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ 2


กระบวนการวิเคราะห์จุดอ่อนของชาวบ้าน

ส่วนที่รัฐจะเสริมให้อีกด้านหนึ่งในส่วนของภาคปฏิบัตินอกจากทำให้เห็นสภาพแล้วการเสริมในด้านของการเรียนรู้ก็ดีอยู่นะคะ แนวคิดแบบพระอาจารย์สุบิน ยังไปไม่กว้างแต่พอพูดแล้วมันสะเทือน พอฟังปุ๊บเออเราสะเทือนนะเราออมวันละบาทดีกว่า 3 ปีทำหนหนึ่งนะ ทำทุกวันทำจนเป็นนิสัย ปลูกฝังให้เรานะเป็นคนร่วมบ้านเดียวกัน หมู่เดียวกัน มันช่วยกันอะไรอย่างนี้นะ มีน้อยก็ทำไปตามสภาพที่มีเสริมในเรื่องของฐานคิด เสริมเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเงินว่า ขนาดเงินมันโต โตขึ้นโตขึ้นเงินส่วนที่เหลือจะเอาไปทำลงทุนอะไรก็ไปได้ มันเหมือนกับจัดลำดับความสำคัญว่าก้อนหลักเราจะทำไอ้นี่กัน แต่ว่าก้อนรองคือไปทำการลงทุน เพราะทำเรื่องการลงทุนเป็นด้านที่มีความเสี่ยงสูงแล้วถ้าเราไม่มีความสามารถพอเราวิ่งเข้าไปหาอะไรที่เสี่ยง ๆ เหมือนกับว่าให้เรากระโดดลงน้ำเรารู้ว่าเราว่ายน้ำไม่แข็ง โหให้ว่ายจากนี้ข้ามฝั่งไปโน่นสมมุติสัก 500 เมตรเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะว่ายถึงหรือเปล่าเราต้องเตรียมแล้วหละชูชีพ หรือหาเรือ เราก็ต้องเตรียมเครื่องมือไว้ คือ ต้องหาเครื่องมือช่วย การสร้างเรื่องฐานคิด การเรียนรู้ เรื่องของการทำกิจกรรมเสริมที่จะทำให้กระบวนการกลุ่มแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นจะทำอะไรก็ตาม สำหรับว่าถ้าหากเอาไปทำเรื่องการลงทุนยังไงซีกนี้ก็ต้องพลาดทั้ง 2 ส่วนในเรื่องของการทำสวัสดิการลดรายจ่ายอะไรพวกนี้แหละ กับด้านของการลงทุนที่จะหาโอกาสเพิ่มทุน การกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน ถ้าดิฉันแนะนำหรือให้ข้อเสนอแนะก็อยากจะบอกว่า

น่าจะมีกระบวนการวิเคราะห์จุดอ่อนของชาวบ้าน การกู้เงินไปลงทุนเพื่อการผลิต การเข้าถึงแหล่งทุนเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นจุดอ่อนก็คือเอาเงินไปใช้ไม่ได้ คือเอาเงินไปทำการผลิตเพื่อให้มันงอกเงย ดูท่าทีมันเกินตัวยิ่งทำก็ยิ่งทรุดเพราะฉนั้นจุดอ่อนตรงนั้นอาจจะต้องการการเสริมเรื่องของทักษะเชิงการจัดการ เชิงธุรกิจ และลำดับแรกเลยทางการจัดการเชิงธุรกิจ เสริมเรื่องของการตลาด ชาวบ้านรู้แต่ว่าฉันถนัดอะไร ก็ผลิตอันนั้นไม่ถามว่าใครจะซื้อ พอดีเมื่อปีที่แล้วมาถึงช่วงปีนี้ 1 ปีพอดี ทำเรื่องเกี่ยวกับแผนชุมชนก็เลยทำโยงเกี่ยวกับเรื่องแก้ไขปัญาความยากจน เราเริ่มเห็นวี่แววอันหนึ่งที่มีความน่าสนใจมากก็คือการทำบัญชีครัวเรือน ครัวเรือนในมิติการบริโภคหากเอาอันนี้มาคลี่ดูเนี่ยะในหลายจังหวัดพอคลี่ออกมาจะเห็นหมวดรายจ่ายใช้น้ำปลา ใช้แชมพู ผงซักฟอก อะไรพวกนี้แหละซึ่งเป็นของที่ผลิตได้ในระดับวิสาหกิจครัวเรือน และมีความเห็นว่าหากชาวบ้านจะลงทุนด้านการผลิตอย่าเพิ่งกระโดดไป OTOP อย่าเพิ่งกระโดดไปคิดว่าฉันจะไปแข่งกับซุปเปอร์แมนแต่คิดถึงอะไรที่เรามีตลาดที่มั่นคงในท้องถิ่น เช่นพอรวมทั้งตำบลเราพบว่าค่าน้ำปลาเนี่ยะเป็นแสนต่อเดือนเรารู้เลยว่านี่คือตลาดน้ำปลาของคนในท้องถิ่น การผลิตที่จะลงทุนในท้องถิ่นนี้เพื่อจะขายกันเองแล้วอาศัยระบบความสัมพันธ์จากเรื่องสวัสดิการเนี่ยะทำกันเองช่วยกันเองเงินกลับเข้ามาก็จะส่งผลไปสู่กันเองภายในอันนี้เป็นตัวที่สร้างความมั่นคงเหมือนตลาดที่เราชัวร์ เราชัวร์ว่ามีตลาดแน่นอน การเชื่อมโยงอันนี้ก็น่าจะโยงกับข้อมูลครัวเรือนซึ่งเชื่อมโยงออกไปหลาย ๆ หน่วยงานช่วยกันทำ ธกส.แทบจะพิมพ์แจกเลย รูปแบบการจดบัญชีเหมือนกับการทำบันทึกครัวเรือนมากกว่าซึ่งเห็นแบบที่พระอาจารย์สุบิน ทำที่ตราดลองมาขอท่านดูแบบนั้นนะคะ เอาแบบนั้นหากจะทำเรื่องสวัสดิการชุมชนแล้วจะเชื่อมโยงการผลิตทีหลังไปดูอันนั้นเลย คือจะบอกว่าหมวดนี้ ๆ นี้ค่าใช้จ่ายอะไร หมวดอาหารอย่างเดียวเกือบหน้าหนึ่งเพราะอาหารเป็นของต้องกินต้องใช้ ของต้องกินต้องใช้อย่างไรเสียยอดการบริโภคจะไม่ค่อยลดเช่นอาหารถุงแทนที่จะซื้ออาหารถุงจากรถที่มาขายจากข้างนอกมาทำอาหาถุงขายกันเองรายได้ก็เข้าสู่กลุ่มแม่บ้าน น้ำพริกกะปิ สารพัดชนิด คือ เราหยิบตัวพวกนี้มาทำแล้วนึกถึงกิจกรรมที่กลุ่มการผลิตทำได้แต่ดิฉันเองก็ยังคิดอยู่ว่าขบวน 2 ขบวนควรจะแยกออกเป็น 2 ด้านขบวนสวัสดิการก็เดินไป หากเงินออมจากสวัสดิการเหลือแล้วค่อยไถ่เงินมาทำการผลิตในสายผลิตมันอาจจะมีเงินจากแหล่งธนาคารพาณิชย์ เงินจากการพัฒนา เงินอุดหนุนของรัฐก็ทำสายนี้ไป แต่สายนี้เขาทำงานหนักเพราะมีการเสริมแรงเรื่องการเรียนรู้พัฒนาทักษะของการทำธุรกิจเขาต้องมาช่วยเสริมอีกเยอะเหมือนกัน แต่มันเหมือนคนเราควรจะมี 2 แขน ไม่ใช่ผูกกันแล้วจะกลายเป็นแขนเดียว คือ ถ้าตัดทีเดียวก็หมดเลยด้านสวัสดิการที่เคยช่วยปะทะปะทังก็จะไม่เหลืองั้นมันต้องมองให้ชัดว่าเงินออมครัวเรือนนี้ลำดับความสำคัญมันคือการลดความเสี่ยงในชุมชนให้ได้ก่อนความเสี่ยงมันมาจากอะไรก็จัดการไอ้ตัวนั้นแหละ ถ้าความเสี่ยงมาจากสวัสดิการก็จัดการสวัสดิการแต่ความเสี่ยงมาจากอย่างอื่นอีกหลายตัวก็ลองวิเคราะห์ดูว่าน่าจะเป็นอะไรได้บ้าง นี่คือเส้นทางและทิศทางการเดินของขบวนองค์กรการเงินชุมชนซึ่งมีทิศทางมาจากงานเริ่มสวัสดิการครัวเรือนคนที่เดินเส้นนี้ก็ไต่ขึ้นไปให้รู้ว่าเป้าและทิศทางของการทำงานเป็นเรื่องของการลดความเสี่ยงพ่วงด้วยอีกตัวที่สำคัญมากที่ทั้งครูชบและพระอาจารย์สุบิน พูดถึง คือ เรื่องของการพัฒนาทักษะธรรมะของการอยู่ร่วมกัน การพัฒนาคน พัฒนาธรรมะแห่งการอยู่ร่วมกันและนี่ คือ ในสังคม อยากให้สังคมเกิดการอยู่ร่วมกันอย่างเย็นเป็นสุขนั้นมันจะไม่เกิดเราต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยและพวกความเสี่ยงต่าง ๆเพราะฉะนั้นเส้นนี้ก็เดินเข้าไปจะเดินคู่หรือเดินเดี่ยว หากพัฒนาคู่กันไปก็อาจจะรองรับของหนัก ๆ ได้มือเดียวยกจะยกแบบทุลักทุเลแต่หากยกทีเดียว 2 มือสบายแต่เราต้องการทั้งสองมีข้างซ้ายข้างเดียวก็ยกไม่รอดเหมือนกัน เราต้องมองให้เห็นว่าจริง ๆ ทั้งสองด้านมีประโยชน์แต่ว่าเส้นทางและพลังส่งของมันมาจากคนละแหล่งกันเพราะฉะนั้นการที่จะเดินขึ้นไปต้องยึดแหล่งการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก ต้องยึดการเสริมแรงกันและกันแล้วหาวิธีที่จะทำงานด้วยกัน คงมีความเห็นในการเสนอช่วงนี้เท่านี้ก่อนและยินดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #เรารักในหลวง
หมายเลขบันทึก: 39571เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท