เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง


การแก้ไขปัญหาฐานรากอาคารขนาดใหญ่

การแก้ไขปัญหาฐานรากอาคารขนาดใหญ่

ข้าพเจ้า นายสุวิชัย จงหวัง ตำแหน่ง วิศวกรโยธา 6 ว. ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมงานร่วมกับ คุณสุทธิชัย สุมสีเสน วิศวกรวิชาชีพ 7 วช. และนายพิชิต ธัญญลักษณากุล สถาปนิก 5 ควบคุมงานโครงการก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามสัญญาจ้างเลขที่ 268/2543 ลงวันที่ 19 กันยายน 2543 อาคารดังกล่าวเป็นอาคารสูง 5 ชั้น มีงานระบบต่างๆ ในส่วนของผู้ควบคุมงานข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลด้านงานวิศวกรรมโครงสร้างและคุมระบบ ขณะทำการตอกเสาเข็มขนาด 0.40 X 0.40 X 14.00 ม. ปรากฎว่าขณะ ทำการก่อสร้างด้านชิดกับอาคารเดิมของศาลากลางหลังเก่า ห้องทำงานด้านหลังอาคารหลังเก่า เกิดการสั่นสะเทือนฉะนั้นมีปัญหาดังกล่าวได้แจ้งหัวหน้าผู้ควบคุมงานเพื่อแจ้งคณะกรรมการทราบ จะต้องทำการออกแบบฐานรากใหม่ ซึ่งข้าพเจ้าได้ออกแบบฐานรากเป็นชนิดเข็มเจาะ 0.50 เมตร แทน แต่ต้องกำหนดรายละเอียดให้ครบ เช่น การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เพื่อให้เข็ม รับน้ำหนักได้เต็มที่ ระหว่างการเจาะต้องควบคุมการเจาะให้ดีเพราะสภาพดินเป็นดินอ่อนปนทรายการป้องกันดินพังค่อนข้างยุ่งยาก ผลการก่อสร้างสามารถใช้การได้ดีและข้าพเจ้าไปสุราษฎร์ ได้มีโอกาสเข้าดูอาคารดังกล่าว ปรากฏว่า ยังใช้การได้ดี เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับผิดชอบงานโครงการขนาดใหญ่ หากพิจารณาแบบแปลนแล้วเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคารใกล้เคียงควรมีการเปลี่ยนแปลงตามที่ข้าพเจ้าเล่ามา ขอเพิ่มในด้านวิศวกรรมโครงสร้างในส่วนของอาคารเก่ากับอาคารใหม่ให้เว้นรอยต่ออย่างน้อย 1 เซนติเมตร เนื่องจากโครงสร้างทรุดตัวไม่เท่ากัน หากปฏิบัติได้ดังนี้จะได้อาคารที่มีความมั่นคง ปลอดภัย ในการใช้งานต่อไป

นายสุวิชัย จงหวัง วิศวกรโยธา 7 วช.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3943เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2005 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท