เล่าเรื่ององค์กรแพทย์


HAทำไม่ยากถ้าแพทย์เข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมพร้อมทั้งเปิดใจรับฟังวิชาชีพอื่น
               เนื่องจากในการประเมินHAครั้งนี้(ใช้มาตรฐานใหม่HA2006) น้องๆแพทย์เปลี่ยนใหม่ทั้งชุด ยกเว้นผมคนเดียวที่เป็นคนเก่า รองผู้อำนวยการ ประธานองค์กรแพทย์และทีมงาน เป็นน้องใหม่ทั้งหมดที่เพิ่งมาทำงานได้ประมาณ 2 เดือนครึ่ง แต่ดูจากความตั้งใจ การเตรียมตัว ความสนใจของน้องๆทั้ง 3 คน ทั้งหมอเฟ็บ หมออัจและหมออ้อ แล้ว เป็นที่น่าประทับใจและน่าทึ่งมาก กับการเปิดใจเรียนรู้เรื่องคุณภาพ เรื่องกิจกรรมต่างๆของโรงพยาบาล คิดว่าเวลาสั้นๆนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคขององค์กรแพทย์เลย
                ก่อนปี 2540 โรงพยาบาลบ้านตากจะมีแพทย์(รวมผู้อำนวยการ)อยู่ 1-2 คน ไม่แน่นอนในแต่ละปี พอมาปี
                ปี 2540 มีแพทย์ 2 คน(ผมกับหมอบุญส่ง)
                ปี 2541 มีแพทย์ 3 คน (ผม หมอบุญส่ง หมอศุภชัย) 
                ปี 2542 มีแพทย์ 3 คน(ผม หมออาร์ตและแพทย์เวียน 3 คนๆละ 3 เดือนคือหมอเปิ้น หมอหนึ่งและหมอบิ๊ก) 
                ปี 2543 มีแพทย์ 3 คน(ผม หมอเปิ้น หมอหนึ่ง)
                ปี 2544 มีแพทย์ 5 คน(ผม หมอเปิ้นและแพทย์ฝึกหัดผลัดกันมา 3 เดือน 2 คน) ปีนี้ยกฐานะเป็น 60 เตียง และเป็นปีแรกที่เริ่มตั้งองค์กรแพทย์ มีหมอเปิ้ล(ทัศพร ปัจจับันเป็นจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)เป็นประธานองค์กรแพทย์ มีสมาชิกอีก 3 คนคือผมกับน้องแพทย์ฝึกหัดอีก 2 คน ได้นำเอาธรรมนูญองค์กรแพทย์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาดูและปรับเป็นของโรงพยาบาลบ้านตาก เกิดธรรมนูญองค์กรแพทย์ฉบับแรกขึ้นหมอเปิ้ลเป็นทั้งรองผู้อำนวยการและประธานองค์กรแพทย์ ทำงานกันหนักมากเพราะต้องออกตรวจหน่วยปฐมภูมิทุ่งกระเชาะกันทุกวัน กำหนดเป็นประจำแพทย์ในแต่ละวันไว้เลย รวมทั้งตัวผมด้วย หาเวลาประชุมองค์กรแพทย์กันไม่ค่อยได้ ต้องอาศัยช่วงพักกลางวันที่จะไปทานข้าวด้วยกัน
                   ปี 2545 มีแพทย์ 5 คน(ผม หมอซือกับแฟนและน้องแพทย์เวียนอีก 2 คน มาคนละ 2 เดือนต่อรุ่น) องค์กรแพทย์มีการปรับธรรมนูญให้สั้นและเหมาะกับองค์กรแพทย์ขนาดเล็กมากขึ้น จากการได้ไปดูงานที่โรงพยาบาลกงไกรลาศ พิชัยและบ้านโฮ่ง มีการออกพีซียูทุกวันเหมือนเดิม ภาระงานมากขึ้น การประชุมองค์กรแพทย์ก็ใช้แบบไม่เป็นทางการแบบเดิม มีการบันทึกการประชุมไว้บ้าง
                    ปี 2546 มีแพทย์ 5 คน (ผม หมอนุ๊กและน้องแพทย์เวียนอีก 3 คน มาคนละ 3 เดือน) มีการปรับปรุงธรรมนูญองค์กรแพทย์ การประชุมใช้การรกินข้าวกลางวันเป็นเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรึกษาหารือกัน
ปี 2547 มีแพทย์ 5 คน(ผม หมอชูชาติ หมอเสฐียรพงศ์ หมอภัทระ หมอฮัท) เป็นปีแรกที่ทั้ง 5 คนเป็นแพทย์ที่อยุ่ประจำทั้งหมดโดยไม่มีแพทย์เวียนหมอชูมาเป็นประธานองค์กรแพทย์ และมีบทบาทสำคัญมากในการผลักดันกิจกรรมต่างๆขององค์กรแพทย์และPCTโดยใช้ธรรมนูญองค์กรแพทย์เดิมที่ทำในสมัยหมอนุ๊ก มีการพูดคุยกันในองค์กรแพทย์โดยไปกินข้าวกลางวันร่วมกันแล้วประธานองค์กรแพทย์กลับมาบันทึกประเด็นที่สำคัญๆในการพูดคุย และในเดือนมกราคม 2547 ก็มีการประเมินHAและผ่านในรอบแรก 
                    ปี 2548 มีแพทย์ 5 คน (ผม หมอเสฐียรพงศ์ หมอดล หมอแอ๊ด หมอป๋อง) การทำกิจกรรมขององค์กรแพทย์ก็ดำเนินไปตามปกติ มีหมอเสฐียรพงศ์เป็นประธานองค์กรแพทย์และรองผู้อำนวยการ น้องๆแพทย์แบ่งหน้าที่กันไปตามทีมต่างๆ มีการทำงานกันเป็นทีมเวอร์ค ช่วยเหลือกันดีมาก
ปี 2549 มีแพทย์ 5 คน(ผม หมอเฟ็บ หมออัจ หมออ้อและน้องทำเนียบ มา 3 เดือนเป็นแพทย์เวียน) มีหมอเฟ็บเป็นรองผู้อำนวยการ หมออัจเป็นประธานองค์กรแพทย์ ใช้ธรรมนูญองค์กรแพทย์ฉบับเดิม มีการประชุมองค์กรแพทย์เดือนละ2-3 ครั้งในการออกไปทานข้าวกลางวันด้วยกันและนำเอาบทเรียนความผิดพลาดในอดีตของโรงพยาบาลบ้านตากและของโรงพยาบาลอื่นๆมาเล่าให้กันและกันฟัง เพื่อเป็นบทเรียนจากความผิดพลาด
                   ในการทำงานขององค์กรแพทย์ โรงพยาบาลบ้านตากตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา การแบ่งหน้าที่กันในการทำงานจะใช้วิธีแบ่งกันตรวจผู้ป่วยนอกกับตรวจผู้ป่วยใน โดยคนที่ตรวจผู้ป่วยในก็จะออกมาช่วยแพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยนอกด้วย หากมีภารกิจอื่นเช่นมีการออกพีซียูหรือการลาหรือไปราชการ แพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยในจะตรวจตั้งแต่เช้าก่อนแปดโงเช้าเพื่อจะได้ออกมาช่วยตรวจผู้ป่วยนอกเพื่อลดความแออัดและการรอคอยของผู้ป่วย และแพทย์ที่รับคนไข้นอนก็สามารถตามเข้าไปดูในผู้ป่วยในได้ เมื่อมีปัญหาอะไรก็จะปรึกษาหารือกันหรือช่วยเหลือกัน ในช่วงปี 47-48 ผมจะไปราวน์วอร์ดก่อนไปประชุมทุกครั้งเพื่อลดโหลดของน้องๆ หรือถ้าผมไปต่างจังหวัดแพทย์ที่หอผู้ป่วยจะสลับกันราวน์ เช่นแพทย์หอผู้ป่วยช่ายมาออกโอพีดีก่อนให้หอผู้ป่วยหญิงราวน์ก่อน พอสิบโมงเช้าจึงค่อยไปราวน์ ทำให้ช่วยกันลดคนไข้นอกเพราะช่วยกันตรวจตั้งแต่เช้า ทำให้คนไข้ไม่รอนานแม้แพทย์จะลาหรือไปประชุม 1 คน ก็ตาม
คำสำคัญ (Tags): #qaกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 39544เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ฟังแล้วประทับใจคะ อยากให้ที่อื่นเป็นอย่างนี้บ้างจัง

คือผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องรอนาน และแพทย์เองก็ทำงานกันเป็นทีมน่ารักมากค่ะ อยากให้ที่อื่นทำอย่างนี้บ้าง

ไม่ทราบต้องการ เวชสถิติ เพิ่มไม๊คะ เพราะแพทย์ต้อง Diag ได้ดีแน่ๆเลย เกี่ยวกันไม๊คะ

  • ได้อ่านประวัติแล้วประทับใจค่ะ Leader เข้มแข็งอย่างนี้ ขอเอาใจช่วยอีกครั้งให้สอบ HA ผ่านนะคะ
  • ดิฉันจะไปแจ้งความว่าบ้านตากมีวัตถุโบราณ ( ตัว ผอ. เองแหละ .) อายุ ประมาณ 10 ปี ...("o")

เรียนคุณศุภลักษณ์

            อ่านแล้ว ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ดีครับมีคนแซวบ้างอย่างนี้ เอาไว้เจอตัวจริงกันเมื่อไหร่คงได้แซว(แลกเปลี่ยนแบบขำๆ)กันมากกว่านี้ครับ 

แพทย์ไม่สามัคคี ทำยากจังเลยค่ะ

ปี2549 ทางทีมพัฒนาคุณภาพตั้งป้าหมายว่าจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายๆงานที่ร พ .บ้านตาก

หวังว่าทางรพ บ้านตากคงให้ความอนุเคราะห์ ได้รับทราบจากหลายเวทีของงานคุณภาพว่าผู้นำที่นี่มีความมุ่งมั่นมากและวันก่อนได้เข้าwebgotoknow.org

ได้นำความรู้ที่คุณหมอเขียนไว้มาเป็นเอกสารในการจัดทำโครงการองค์การรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาล

 

 

เรียนคุณอัมพร

             ยินดีต้อนรับครับ ทุกที่คงมีทั้งเด่นและด้อย ที่รพ.บ้านตากก็เช่นกันครับ

เรียนคุณkdjfids

             อย่าเพิ่งท้อครับ เวลาผมจะทำอะไร จะดูว่าตรงไหนปัญหาไม่ค่อยหนักหรือโอกาสสำเร็จมาก ผมก็จะทำตรงนั้นก่อนครับ มีบางปัญหาที่ผมเองก็แก้ไม่ได้ บางทีก็ต้องปล่อยไปและทำใจ แต่ไม่ให้สิ่งนั้นมารบกวนใจจนไม่เห็นโอกาสในจุดไท่ไม่มีปัญหาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท