การแพทย์พอเพียง


มีข้อสังเกตเรื่องการแพทย์พอเพียง ๖ ประการ

การแพทย์พอเพียง

คำอนุโมทนา

            ผมขอแสดงความชื่นชม ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการประชุมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เรื่อง “การแพทย์พอเพียง” (Self Sufficient Medicine) ระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2549 นับเป็นหัวข้อการประชุมวิชาการที่สมสมัยเป็นอย่างยิ่ง

            ผศ. นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ ได้ติดต่อขออนุญาตนำบันทึกในหัวข้อ "ชีวิตที่พอเพียง" ใน บล็อก Gotoknow.org/thaikm บางบันทึกที่มีสาระสอดคล้องกับเรื่อง "การแพทย์พอเพียง" มาลงในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ซึ่งผมอนุญาตด้วยความเต็มใจ และดีใจที่ข้อเขียนนี้เป็นประโยชน์

             อย่างไรก็ตาม ต้องขอให้ข้อสังเกตว่า ข้อความใน บล็อก ที่ผมบันทึกไว้นั้น เป็นการเขียนแบบเขียน บล็อก คือเขียนออกมาจากใจ ไม่ได้เขียนแบบ evidence-based อย่างงานวิชาการ ผู้อ่านจึงต้องอ่านเพื่อกระตุ้นความรู้สึกหรือความคิด ไม่ใช่อ่านเพื่อเชื่อหรือเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง

            ผมขออนุญาตให้ข้อสังเกตเรื่องการแพทย์พอเพียง ๖ ประการ

              ๑. ผมคิดว่าการแพทย์พอเพียงไม่ใช่การแพทย์แบบล้าหลังหรือด้อยค่า ไม่ใช่การแพทย์ที่ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่

              ๒. ผู้ตัดสินสุดท้ายว่าแบบใดเป็นการแพทย์พอเพียง คือผู้ป่วย ญาติ และสังคม ที่เป็นผู้ใช้หรือรับบริการ

              ๓. การแพทย์พอเพียง ในหลายกรณีปฏิบัติโดยตัวผู้ป่วยเอง ญาติ คนในชุมชน หรือบุคลากรด้านสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์

              ๔. การแพทย์พอเพียงย่อมมีได้หลากหลายรูปแบบ ตามบริบท หรือสภาพแวดล้อมของสังคม หรือชุมชนนั้นๆ

             ๕. การแพทย์พอเพียงต้องมีการพัฒนาเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง โดยมีผู้เข้ามาแสดงบทบาทในการพัฒนหลากหลายบทบาท ที่สำคัญที่สุดคือบทบาทของตัวผู้ป่วย หรือผู้ต้องการดูแลสุขภาพของตนเอง

             ๖. การแพทย์พอเพียง ควรเน้นการ "สร้างนำซ่อม" และควรใช้แนวคิด bio-psycho-social health ซึ่งกว้างกว่า bio-medical health

                                       วิจารณ์ พานิช

                             สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

                             www.kmi.or.th

                            http://gotoknow.org/thaikm

                            ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 39561เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Reading your perspectives inspires me to have a wider and longer vision. I am currently studying PhD in occupational therapy, which its model is related to bio-psycho-social approach. However, researching upon social science remains challenging to make a number of arguments with a traditional model of medicine.

Kind regards,

Ajarn Supalak Khemthong

PhD candidate, Curtin University, Perth

Thai Royal Government Scholarship Student

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท