4 แนวทาง ปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษ 2


ศธ. เผย 4 แนวทางปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษ 2

 

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าการกำหนดเป้าหมายและตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่2 ว่า คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ได้กำหนดเป้าหมายและตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 4 เป้าหมาย 20 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย ได้แก่ ผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50, ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (ผลทดสอบ PISA), ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี, ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี, สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษาต่อสามัญศึกษาเป็น 60 : 40, ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีคุณภาพระดับสากลและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย (อายุ 15-59 ปี) เพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี

 

เป้าหมายที่ 2 คนไทยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง, อัตราการรู้หนังสือของประชากร (อายุ 15-60 ปี) เป็นร้อยละ 100, ผู้เข้ารับบริการในแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อยร้อยละ 10, คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานโดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาที และสัดส่วนผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ 10 ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ 50

 

เป้าหมายที่ 3 คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นพลเมือง, คดีเด็กและเยาวชนลดลงร้อยละ 10 ต่อปี, เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ 10 ต่อปี, เด็กบำบัดยาเสพติดลดลงร้อยละ 10 ต่อปี และสัดส่วนคนไทยที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประ โยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมอย่างสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี

 

เป้าหมายที่ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์, ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษามีสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้ และมีงานทำภายใน 1 ปี รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น และกำลังแรงงานที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 และมีสมรรถนะทางวิชาชีพตามมาตรฐาน

อ้างอิงจาก http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=110&post_id=101257&title=4-%E1%B9%C7%B7%D2%A7-%BB%AF%D4%C3%D9%BB%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2-%B7%C8%C7%C3%C3%C9-2-

หมายเลขบันทึก: 393216เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 *** ภาวนาให้บรรลุเป้าหมายสัก 50 % ของทุกข้อ.....พยายามช่วยสุดกำลังแล้วนะคะเฮ้อออออ ! *** 
                          
                                                            
                    

สวัสดีค่ะ รองประเสริฐ

ยังจำกันได้รึเปล่า สบายดีใช่ไหม

สามตัวที่เห็นในภาพสวยจัง

แต่อยากเห็นภาพหลานสาวมากกว่า

4 แนวทาง ปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษ 2 หวังสูงเกินไปรึเปล่า แค่อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นครบ 100% ให้ได้ก่อนดีไหม

สวัสดีครับ

Ico32
K.Pually  และ
Ico32
จันทร์ส่องแสง
ขอบคุณมากครับที่มาร่วมแสดงความคิดร่วมกันครับ
และมาทักทาย จากการนำมาเสนอไว้จะสำเร็จหรือไม่
คงไม่ใช่เฉพาะการดำเนินการจัดการที่โรงเรียนเท่านั้น
ต้องอาศัยความร่วมมือคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย
พี่ ป้า น้า อา ฯลฯ ทุกภาคส่วนร่วมกันจึงจำสำเร็จครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาขอบคุณอาจารย์ที่ไปคอมเม้นท์งานให้กัน บุษราจะพึงระลึกไว้เสมอกับคำที่อาจารย์ได้ชี้แนะแนวทางดี ๆ ให้ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

                        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท