สทบ.กับแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ 1


หยิบยกมาจากเวทีมหกรรมจัดการความรู้ฯ ณ สงขลา วันที่ 2 ก.ค.2549 โดย คุณสันติ อุทัยพันธ์



<p>ผมจะพูดถึงองค์กรการเงินชุมชนจะเรียกว่าพัฒนาการก็ได้นะครับ เรื่ององค์กรการเงินชุมชนหรือเรื่องของแหล่งเงินชุมชนเป็นเรื่องใหญ่ เป็นแนวคิดของหลวงก่อนหลักๆ จะเริ่มจากสหกรณ์เข้ามาตอนนั้นวิธีคิดของสหกรณ์ก็แคบทำให้คนในชนบทในหมู่บ้านที่มีอาชีพทางด้านการเกษตรได้มีแหล่งเงินทุน มีการบริหารจัดการ โดยเน้นที่การลงทุนเป็นหลักนั้นก็เป็นช่วงแรกที่เกิดขึ้นมามีพัฒนาการไปเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายก็เป็นการบริหารเงินมาที่ยังอยู่ในความรู้สึกหรือทัศนคติที่ยังไม่มีความเป็นเจ้าของ มีผลการวิจัยที่ชัดว่าในกลุ่มของสหกรณ์ สมาชิกของสหกรณ์จะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ วัตถุประสงค์ก็จะเน้นเรื่องการลงทุนยังไม่พูดถึงเรื่องของการออม พูดถึงเรื่องของการเน้นสวัสดิภาพของตนเองมากนัก ทิศทางมันจะเป็นอย่างนั้นพอมาในช่วงหลังจะเกิดแนวคิดสวัสดิการภาคประชาชนก็จะมีเรื่องของกลุ่มสัจจะก็ดี เรื่องของแนวคิดของภาคประชาชนเองเป็นหลัก ซึ่งจะเกิดขึ้นจากภาคประชาชนแท้ ๆ ก็จะเน้นในเรื่องของการออมเป็นหลักและนำการออมเข้ามาใช้ในเรื่องของการบริหารจัดการในการที่จะเป็นแหล่งเงินทุนบ้างแล้วนำไปสู่การสร้างสวัสดิการของชุมชนบ้างนั้นก็คือช่วงที่ 2 พอมาช่วงที่ 3 เรื่องของการบูรณาการระหว่างแนวคิดของสหกรณ์ ที่รวมกับกลุ่มออมทรัพย์ที่ออกมาในรูปแบบของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและมีทิศทางที่มีการบูรณาการทางความคิดมากขึ้น แล้วมาถึงยุคกองทุน กองทุนหมู่บ้านผมกราบเรียนนะครับว่าที่จริงตอนเราคิดครั้งแรกหลังจากได้รับการบ้านมาต้องยอมรับว่ามันมาจากนโยบายไม่ปฎิเสธหละ ภายใต้การมาจากนโยบายผมอยากทำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากองทุนหมู่บ้านไม่ใช่เรื่องของการบริหารเงินอย่างเดียวแต่วัตถุประสงค์ลึก ๆ ต้องการที่จะสร้างโดยการใช้เงิน 1 ล้านบาทสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดในชุมชน คน ชุมชนหมายถึงอะไร ก็หมายถึงคณะกรรมการสมาชิก รวมทั้งคนที่ไม่เป็นสมาชิกอยู่ในชุมชนนั้นด้วยเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการ การพึ่งพาตนเองอย่างไรก็ตามเรื่องของความรู้สึกของคนในชุมชนแม้เราจะกำหนดในปรัชญาเรื่องของการสร้างความรู้สึกมันก็ทำได้อยาก แต่เราก็บอกว่าไม่เป็นไรในช่วงระยะหลัง ๆ เราเน้นเรื่องการออมเพื่อที่จะให้สัดส่วนของเงินหลวง เงินของประชาชนอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในหลายพื้นที่โดยเฉพาะที่ สกว.ไปศึกษาในภาคอีสานเริ่มมีความรู้สึกเป็นเจ้าของอยู่บ้างแต่อย่างไรก็ตามแต่ถ้าเทียบกับความรู้สึกของการเป็นสัจจะก็ดีคงจะต้องต่างกันในการเป็นเจ้าของ เรื่องของการเรียนรู้ ผมเน้นว่าเรื่องของการเรียนรู้ในการบริหารจัดการมันก็มีอยู่ช่วงหนึ่งในเชิงนโยบายผมก็ถามว่าจะเอาอย่างไรในการเรียนรู้นโยบายกำหนดว่าหมู่บ้านละ 1 ล้าน ระหว่าง 2 ประเด็นต้องตัดสินใจในเชิงนโยบายว่าจะเอาเรื่องของโอกาสหรือสิทธิ หรือจะเอาโอกาสและสิทธิปนกัน คำว่าโอกาสให้โอกาสสำหรับชุมชนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาบ้างแล้วดำเนินการเพราะฉนั้นก็มีตัวเลขไม่กี่ชุมชน หรือสิทธิของชุมชนทุกชุมชนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเรียนรู้ทางรัฐบาลตอบว่าขอเป็นในส่วนที่ 2 คือเรื่องสิทธิเพราะฉนั้นจุดเริ่มต้นก็รู้แล้วว่าถ้าเอาสิทธิของชุมชนเป็นตัวตั้งผลที่ออกมาย่อมมีความแตกต่างกันแน่ เพราะการเรียนรู้ ทักษะของชุมชนแต่ละชุมชนไม่เท่ากัน บางชุมชนผ่านโอกาส ผ่านทักษะเรื่องการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลุ่มสัจจะก็ดี กลุ่มออมทรัพย์ก็ดี ผ่านกระบวนการสหกรณ์ก็ดีเพราะฉนั้นเราเริ่มรู้แล้ว เรื่องของความแตกต่างผลลัพท์ของการเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นแน่นอนนี่คือสิ่งที่ผมอยากจะเรียนอย่างไรก็ตามเมื่อมีความจำเป็นอย่างนั้นเราก็มีการขับเคลื่อนไป พยายามจะเน้นปรัชญา 4-5 ข้อ ก็ดูหลายข้อเรื่องของการกำหนดอนาคตของตัวเอง คิดเอง วิเคราะห์เอง เรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย ให้มีการใช้ประชาธิปไตยในเรื่องของการที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่างกัน เป็นการสร้างการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเองนั่นคือกรอบที่จะเรียนรู้ในเรื่องของปรัชญาใกล้เคียงกับของครูชบ การดำเนินการในช่วงแรกมันก็มีความจำเป็นเร่งด่วนขบวนการเตรียมความพร้อมมีปัญหาเราก็ต้องยอมรับมันเกิดจากการเป็นนโยบายเราก็ต้องยอมรับความต่างกัน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเข้าไปช่วย หน่วยงานอื่นที่เข้าไปช่วยที่สามารถครอบคลุม 7-8 หมื่นชุมชนได้ สทบ.มีกลไกในสำนักงาน 4 คนเพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของบุคคลากร มีเงินทุนเยอะ หลังจากดำเนินการไประยะที่หนึ่งเราต้องมีการประเมินก็มีหลายสถาบันที่ช่วย สกว.ทำการประเมินให้เรา ประชารัฐก็มีการประเมินให้เรา รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่มีการวิจัยสรุปผลการศึกษาวิจัยในช่วง 2-3 ปีแรกก็ออกมาในทิศทางใกล้เคียงกันคือว่า 1)ดำเนินการด้วยความเร่งรัดทำให้ความพร้อมของชุมชนไม่พร้อม 2)มีระเบียบบางอย่างที่ค่อนข้างจะไม่ยืดหยุ่นโดยเฉพาะในเรื่องของวงเงิน 20,000 กับเรื่องของระยะเวลา จริงๆแล้วตอนนั้นเราก็มีวัตถุประสงค์ลึก ๆแฝงอยู่ก็คือว่าเมื่ออยู่ในกระบวนการเรียนรู้ การที่จะวางกรอบให้วงใหญ่มากมีความเสี่ยงก็ยังยืนยันหลักการเดิมเอาไว้ มาถึงช่วงหนึ่งเราคิดว่าจะประเมินแล้วหละเพราะครบ 2 ปีแล้วมองไม่ออกว่าจะให้ใครประเมินวันที่กลไกของรัฐเป็นผู้ประเมินตอนนั้นเครือข่ายยังไม่เกิดนะก็ให้กลไกของรัฐจะเอาใคร เอา 2 แห่งได้ไหมเอาของกรมพัฒนาชุมชนกับเอาของสถาบันราชภัฏ 2 แห่งแล้วเอามาชั่งน้ำหนักกันซึ่งก็ผลออกมาแน่นอนกระบวนการอย่างนี้ถูกต้องแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์คงตอบไม่ได้เพราะวิธีการเก็บข้อมูล ความเที่ยงตรงในการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกันคนไปเก็บข้อมูลก็มีปัญหาอยู่อย่างน้อยก็ได้ภาพในการที่จะสร้างแรงจูงใจหรือรางวัลสำหรับกองทุนที่พยายามที่จะเรียนรู้บริหารจัดการที่ดีเพื่อที่จะเป็นต้นแบบในการที่จะตอบออกไปก็ป็นช่วงหนึ่งมีการวิพากวิจารณ์เยอะ บางกองทุนไม่สมควรบ้างด้วยเหตุผลเยอะพอสมควรด้วยกลไกอะไรก็ตามกลไกของภาคประชาชนก็ยังไม่เกิดจนกระทั่งเข้าไปในปีที่ 3 ปีที่ 4 ก็เกิดเครือข่ายการเกิดเครือข่ายก็รู้ว่าเรื่องที่เราทำเรื่องกองทุนหมู่บ้านเราบอกว่าเป็นเรื่องของการเรียนรู้ไม่ใช่การเรียนรู้ของชุมชนนะครับ เป็นการเรียนรู้ของภาครัฐที่จะเรียนรู้ร่วมกับชุมชนด้วย เพราะบางทีเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องบางอย่างจะมีทิศทางอย่างไรกระบวนการเป็นอย่างไรเพราะฉะนั้น สทบ.ก็เรียนรู้ไปความคิดเรื่องเครือข่ายไม่ได้เกิดจาก สทบ. ไม่ได้เกิดจากราชการแต่เกิดจากความคิดที่เกิดจากภาคประชาชนไปทำกันเองเครือข่ายเราก็ไปศึกษา เออมันดีนี่มีเพื่อนมีการช่วยเหลือกัน เพราะฉะนั้นเราก็เริ่มสนับสนุนเครือข่าย เริ่มจากเครือข่ายตำบลก่อนก็ปล่อยไปตามกลไกไม่มีระเบียบไม่มีกฎเกณฑ์อะไรต่างๆ ไม่ได้พูดถึงโครงสร้างที่มาของเครือข่ายว่าจะเป็นอย่างไรตอนนั้นเราก็รู้ว่าที่มาเครือข่ายโครงสร้างบางทีก็ไม่ชัดเจนบางทีก็มีการแทรกแซง บางคนไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนแต่ก็เข้ามาอยู่ในเครือข่ายของกองทุนไม่เป็นไรบางคนก็มาจากส่วนที่สามารถที่จะใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมืออะไรบางอย่างก็ไม่เป็นไรก็ว่าไปตามกระบวนการ หลังจากนั้นก็เริ่มมีการกำหนดนโยบายเรื่องเครือข่ายออกมา ขณะที่เรากำหนดนโยบายเครือข่ายตำบลภาคประชาชน ภาคตำบลก็ไปอีกระดับหนึ่งแล้ว คือ ไปตั้งเครือข่ายระดับอำเภอโดยที่ สทบ.ยังไม่รู้เรื่องเลยเพราะฉนั้นเราก็จะเดินตามภาคประชาชนภาคประชาชนก็เดินไปๆ เราก็เดินตามภาคประชาชน แต่ในระหว่างนั้นก็พบว่ามันมีปัญหาอยู่นะ มันแฝงเข้ามาก็พยายามเรียนรู้จนกระทั่งสรุปเข้ามาเป็นบทเรียนได้แล้วก็มีการกำหนดออกมาเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ โครงสร้างที่มาที่ไปที่ชัดเจนมีระดับของมัน มีบทบาทหน้าที่ มีสถานภาพถ้าสมมุติว่าเป็นกลไกที่จะเข้ามาช่วยก็มีสภาพชัดเจนตามระเบียบของคณะกรรมการนั่นคือพัฒนาการการเครือข่ายระหว่างที่เราเดินเครือข่ายตำบล เกิดเครือข่ายอำเภอ เกิดเครือข่ายจังหวัด มีการศึกษาตามเครือข่ายโดย สตง.ศึกษาบทบาทของเครือข่ายตำบล จังหวัด ไม่มีผลกระทบสู่ความสำเร็จของกองทุนเลยซึ่งตรงนั้นก็อยากจะกราบเรียนว่าช่วงเวลาที่เข้าไปประเมินเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งก่อเกิดอำเภอ จังหวัด แต่บทบาทของตำบลเริ่มเห็นเป็นภาพแล้วหละ แต่เขาไม่ได้จับในเรื่องของเครือข่ายระดับตำบลเป็นที่น่าเสียดาย ยังไงก็ตามเรื่องของเครือข่ายยังมีปัญหาค่อนข้างจะมากในแง่ของโครงสร้างก็ดีแง่ของทัศนคติของคนที่มาเป็นเครือข่ายก็ดีในแง่ของบทบาทของเครือข่ายก็ดี ผมเองก็ต้องอาศัยการวิจัยกำหนดในเรื่องของการพัฒนาเครือข่าย เดือนหน้าเราจะกำหนดในเรื่องของตัวแทนเครือข่ายมีการประชุมชี้แจงเครือข่ายทั่วประเทศไทยที่จะระดมสมองว่าจริงๆแล้วที่ผ่านมามันเป็นอย่างไร การทีบทบาทโครงสร้างต่าง ๆ เป็นอย่างไรเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์มากที่สุดของกองทุนที่เกิดขึ้นซึ่งมีแนวโน้มขาลง ต้องบอกว่ามีแนวโน้มขาลงแล้วหละ ตัวเลขที่ออกมาค่อนข้างจะสอดคล้องกัน ตัวเลขที่ออกมาภาคใต้ขาลงมากที่สุด แล้วจังหวัดที่ขาลงมากที่สุดคือจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีสานยังคงรักษาสถานภาพอยู่ คนจนนี่จะดูแลรักษากองทุนมากกว่าคนที่มีตังค์ ทางใต้นี้มีกะตังค์นะ แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ แทรกซ้อนอยู่มีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาแทรกซ้อนทำให้ทางใต้ค่อนข้างจะมีปัญหา เอาหละถามว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มาจากกองทุนเราก็พบว่าการเรียนรู้ของกองทุนนี้ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้เพื่อบริหารเงินสำหรับกู้ยืม แนวคิดวิธีคิดของคณะกรรมการก็ดี สมาชิกก็ดี แนวคิดเรื่องการออมน้อยมากดูจากไหนดูจากสัดส่วนของบัญชี 2 และบัญชี 1 บัญชี 2 คือ เงินออมของภาคประชาชน บัญชี 1 คือเงินล้าน น้อยมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา เงินออมภาคประชาชนมีประมาณ 20,000 กว่าล้านเมื่อเทียบกับเงินล้าน หากดูตัวเลขมันก็มากอยู่นะ แต่หากดูระยะเวลาที่เกิดขึ้น 4 ปี หากมีผลใกล้เคียงกันความรู้สึกการเป็นเจ้าของมันจะมากขึ้นนั้นเรื่องการออมในช่วงหลังเรามีทิศทางลดลง มีการออมลดลงอาจเป็นเพราะภาวะอะไรก็แล้วแต่ อาจจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจก็ดี กองทุนเท่าที่ศึกษาก็จะมีระบบการออมอยู่ 3 ระบบ ระบบที่ 1 คือการออมในลักษณะของสัจจะ นี่ก็เรียนรู้รูปแบบอยู่ ระบบ 2 เป็นภูมิปัญญาของชาวกองทุนในลักษณะของการถือหุ้นรายเดือน การออมอันที่ 3 คือการออมในลักษณะของการฝาก เราดูเรื่องของสัจจะก็มีแนวโน้มน้อยลง การถือหุ้นก็น้อยลงแต่จะมีการออมในลักษณะของการฝากมากขึ้น อันนี้เราก็มานั่งคิดดูว่าเริ่มมีความเสี่ยงแล้วนะ กองทุนเริ่มบริหารด้วยอัตราความเสี่ยงอีกแล้วเพราะเงินฝากเริ่มบริหารด้วยการมีอัตราดอกเบี้ย หุ้นรายเดือนพูดถึงการที่เราเอามาแชร์กัน ลงทุนร่วมกันในเรื่องของการบริหารจัดการ ก็เป็นประเด็นที่เรากำลังนำไปสู่การดู สิ่งที่เราจะดูก็คือกระบวนการที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนในหมู่บ้านในระยะต่อไป</p>

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 39425เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อันนี้ก็น่าสนใจมากหนูkm อย่าลืมปริ้นให้ด้วยนะ หรือว่าถ้าสรุปการสั

มมนาเสร็จแล้วพี่ขอ 1 ชุด ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ  พร่งนี้ พี่ อ.จำนง ท่านผู้ว่าจะไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน มหกรรม km ราชการไทย ก้าวไกลสู่ lo ที่โรงแรมมิลาเกิล กรุงเทพในฐานะตัวแทนคุณอำนวยในพื้นที่ เพื่อบอกเล่าความสำเร็จความภูมิใจจากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่หลังจากการใช้km เป็นเครืองมือในการทำงาน   พี่เขียนเล่าในส่วนเนื้อหาการเตรียมการไว้แล้วแต่พอจะบันทึกหายหมด สงสัยครูจะสอนไว้ไม่จำ แล้วกลับมาแล้วจะเล่าให้ฟังนะคะ

จะเกาะติดสถานการณ์คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท