สทบ.กับแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ 2


มาตรฐานกองทุนฯ 3 มาตรฐาน

เริ่มจากการกลับไปดูขาลงสิ่งที่เป็นปัญหาพื้นฐานของกองทุนของปัจจัยภายในในการบริหารจัดการก็ดี แม้ว่าตัวเลขของบางตัวเลขสอดคล้องกันเงินค้างชำระมีแนวโน้มสูงขึ้นตัวเลข สทบ.อยู่ประมาณ 7-9 เปอร์เซ็นต์แต่ของ สตง.17% เอาละเราไม่ว่ากันมันชี้ทิศทางเดียวกัน แต่ตัวเลขอาจจะต่างกันเพราะฐานของการประเมินไม่เหมือนกัน เช่น สตง.มองดูเงินค้างชำระหมายถึงเงินค้างชำระที่ผิดสัญญา 3 เดือนเป็นต้นไป อาจจะมีตัวเลขที่สูงกว่าในฐานของกองทุน เพราะกองทุนส่วนใหญ่แล้วเงินจะไปใช้ในภาคเกษตรเพราะในภาคเกษตรเราก็ถามนิยามของเงินค้างชำระว่านิยามคืออะไร เห็นเขาบอกว่า 6 เดือน หรือบางที่ 1 ปี สิ่งเหล่านี้นำไปสู่กระบวนการที่ผูกโยงในเรื่องของพระราชบัญญัติ เราเริ่มด้วยการคิดอย่างนี้ว่า 4 ปีแรกเป็นเรื่องของการเรียนรู้การเรียนรู้ไม่ควรออกเป็นกฎหมายออกมาเพราะจะทำให้การเรียนรู้ไม่มีความยืดหยุ่นจะออกมาเป็นระเบียบสำนักนายก เราก็เรียนรู้กันไปลองผิดลองถูกไปแล้วก็มาปรับแก้ เมื่อเราพบว่าถึงเวลาแล้วที่จะพัฒนากองทุนไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ก็เริ่มมาในเรื่องของพระราชบัญญัติ พัฒนาเป็นนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลผมอยากจะกราบเรียนว่าไม่ใช่กองทุนทุกกองทุนจะมาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้นะทุกคนต้องผ่านการประเมินมาตรฐาน ตอนนี้เราเอามาตรฐานแล้วเราไม่เอาปริมาณแล้ว เมื่อก่อนเราเอาเป้าหมายปริมาณไปจับ ทำ 10,000 กองทุนทำเท่านี้กองทุนเอามาตรฐานเป็นตัวจับเพราะฉะนั้นตอนนี้เรามีมาตรฐาน 3 มาตรฐานด้วยกันคือ

 

มาตรฐานของกองทุนที่มีมาตรฐานจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เน้นการออม ตัวชี้วัดคือการออมสัดส่วนบัญชี 2 เพราะฉะนั้นคนมีบัญชี 1 ไม่มีบัญชี 2 การบริหารจัดการดีก็ไม่ได้ชี้ว่า กระบวนการออมเป็นกระบวนการง่าย ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง แล้วยังมีตัวชี้วัดอื่น ๆ อีกเยอะแยะ นั่นคือเรื่องของมาตรฐาน ถามว่าวันนี้เราจะเริ่มดำเนินการ ผมเพิ่งเข้ามาได้ 1 เดือน ขณะนี้เตรียมการเสร็จเรียบร้อยแล้วก็คงมีการประกาศโดยให้มีการกระจายอำนาจไปทางนายทะเบียนผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะฉะนั้นต้องเรียนว่าไม่ใช่กองทุนทุกกองทุนที่สามารถจดทะเบียนได้แต่เราขอร้องให้ทุกกองทุนยื่นคำขอจดทะเบียน เหตุเพราะว่า สทบ.ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเรากำลังจะบอกเขาให้พึ่งตนเอง แต่ สทบ.ไปบอกเขาเราเองไม่มีฐานข้อมูลในเรื่องของการพึ่งตนเองเลยเราต้องไปอาศัยฐานข้อมูลของออมสิน ฐานข้อมูลของ ธกส.เราก็เริ่มในการที่จะใช้กลไกลในการจดทะเบียน สร้างเรื่องของฐานข้อมูลและติดตั้งแล้วเราจะมองภาพชัดเจน เพราะ ฉนั้นในเบื้องต้นก็ต้องดำเนินการให้ยื่นจดทะเบียนจะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานมาถึงเรื่องของสถาบันการเงินที่มีการพูดกันเยอะที่มีบอกว่าไม่เห็นเป็นนิติบุคคลมันเป็นเรื่องของการศึกษาวันนี้เราสรุปบทเรียนแล้วหากปล่อยสถาบันการเงินนำขบวนออมสิน ธกส. กรุงไทย มันพาออกห่างปรัชญาเยอะ หนีออกไปเยอะ มันเป็นเชิงธุรกิจของเราเน้นไปเรื่องเชิงสวัสดิการ ชื่อสถาบันการเงินฟังแล้วอาจจะป็นเรื่องของธนาคารแต่ว่าไปดูนะครับว่ามันจำเป็นต้องใช้ชื่อตรงนั้นเพราะเขาให้ใช้ ผมพยายามทำความเข้าใจ ทีมีขีดความสามารถไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนำไปสู่เรื่องการออม และสวัสดิสการ ส่วนเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องของผลพลอยได้ เรื่องของการเป็นศูนย์ การให้บริการการเงินเป็นเรื่องของการพลอยได้ เรานำร่อง ออมสิน 102 ทั่วประเทศไทยที่ผ่านมา ของ ธกส.ประมาณ 100 ของกรุงไทยประมาณ 200 แล้วศึกษาพบว่าสามารถกำหนดเป็นรูปแบบได้ 4 รูปแบบ

1.  รูปแบบที่ในหมู่บ้านของตนเองก็คือพัฒนาจากกองทุนเป็นสถาบันการเงินในหมู่บ้านของตนเอง ไม่ต้องยุ่งกับใคร

2.  รูปแบบของการพัฒนาในรูปแบบกลุ่มเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมร่วมแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินตำบล ระหว่างกองทุนต่อกองทุนแต่ไม่ถึงขั้นรวมกิจการ

3.  การรวมกิจการเข้าหากัน

4.  รูปแบบในฝันของจ.ตราด มีอยู่แล้ว นอกจากรวมกองทุนกันแล้วยังบูรณาการกลุ่มองค์กรการเงินอื่น ๆ ร่วมกันอีกด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 39429เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท