ปุจฉา : ตลาดกับคนซื้อใครเกิดก่อนกัน?


 

        เมื่อวานนี้ในระหว่างที่นั่งรอรถไฟอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ ตรงข้ามทางรถไฟก็มีตลาดขายอาหาร (อาหารอร่อยมากครับ ถูกอีกต่างหาก) ก็เลยฉุกคิดแต่หาคำตอบไม่ได้ครับ ก็เลยเขียนบันทึกนี้ขึ้นมา เพื่อถามผู้รู้หลาย  ๆ ท่าน เพื่อหาคำตอบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

ปุจฉา :  

การมีตลาดทำให้คนเปลี่ยนแปลงการบริโภค จากการทำอยู่ ทำกิน มาซื้ออยู่ซื้อกินกันมากขึ้น

หรือว่า

คนบริโภค นิยมซื้ออยู่ซื้อกิน ซื้อหามาบริโภคกันมากขึ้นทำให้ตลาดเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดั่งเช่นในปัจจุบัน ?

 

 

            

หมายเลขบันทึก: 39504เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
 จริงค่ะการมีตลาดเคลื่อนที่ยิ่งทำให้คนขี้เกรียจมากขึ้นๆทุกวัน การหาอยู่หากินของธรรมชาติน้อยลงทุกทีแต่ที่บ้านไลไม่เป็นอย่างนั้นค่ะ การที่ได้กินของที่เราหามาจากธรรมชาติเป็นอาหารที่วิเศษที่สุด! แม่จะสอนเสมอว่าของตลาดเป็นของที่ไม่สดและไม่ค่อยสะอาดไมเหมือนของบ้านป่าของเราที่ทั้งอร่อยถูกใจและที่สำคัญถูกปากคนอีสานบ้านเราด้วย

 ไลลืมตอบ ขอตอบก่อน "ก็คนซิค่ะ"เพราะคนคือผู้ที่สร้างตลาด

     แต่มองอีกด้านหนึ่งตลาดอาจมีอยู่ในรรมชาติอยู่แล้วก็ได้แต่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนสิ่งของกับเงินตราก็ได้ อาจารย์ลองคิดดูซิค่ะว่ามันแลกเปลี่ยนกันอย่างไร ก็ระบบการพึ่งพากันตามธรรมชาติไงค่ะ อย่างเช่นไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากถั่ว  มันก็เหมือนกับ"น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า"นั่นแหละค่ะ

     ผมเชื่อว่าตลาด (ตามนัยยะที่คุณปภังกรณ์ กล่าวถึง) เกิดก่อนครับ

พอดีผมกำลังสนใจเรื่องการทำเกษตรแบบดั้งเดิม ทำให้ผมต้องค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรกรรมในอดีต

ผมเลยขออนุญาตเสนอความเข้าใจของผมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรแบบดั้งเดิมก่อนที่จะผูกเชื่อมเข้ากับเรื่อง  ตลาดและคนซื้อ น่ะครับ 

นานมาแล้ว  ก่อนที่ผู้คนจะอยู่กันเป็นหลักแหล่งและเกิดชุมชนที่ถาวรขึ้นนั้น....

ผู้คนเหล่านั้นมักจะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นเผ่า ได้เร่รอนเคลื่อนย้ายอาศัยไปตามที่ต่างๆ ที่อุดมสมบูรณ์  การดำรงชีวิตในยุคนั้นขึ้นกับการล่าสัตว์และเก็บหาอาหารในป่า

ต่อมาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ชุมชนเริ่มก่อตั้งเป็นหลักแหล่งมากขึ้น โดยเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์จากผู้ที่มีความชำนาญในเผ่า (อาจเรียกได้ว่าเป็นปราชญ์ของชุมชนก็เป็นได้) เริ่มรู้จักการทำการเกษตร เพาะปลูกพืชอาหาร และเลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภคในครัวเรือน  และครัวเรือนเริ่มทำการเก็บสะสมอาหารที่เหลือเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลน

  • ทำให้เราเห็นว่า ปริมาณอาหารที่เพียงพอ หรือ supply นี่เอง ทำให้ผู้คนในเผ่าเหล่านั้นสามารถจัดตั้งชุมชนของเขาที่ถาวรได้ในพื้นที่หนึ่งๆ โดยไม่ต้องเร่ร่อนย้ายแหล่งหาอาหารที่ใหม่อีก

การขยายตัวของชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาด้านขนาดของชุมชน  มีการเปลี่ยนแปลงในด้านของรูปแบบของสังคม

  • คนที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เช่น ชำนาญในการสร้างเครื่องมือล่าสัตว์ เครื่องมือเกษตรกรรม ปลูกพืชหรือทำอาหารเก่ง  เขาจะเริ่มใช้ความพิเศษเหล่านั้น สร้างกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคม  นอกจากสังคมแบบเกษตรกรรมแล้ว สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาชีพที่แปลกใหม่ในชุมชนตามมาด้วย

เกริ่นมาซะยาวเลย  ในความคิดของผม ผมว่านั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า ตลาด ก็ได้ครับ

ในตอนแรก ๆ ก่อนที่จะมี  การตลาด   สิ่งที่น่าจะมาก่อนน่าจะเป็น การแลกเปลี่ยน แบบง่ายๆ เช่น แลกเปลี่ยนกันระหว่างสัตว์เลี้ยง พืชอาหาร สิ่งของต่างๆ แต่ระบบการแลกเปลี่ยนแบบนี้  ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้แลกเปลี่ยนทั้งสอง น่าจะพบปัญหาในการตกลงกันได้บ่อยๆ  ต่อมาการใช้เงินคงเกิดขึ้นมาตามหลัง

  • ผมคิดว่า ในเมื่อมีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นทั่วไปในชุมชน  เขาก็คงจะจัดหาสถานที่เพื่อกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ  ผมก็ไม่ทราบว่าสามารถเรียกว่าเป็น ตลาดได้หรือเปล่า  ถ้ายังเป็นเพียงแค่กิจกรรมแลกเปลี่ยนสิ่งของ ไม่มีการซื้อขายกันด้วยเงิน

เมื่อมีสถานที่และการใช้เงินสำหรับกิจกรรมแบบนี้แล้ว   สิ่งที่ตามมาก็น่าจะเป็น  การนำเสนอสิ่งของที่เกิดจากการทำประดิษฐ์  การสร้าง และการปรุงการทำอาหารที่อร่อย (อย่างที่อาจารย์ปภังกรได้รับประทานที่สถานีรถไฟศรีษะเกษไงครับ) ของผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากกว่าคนทั่วๆ ไปในชุมชนอย่างที่ผมเกริ่นไว้ข้างต้น เพราะสิ่งเหล่านั้นจะมีลักษณะที่ดี หรือเรียกว่ามีมาตรฐานที่ดีกว่าคนทั่วๆ ไปทำ ก็ทำให้เกิดกิจกรรมการซื้อขายขึ้นมาในชุมชนนั้นๆ 

ส่วนปุจฉา ตามนัยยะของคุณปภังกรณ์  และจากคุณพิไล และคุณชายขอบ   

  • ตลาดและคนซี้อน่าจะมีปฏิสัมพันซึ่งกันและกัน ตลาดสามารถส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป (กรณีนี้ตลาดคงเกิดขึ้นก่อน)  หลังจากนั้น จำนวนผู้ที่มาจับจ่ายในตลาดก็ทำให้ขนาดของตลาดเปลี่ยนไปด้วย  โดยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและปริมาณความต้องการของผู้จับจ่ายต่อ ลักษณะ

สำหรับหัวเรื่อง ตลาดกับคนซื้อ ใครเกิดก่อนกัน นี่ จากความเข้าใจของผมตอนนี้ ผมไม่สามารถคาดเดาได้ครับอาจารย์ปภังกรณ์  ไว้รอรับฟังความคิดเห็นของชาว gotoknow ครับ

คิดว่า เกิดควบคู่กันไป ค่ะ อะไรมีกำลังฉุดมากก็แสดงเด่นขึ้นมา เช่นเรื่องอาหารสุขภาพในปัจจุบัน หลายตลาดสดเริ่มต้องมีผักปลอดสารพิษเข้ามาขาย ตามแรงฉุดอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ขณะเดียวกันตลาดก็นำเสนอสินค้าเพื่อจูงใจกำลังซื้อให้ยอมจ่าย "แพง" เช่นข้าวกล้องก็จะแพงกว่าข้าวขาวค่ะ

 

 

     ไม่ยอมแล้วนะครับ ตอบได้แล้ว ไม่งั้นจะโวย...วาย
จากที่ได้อ่านความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่านแล้ว(แสดงความคิดเห็นทีหลังก็ดีอย่างนี้แหละครับ) "ตลาด" หากหมายถึง ที่ที่ทำการซื้อขายกันล่ะก็ "ผู้ชื้อ" จะต้องเกิดก่อน แต่...ถ้า "ตลาด" หมายถึง ที่ที่ทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยล่ะก็ "ผู้ซื้อ" จะเกิดทีหลัง ประเด็นแรก น่าจะเป็น"ตลาด"ที่คนทั่วไปเข้าใจ หรือแม้กระทั้งจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการ "ซื้อ-ขาย" ทุก ๆ ที่ที่มีการซื้อขายก็เป็นตลาด ต้องมีผุ้ต้องการซื้อก่อน ประเด็นที่สอง "ตลาด" ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีจะเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนกันก่อน จนกระทั้งสิ่งที่ต้องการไม่ตรงกัน จึงมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกัน นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มของ "การซื้อ-ขาย" นั่นหมายความว่า มีตลาดก่อนมีผู้ซื้อ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท