สทบ.กับแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ 3


มิติทางด้านการบริหารจัดการ

การที่จะพัฒนาสถาบันการเงินเป็นใน 4 รูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละชุมชนนั้นถ้าเขายัง

ไม่พร้อมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ทั้งหมู่บ้าน อันอื่นเขาอาจจะเดินด้วยตัวเขาเอง หากมีตำบลที่จะรวมกิจการแต่ไม่ถึงขั้นของกลุ่มกิจการขนาดใหญ่ก็อาจจะเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมร่วมกันก่อน แต่อาจแยกการบริหารจัดการ ตำบลนั้น ๆจะเข้าสู่รูปแบบไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของหมู่บ้านชุมชน ถามว่าทุกกองทุนสามารถพัฒนาเป็นสถาบันการเงินในรูปแบบ 4 รูปแบบนี้ได้หรือไม่ ถ้าดูในตัวบทกฏหมายสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง ในเชิงนโยบายเราได้กำหนดไว้ว่าถ้าเข้าสู่สถาบันการเงินในส่วงนที่เป็นนโยบาย สทบ. จะต้องผ่านขั้นตอนสำคัญ ๆ 2 ขั้นตอน

*คุณต้องไปแสดงความเป็นผู้ใหญ่ คือ คุณต้องผ่านการเป็นนิติบุคคลมาก่อน

**คุณต้องผ่านมาตรฐานการเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งมีตัวชี้วัดและความเข้มในเรื่องของการออม และสวัสดิการเข้มของเรื่องนิติบุคคล

แล้วก็ดำเนินการไปในระหว่างดำเนินการยังไม่ให้เปิดต้องผ่านกระบวนการในการพัฒนาตอนนี้เราทำหลักสูตรออกมาแล้ว 3 หลักสูตร คือ
1) หลักสูตรการบริหารจัดการการเงิน
2) การบริหารจัดการระบบ สวัสดิการ
3) หลักสูตรที่ 3 ยังไม่เสร็จดี คือ หลักการการบริหารความเสี่ยง
เหมือนที่เราพูดกันเมื่อกี้ว่าหากมีเงินออมเข้ามาจะบริหารจัดการอย่างไร จะจัดการลดความเสี่ยงอย่างไรเป็นต้น ทุกกองทุนที่เข้าการฝึกอบรมจะต้องผ่านมาตรฐานได้รับการคัดเลือกเข้าไปสู่ระบบการพัฒนาแล้วเข้าไปสู่ระบบการติดตาม ตรวจสอบ และมาตรฐานที่สูงกว่า คือ มาตรฐานการรับรองถึงจะรับรองให้เป็นสถาบันการเงิน ตอนนี้ไม่เหมือนการนำร่องเพราะตอนนี้ขึ้นป้ายไม่ได้ ตอนนำร่องขึ้นป้ายได้ก่อนเลยแต่แตนนี้ไม่ได้แล้วนะครับ ตอนนี้หากไม่ผ่านมาตรฐานไม่มีการรับรองคุณต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ต้องไปขอเข้าระบบบัญชี มีการคัดเลือก ผ่านการประเมิน ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานใหม่ พูดง่าย ๆ ว่าใช้เรื่องของการเรียนรู้แต่ว่าใช้เรื่องของระบบการเรียนรู้ในโรงเรียนมาใช้ถ้าไม่ผ่านคุณก็ไปเริ่มต้นใหม่ ขึ้นชั้นใหม่ นั่นก็เป็นเรื่องที่มีการกำหนดเอาไว้อย่างไรก็ตาม สทบ.เราก็ได้องค์ความรู้หล่ายอย่างที่จะนำไปใช้ทำหลักสูตรประกันเรื่องของความเสี่ยง อย่างไรก็ตามคงจะมองเรื่องของสถาบันการเงินคงจะมองมิติของการบริหารจัดการออกเป็น 4 มิติ มุ่งไปมิติหนึ่งมิติใดไม่ได้ มิติที่
1) เรื่องของการบริหารคน ยังเป็นมิติหลักอยู่ คนก็เรื่องของการเป็นคณะกรรมการ สมาชิก หรือคนที่อยู่ในชุมชนนั้น เรื่องของการเรียนรู้ ในการพัฒนาคนยังเป็นระบบคนอยู่
2) เรื่องของระบบเงิน เงินไหนที่เป็นเงินออม ออมแล้วจะมาหมุนเวียนอย่างไร อะไรที่จะนำไปสู่การทำให้เกิดการลงทุนแต่เป็นการลงทุนที่ไม่เกิดความเสี่ยง จะนำไปเรื่องของการลดรายจ่ายเพื่อเป็นแหล่งทุนให้กับคนในชุมชนเป็นเรื่องระบบเงิน
3) ระบบออมก็จะมีการส่งเสริมการออมมากขึ้น เป็นอย่างที่ท่านอาจารย์ว่า อาจจะเป็นเรื่องของการออมระดับครัวเรือน ทำอย่างไรที่จะไปสู่ระบบที่ 3 เรื่องของการบริหารความเสี่ยงเงินออมให้เงินออมที่เกิดขึ้นมีความเสี่ยงน้อย
มิติสุดท้าย คือ ระบบสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย ระเบียบต่างๆ ของการบริหารจัดการ ระเบียบการเงินที่เห็นชัดว่าไปสู่เป้าหมายเรื่องของสวัสดิการได้อย่างไรตั้งแต่เกิดจนตาย อะไรที่ทำอยู่แล้วหลายแห่ง สวัสดิการสำหรับคนป่วยเมื่อก่อนให้ 50 บาท 30 บาทค่ารถ อีก 20 บาทค่าอะไรก็ว่าไปเดี๋ยวนี้ขยับมาเป็น 100 บาท เกิดก้มี มีหลายแห่งที่ถึงขั้นปลดเกษียณ แถวนาสารมีนะภาคปลดเกษียณ อายุ 60 ปี ปลดเกษียณแล้วมีเงินช่วยเหลือแต่ว่ามันเป็นเรื่องของคุณค่ามากกว่ามูลค่า เรื่องของภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ ก็มีกองทุนโอ่งเกิดจากกองทุนหมู่บ้านเอาน้ำไปใส่เพื่อจะมีน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง เรื่องของการตายเราพบว่าที่ผ่านมามีความหลากหลายมากสำหรับกองทุนหมู่บ้านเรื่องของการตาย บางแห่งใช้ฌาปนกิจบางแห่งเป็นระดับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บางแห่งระดับตำบล บางแห่งระดับอำเภอ จังหวัด มีกองทุนประกันความเสี่ยงคล้ายกับฌาปนกิจ

เป็นทิศทางของการพัฒนาที่นำไปสู่การหนีไกลจากปรัชญาหรือการเข้ามาแทรกแซงของกลุ่มทุนโดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิตเข้ามาแทรกแซงเยอะ ไปสร้างระบบแถวอิสานเรียกว่ากองทุนระบบรากหญ้า ซึ่งเราสั่งห้ามแล้วขณะนี้ จะเห็นว่ามันเกิดวิธีคิดขึ้นมากมายเป็นวิธีคิดที่ค่อนข้างจะใกบล้กับปรัชญาและห่างจากปรัชญา เป็นความคิดที่มุ่งชุมชนจริงๆกับมุ่งผลประโยชน์ที่เป็นนิติบุคคลเราก็เลยเกิดแนวคิดว่าเพราะฉะนั้นเราต้องมีตัวแกนในการร้อยรักแล้วหละก็จะมีแนวคิดเรื่องการตั้งสมาคมเครือข่ายขึ้นมาเพื่อเป็นแกนร้อยรักระบบสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว กำลังศึกษาว่าฌาปนกิจอย่างไร จะเชื่อมต่อกันอย่างไร ต่อท่อกันอย่างไรระหว่างอำเภอ ตำบลการจะบูรณาการกองทุนประกันความเสี่ยงของภาคอีสาน กับประกันเสี่ยงของภาคใต้เข้าเป็นระบบเดียวกันได้อย่างไร ขณะนี้สมาคมอยู่ระหว่างเรื่องของระบบตรงนี้อยู่ ตอนนี้ใกล้จะออกระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันมาเราขอเพียงแต่ระดมสมองกันอยู่อีก 4-5 ครั้งก็คงจะจบแล้วหละเพราะฉะนั้นทิศทางกองทุนก็คงใกล้เคียงกัน นอกจากจะเป้ฯแหล่งทุนก็คงจะเป็นแหล่งการสร้างสวัสดิการชุมชนเดินไปสู่ปรัชญาแห่งการพึ่งพาตนเองตามแนวคิดทั้งในเรื่องของการยอมรับสิทธิของชุมชนถึงแม้ว่านิ้วมือไม่เสมอกัน นิ้วกลางยาวที่สุดใช่ว่านิ้วกลางจะมีโอกาสเมื่อไม่เท่ากันเราก็พยายามที่จะพัฒนาเขาเพราะฉะนัน้ต่อไปจะมีความชัดเจนขึ้นก็จะออกมาเลยว่าใครผ่านมาตรฐานงานบุคคลใครไม่ผ่านบ้างถ้าไม่ผ่านจะพัฒนากันอย่างไรจะให้โอกาสการเรียนรู้อีก 1 ปีหลังจากไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่านอีกถิอว่าเราเปิดโอกาสแล้วนะครับโอกาสการเรียนรู้ท่านจบแล้วเข้าสู่ระบบการยุบรวมแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 39434เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท