การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนนักเรียน


จะประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนนักเรียนอย่างไร?

        การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น จะยึดตามตัวชี้วัด จะประเมินโดยใช้วิธีการ 4 รูปแบบ (โดยสถานศึกษา / ครูผู้สอนเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

        รูปแบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมิน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

        รูปแบบที่ 2 การใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

        รูปแบบที่ 3 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ

        รูปแบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

        • สถานศึกษาส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบที่ 1 คือ บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

        • การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ควรประเมินในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด

        • หากประเมินโดยใช้เวลานอกห้องเรียน ควรมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มที่สะท้อนความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นพิเศษ

        • จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินเป็นครั้งๆ แล้วนำผลมาสรุปรวมโดยควรแบ่งระยะเวลาสรุปเป็นช่วงๆ

        สำหรับตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับประถมศึกษามีดังนี้

        ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3

        1. สามารถอ่านหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย

        2. สามารถอ่านจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน

        3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม

        4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ

        5. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

        ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

        1. สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่างๆ

        2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน

        3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน

        4.สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน

        5. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

       การตัดสินผลการประเมินเพื่อเลื่อนชั้น → ใช้ผลการประเมินปลายปี

       การตัดสินผลการประเมินเพื่อจบระดับการศึกษา→ ใช้ผลการประเมินปลายปี

                                                                       สุดท้ายของระดับการศึกษา

       เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มี ๔ ระดับ ดังนี้

            ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

                                 เขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

            ดี        หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

                                  เขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

            ผ่าน    หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ

                                 เขียนที่มีข้อบกพร่องบางประการ

            ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์

                                  และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้อง

                                  ได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

หมายเลขบันทึก: 394520เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2010 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากได้แบบบันทึกการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนพอจะมีบ้างไหมค่ะ คิดคะแนน เท่าไรดี

ใครมีแบบประเมินการอ่าานคิดวืิเคราะห์ ตามลส.51 บ้าง ช่วยโพสต์ขึ้น web หน่อยนะ จะขอบคุณมาก หรือส่งมาทาง mail ก็ได้ค่ะ

ชั้นไหนดี ตามนี้ก่อน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

ขอบเขตการประเมิน

การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ และหรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ประสบการณ์และมีประเด็นให้คิดและเขียนบรรยายถ่ายทอดประเด็นที่คิดด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยายปรัมปรา

 

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

1. สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย

                  2. สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน

                   3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม 
ไม่เหมาะสม

                   4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ

                   5. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

สวัสดีค่ะ'Krupuk'

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครูผู้สอนสามารถใช้การประเมินทั้ง 4 รูปแบบ ให้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันโดย

ในรูปแบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนฯร่วมกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

1.การเขียนแผนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนฯในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆสามารถวัดได้ในเชิงประจักษ์(การสังเกต/การร่วมกิจกรรมในลักษณะต่างๆตามเนื้อหาบทเรียน)ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระฯ

2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนฯ อาจวัดเป็นระยะๆหลังจบบทเรียน หรือ ทำ 2 ครั้ง คือสอบปลายภาคและ สอบปลายปีตามมาตรฐานระดับชั้นเรียน

 *** ทั้ง 2 วิธี แต่ละกลุ่มสาระจะต้องกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรฐานชั้นเรียนและมาตรฐานช่วงชั้น จากการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ก่อนปิดภาคเรียนทุกปีการศึกษา

ในรูปแบบที่ 2 การใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนฯ จะใช้เพื่อวัดเพื่อการประเมินผลความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนฯในการจบตามมาตรฐานช่วงชั้น,มาตรฐานการศึกษาภาคบังคับ(6ปี)และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(12ปี)

***ตัวเครื่องมือหรือแบบประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนฯต้องครอบคลุมทั้ง8กลุ่มสาระการเรียนรู้

ในรูปแบบที่ 3 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนฯ ให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ ต้องมีโครงการในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนเพื่อรองรับงบประมาณประจำปีและมีความสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและนโยบายของต้นสังกัด โครงการรักการอ่านของห้องสมุดจึงจะเป็นร่มใหญ่ของนโยบายส่วนสายชั้นต่างๆก็จะมีโครงการย่อยที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้เกิดให้มีขึ้นในตัวผู้เรียน โดยผ่านกิจกรรมของสายชั้นต่างๆ

***สิ่งสำคัญต้องกำหนดตัวชี้วัดกิจกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนด้วยดังนั้นกิจกรรมแต่ละสายชั้นจึงไม่ควรมีมาก

ในรูปแบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนฯร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนมากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะเป็นกิจกรรมลูกเสือยุวกาชาด โฮมรูม และชมรม ซึ่งจะขออธิบายการใช้กิจกรรมชมรมเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนฯ การจัดชมรมสามารถจัดได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน ชมรมควรอยู่ในขอบข่ายของ 8 กลุ่มสาระฯเป็นกิจกรรมเสริมไม่ใช่การสอนซ่อมเสริม จำนวนครู 1 คน ต่อเด็กไม่เกิน 10-15 คน ก็จะมีชมรม ประมาณ 15 ชมรม เพราะกลุ่มฯการงานอาชีพและเทคโนโลยี อาจมีได้หลายชมรมเช่นชมรมคอมพิวเตอร์,ชมรมงานประดิษฐ์และชมรมงานเกษตร,กลุ่มศิลปะ สามารถแยกออกเป็นชมรมศิลปะและชมรมดนตรีไทยดนตรีสากล,กลุ่มภาษาต่างประเทศ อาจแยกออกเป็นชมรมภาษาอังกฤษ,ชมรมภาษาจีน และสาระฯอื่นๆถ้ามีครูหลายคนก็อาจมีหลายกิจกรรมโดยแบ่งเด็กไปตามความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียนได้เช่นชมรมภาษาไทย เด็กโตหน่อยก็อาจเป็นกิจกรรมโต้วาที , กิจกรรมร้องเพลงลำตัด,กิจกรรมทำหนังสือนิทานฯลฯ เป็นต้น

        ดังนั้นนักเรียน 1 ห้อง เมื่อถึงชั่วโมงชมรมก็จะแยกย้ายกันไปเข้าชมรม โดยแต่ละชมรมกำหนดคุณสมบัติในการรับสมัครเข้าชมรม เช่นคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความถนัด, ความชอบ,ความพร้อม ฯลฯ  

***มีการลงเวลาการเข้าชมรม เมื่อใกล้เวลาสอบ ชมรมต่างๆควรสรุปผลงานชมรม มีการจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานต่างๆ การแสดงความสามารถ ซึ่งอาจทะยอยจัดบนเวทีหน้าเสาธงในช่วงเช้า หรือกลางวัน วันละ 1-2 ชมรม หรืออาจจัดทั้งวันรวดเดียวจบก็แล้วแต่ความเหมาะสมค่ะ

***ถ้ามีเวลาจะเขียนบันทึกในบล๊อกการศึกษาอีกทีค่ะ

ตอนนี้ได้รับผิดชอบการทำเครื่องมือแบบประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์เขียน โดยที่โรงเรียนเลือกที่จะทำแบบที่2 แต่ตีความที่จะทำแบบประเมินตามตัวชี้วัด ข้อที่1 ของระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ สามารถคัดสรรสื่อ ที่ต้องการอ่าานเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน เราจะสร้างแบบประเมิน แบบไหนที่จะเข้ากับตัวชีัวัดนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท