ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“ตลาดชุมชนกับการสร้างนักการขายรุ่นเยาว์”


ตลาดสีเขียว
“ตลาดชุมชนกับการสร้างนักการขายรุ่นเยาว์” เมื่อวันก่อนซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2549 ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปกับ รศ.ดร.ณรงรงค์ และรศ.ดร.นันทิยา หุตานุวัตร ในการเยี่ยมชมกิจกรรมการตลาดสีเขียว (ตลาดเกษตรอินทรีย์ซึ่งเน้นของอยู่ของกินที่ผลิตโดยชุมชนเป็นหลัก) ของกลุ่มเกษตรกรตำบลโนนสำราญอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มต้นและสนับสนุนโดยโครงการวิจัย ส.ป.ก. - ม.อุบลฯ-1 มีรศ.ดร.ณรงรงค์ หุตานุวัตร เป็นหัวหน้าโครงการ กิจกรรมดังกล่าวได้เปิดดำเนินการมาแล้วประมาณ 3 เดือน ซึ่งมีเกษตรกรสนใจในการผลิต และนำสินค้ามาจำหน่ายประมาณ 30 คน มีเงินหมุนเวียนประมาณวันละ 3,000 – 5,000 บาท แต่เป็นตลาดที่เปิดเฉพาะวันเสาร์เท่านั้น “เหนือความคาดหมาย” เป็นสิ่งที่น่าทึ่งและภาคภูมิใจในการดำเนินกิจกรรมเพราะภาพที่เห็นเป็นเด็กที่มีอายุราว 8-10 ขวบเห็นจะได้ที่มาร่วมขายพืชผักช่วยแม่ ประมาณ 5 คน จากการสอบถามบางคนพบว่าเป็นคนปลูก และเก็บผักตำลึงตามรั้วบ้านมาขายเอง รายได้ดังกล่าวแยกเก็บต่างหากกับพ่อ-แม่ บางคนตอบว่าจะเก็บไว้เป็นค่าขนม และซื้ออุปกรณ์การเรียน นั่นแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการตลาดสามารถเกิดได้ทุกท้องที่ทุกชุมชน เพียงแต่ว่าเรายังไม่เห็นช่องทางในการดำเนินการดังกล่าว ดังนั้นทุกองค์กรและชุมชนควรหันกลับมามองดูศักยภาพการผลิตและช่องทางการตลาด ที่จะสามารถทำได้ในชุมชนของตนเองและพัฒนาต่อไปให้เชื่อมโยงกับตลาดภายนอก ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาในชุมชนของตนเองอย่างแท้จริง “ตลาดชุมชนสร้างนักการขายรุ่นเยาว์ได้อย่างไร” จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเกษตรกรรมไทย เกษตรกรมักจะตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าคนกลางเสมอในสายตาของคนทั่วไปก็มักจะมองว่าเกษตรกรนั้นค้าขายไม่เป็น และจากปรากฏการที่เกิดขึ้นในตลาดสีเขียวของกลุ่มเกษตรกรตำบลโนนสำราญ ผมได้มองผ่านเล็นสายตาอันน้อยๆ ของผมนั้นก็พบว่าเป็นเรื่องที่น่าปิติยินดีที่เด็กรุ่นใหม่จะได้มีโอกาสเห็นรูปแบบการค้าการขายตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเมื่อโตขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นพ่อค้า แม่ค้าที่สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจภายนอกได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นต่อไป ขอบคุณครับ สวัสดี อุทัย อันพิมพ์
หมายเลขบันทึก: 39306เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมมาก ๆ ครับ

อย่างไรต้องสร้าง "นักเห็ดรุ่นเยาว์" บ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท