สมรรถนะหลักของครูที่สังคมต้องการ


Core Competencyของครู

อารัมภบท
         การบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ในยุค New economy
เป็นยุคเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ (Knowledge base Society)
เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันสูงทั้งภายในและภายนอกประเทศ  
        คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตรอบด้าน
ทั้งในเรื่องภัยคุกคามทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้น
และภัยธรรมชาติอันเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์  

ลดอัตตา
          "การป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน" คือ สิ่งที่ทุกคนต้องการ  
คำถามก็คือ "คน" เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาใช่หรือไม่  คำตอบส่วนใหญ่ตอบว่าใช่
คงไม่ผิดถ้าเป็นเช่นนั้น จะตั้งต้นแก้ปัญหากันอย่างไร หลายคนมองว่าการแก้ปัญหา
ที่เกิดจากคน ต้องเริ่มแก้ที่"คนก่อปัญหา"  ฉะนั้นสิ่งที่ท้าทายนักการศึกษาก็คือ
จะใช้ "การศึกษา" เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องได้อย่างไร
เพราะมั่นใจว่า คนที่มีสติปัญญามีความรู้คู่คุณธรรม อันเกิดจากกระบวนการ
ให้การศึกษา อบรม บ่มนิสสัย น่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน

หากทุกคนร่วมไม้ร่วมมือกัน จัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ลด
"อัตตา"
 ไม่ถือเขาถือเรา ไม่แยกกรมแยกสังกัด ไม่ว่าสถานศึกษาภาครัฐหรือ
เอกชน เชื่อมั่นว่ากำแพงแห่งปัญหาจะถูกพังทลายลงมา การแก้ปัญหาจะง่ายขึ้น

หาแนวทาง
         การกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 (ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2545) หมวด 4 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้
ค่อนข้างชัดเจน  ถ้านักการศึกษาหรือครูอาจารย์ได้พยายามศึกษา ทำความเข้าใจ
ให้ถ่องแท้ จะทำให้การจัดการศึกษาสามารถไปสู่เป้าหมาย/หลักชัยที่เราต้องการได้

เสริมสร้างสมรรถนะ
         เมื่อเห็นแนวทางที่ชัดเจนดังกล่าวมาแล้วข้างต้น  คนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรจะมีสมรรถนะอย่างไร
         จากการเคยที่ทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนมากว่า 15 ปี และมาทำหน้าที่ผู้บริหาร
พอจะมีประสบการณ์ ความรู้ และมีแนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะของครู
เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดังต่อไปนี้
         สมรรถนะหลัก (Core competency)
         1. สนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน   หมายถึง ความสนใจในการศึกษา ค้นคว้า
หาความรู้ พัฒนานเองอยู่เสมอ ไม่ทำตัวเป็น "น้ำล้นแก้ว"
         2. พากเพียรจัดกิจกรรม  หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับ
ผู้เรียนอย่างหลากหลาย ทุกรูปแบบ (ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย)
ทั้งในห้องเรียนและในแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
         3. ดำเนินการวัดผลประเมินผล หมายถึง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ของผู้เรียน โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
และนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
         4. ค้นหาศักยภาพของผู้เรียน  หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
ความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนที่จะต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม
พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
        
         ฉะนั้นบทบาทการเป็นครูจึงไม่ใช่ผู้ที่หน้าที่เพียงให้การอบรม สั่งสอนเท่านั้น 
หากแต่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นนักจัดการความรู้ (Knowledge Manager)
ซึ่งครูจะต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกวัน เวลา
ทุกสถานที่ ดังนั้นจึงควรมีสมรรถนะหลักดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
         
         
         

         

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3948เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2005 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณที่กรุณาสร้างคลังความรู้ คนเรายิ่งรู้ ยิ่งให้ และ ยิ่งให้ยิ่งรู้ จริงครับ

เนาวรัตน์ เอกธรรมสุทธิ์

ตามหาคำว่า "สมรรถนะหลักของครู"อยู่ค่ะ เมื่อเข้ามาแล้วและได้ความรู้กลับออกไป

ก็ต้องขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ที่กรุณาให้ความคิดรวบยอดที่เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้ ยังติดตามผลงานของอาจารย์อยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท