KRUJOY (ครูจ่อย)
นาย ทรงศักดิ์ เสือ ภูเก้าแก้ว

ภาษากับการปลูกฝังคุณธรรม


คุณค่าของภาษา

 

 

       ภาษากับการปลูกฝังคุณธรรม

 

           คุณธรรมเกิดจากการปลูกฝังด้วยภาษา  โดยให้บุคคลได้มีโอกาส ได้เห็นได้ยิน  เราจึงเห็นได้ว่า เครื่องมือในการสืบทอดคุณธรรมนั้น จะอยู่ในรูปภาษิตต่างๆซึ่งมีมากมากมาย   ทั้งในวรรณคดีและในชีวิตประจำวัน เรื่องเล่า หรือตำนาน รวมทั้งอยู่ในวรรณคดีต่างๆด้วย   ในการฟังหรืออ่าน  เราจะต้องใช้ความคิดพิจารณาว่าควรเชื่อได้เพียงใด

      ภาษิต    ภาษิตมิใช่สัจวาจา ของพระศาสดาเสมอไป  แต่เป็นคำที่ผู้ฉลาดผูกขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์เฉพาะกาล เฉพาะโอกาส

      นิทาน   ชนชาติทั้งหลายใช้นิทานเป็นเครื่องมือช่วยปลูกฝังคุณธรรม  คนไทยเราก็เช่นเดียวกัน  การฟังนิทาน เราต้องใคร่ครวญเช่นเดียวกันกับการฟังเรื่องอื่นๆ

       ตำนาน  ตำนานมักจะสอนให้รู้เรื่องบุคคลสำคัญ  และให้แลเห็นคุณธรรมของบุคคลนั้นๆ  ตำนานนี้นักประวัติศาสตร์ได้พยายามติดตามค้นคว้าว่าจะมีเนื้อความจริงสักเท่าใดเมื่อได้พบซากกำแพงเมืองสวรรคโลก จึงเป็นหลักฐานยืนยันที่ทำให้คนไทยรู้สึกภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ของชาติ

        ตำนานท้องถิ่นทำให้เรารักท้องถิ่นของตนเองเช่นเดียวกันกับนิทาน  เมื่อเราฟังตำนานเราต้องใคร่ครวญ รอให้มีการวิจัยว่าเราเชื่อได้เพียงใด ตรงไหนตำนานคราดเคลื่อนไป  ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของเรื่องโบราณของทุกชาติ บางกรณีกล่าวถึงความโหดร้ายทารุณ เราก็ยอมรับความจริงที่ว่า มนุษย์ค่อยๆเจริญพัฒนาขึ้นทุกๆด้านทุกทางรวมทั้งคุณธรรมด้วย หน้าที่ของเราก็คือ  จะต้องพยายามธำรงคุณธรรมที่มีอยู่ไม่ให้เสื่อม และพยายามให้เกิดคุณธรรมที่กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นเสมอไป

    วรรณดดี    วรรณดคีมีอทธิพลต่อคุณธรรมของชนชาติที่เป็นเจ้าของมาก เสภาเรื่อง” ขุนช้างขุนแผน” มีผู้อ้างถึงว่าเป็นกระจกส่องชีวิตคนไทยและให้เห็นตัวละครที่มีคุณธรรมควรยกย่อง และตัวละครที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง   การศึกษาวรรณคดีก็คือการเรียนชีวิตส่วนลึกของมนุษย์ซึ่งจากสาระสำคัญ ซึ่งในการอ่านวรรณคดีเราควรอ่านด้วยวิจารณญาณเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆแม้วรรณคดีทางศาสนา เช่น มหาเวสสันดรชาดก  ก็มิได้มุ่งให้ผู้อ่านเชื่อทุกถ้อยคำที่ใช้ 

        สรุปแล้ว ไม่ว่าจะอ่านหรือฟังสิ่งใดเรื่องใด จะเว้นเสียมิได้ซึ่งการไตร่ตรองพิจารณาให้ถี่ถ้วนตามสมควรแก่ผู้ใช้ปัญญา

         อย่างไรก็ดี  เราต้องทราบด้วยว่า ชนชาติต่างๆ ฉลาดพอที่จะไม่อาศัยวัจนภาษาอย่างเดียว  ในการปลูกฝังคุณธรรมหรือสืบทอดคุณธรรมของบรรพบุรุษ  ...

หมายเลขบันทึก: 393623เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

อยากฟังนิทานก้อมแกล้มลาบสักมื้อนิ...

อยากฟังนิทานพื้นบ้านของอีสาน...ครูจ่อยเล่าให้ฟังบ้างดิ...นะ...นะ...

ครูจ่อยครับ มาชวนไปเยี่ยม เฌวา ครับ

  • กินลาบไป ฟังนิทานก้อมไป เข้ากันปานเลข สี่ สี่ เลยครับท่านหนาน
  • คืนนี้ครูจ่อยมีงาน คงนอนดึกหน่อย
  • ขอบคุณครับคุณ KRUDALA
  • ลองแวะไปอ่านตัวอย่างนิทานพื้นบ้าน(นิทานก้อม)ในบล็อก"ครูจ่อยชวนขำ" นะครับ
  • แวะไปเยี่ยมน้อง เฌวา มาแล้วเด้อ
  • คืนนี้นอนหลับฝันดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท