KM ที่รัก ตอนที่ 19 "ทฤษฏีพึ่งพา บทเรียนจากละตินอเมริกา


บทเรียนราคาแพง
         การเกิดแนวคิด  และทฤษฏีทันสมัยนิยม  ทำให้เกิดภาพของการก้าวย่าง  การเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนของกลุ่มประเทศในโลกอยู่  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มกระทำ  และกลุ่มที่ถูกกระทำ  กลุ่ม  กระทำคือ  กลุ่มประเทศแม่  ประเทศศูนย์กลางที่มีอำนาจมีอิทธิผลมาก  เช่น  สหรัฐอเมริกา  ฝรั่งเศส   อังกฤษ  ฯลฯ  อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มประเทศผู้ถูกกระทำ  คือกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาหรือที่เรียกประเทศกลุ่มบริวาร  โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา  ซึ่งการปรับเปลี่ยนไม่สอดคล้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติที่แต่ละประเทศมีอยู่  ระหว่างละตินอเมติกา  และแองโกลอเมริกา  ซึ่งพอจะเปรียบเทียบได้คือ กลุ่มละตินอเมริกา                                                               แองโกลอเมริกา-  มีทรัพยากรธรรมชาติมาก                                               -   มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย-  เป็นอาณานิคมของโปรตุเกส / สเปน                           -  เป็น อาณานิคมของ  อังกฤษ  และอเมริกา-  มีเศรษฐกิจทางการเกษตรอย่างเดียว (ตายตัว)            -  มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและ-  ถูกกดขี่  และครอบงำ                                                           หลากหลายเป็นอิสระ                 กรณีตัวอย่างของผลจากการถูกกระทำของกลุ่มประเทศแม่ต่อประเทศ บริวารมีหลายกรณี  เช่น  กรณีโครงการอุตสาหกรรมชายแดน แม็กซิโก  (ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี) กรณี  กาแฟ : บราซิล , กรณี เนื้อวัว,  กรณีกล้วยซึ่งกรณีเหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายกับความเป็นมนุษย์และถูก กดขี่มากมายเช่น1.       เป็นการเอารัดเอาเปรียบประเทศด้อยพัฒนาอย่างรุนแรง2.       เป็นการละเมินสิทธิมนุษยชน  โดยเฉพาะผู้หญิงอย่างรุนแรง  และกว้างขวาง3.       สูญเสียเอกราชทางอ้อมประเทศที่มั่งคั่งใช้ความได้เปรียบบีบบังคับประเทศยากจนทางอ้อมโดยใช้ข้อตกลงเดียวกับระบบภาษี  การใช้ โควต้า  มีการบังคับใช้มาตรการทางการเงิน  เพื่อสนองประเทศแม่  จนทำให้การบริหารจัดการเรื่องการเงิน การคลังมีปัญหา จนต้องตัดงบประมาณในส่วนทางการศึกษา  สาธารณสุข  เกิดวิกฤตการรุนแรง  เด็ก ๆ  ตายเพราะขาดสารอาหาร  มากมาย                จากสถานการเลวร้ายเหล่านี้ทำให้เกิดข้อโต้แย้งจากนักวิชาการในกลุ่มประเทศโลกที่  3  จึงเกิดทฤษฏีการพัฒนาแบบพึ่งพา ซึ่ง เป็นแนวคิดจากทัศนะของคนโลกที่  3  ในขณะเดียวกัน  ทฤษฏีทันสมัยนิยมเป็นการสะท้อนแนวคิด  การพัฒนาจากกลุ่มประเทศมั่งคั่งยุโรปตะวันตก                ที่มาของทฤษฏีพัฒนาได้มาจากมูลเหตุสำคัญ  2  เรื่องดังนี้1.       ความล้มเหลวของโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ(ECLA)ที่มุ่งทำให้เป็นอุตสาหกรรม  คิดว่าจะทำให้ภาวะด้อยพัฒนาหมดสิ้นไป2.       การปฏิวัติสังคมได้เลย  (ของชนชั้นกรรมาชีพ)  ลักษณะสำคัญของการพัฒนาแบบพึ่งพา                -อธิบายถึงความไม่เท่าเทียมกันเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว  กับประเทศด้อยพัฒนา                ประเทศที่พัฒนาแล้วมีระบบเศรษฐกิจนิยมก้าวหน้าเพราะการดึงเอา มูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจมาจาก ดินแดนในอาณานิคมของตนเอง (ประเทศด้อยพัฒนา)     สรุปทฤษฏีการพึ่งพา  มีลักษณะสำคัญ  3  ประการ1.       บริบททางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลทำให้ประเทศบริวารตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบประเทศเมืองแม่  เนื่องจาก  การแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมกันบนพื้นฐานของวัตถุที่มีมูลค่าเท่ากัน2.       สายสัมพันธ์ระหว่างช่วงชั้นผู้ปกครองในประเทศบริวารกับประเทศเมืองแม่ที่ร่วมกันในการเอาเปรียบผู้ยากไร้และสมบัติของประเทศบริวาร3.       ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันด้านการแลกเปลี่ยนสินค้า  ผ่านระบบตลาดระหว่างประเทศและการแบ่งงานกันทำในโลก  นำไปสู่การด้อยพัฒนาของประเทศบริวารAmin ให้ความเห็นว่า                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                1.   ระบบทุนนิยม (เมืองแม่)  เข้ามาทำลายระบบและรูปแบบการผลิตที่เน้นเพื่อการผลิตยังชีพเป็นหลัก  โดยทำให้เกิดลักษณะพึ่งพิงประเทศเมืองแม่             2.ประเทศเมืองแม่   สร้างความเหนือกว่าในทุกด้าน  ทำให้รายได้ของประเทศบริวารต่ำกว่ามาก           3 .เกิดสภาวะไร้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจใน ประเทศบริวารทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสะสมทุน           4. การส่งคืนกำไรสู่ประเทศเมืองแม่  ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาของประเทศบริวาร           5. ประเทศด้อยพัฒนา   ลำลังอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนา เพราะมีโครงสร้าง ดังนี้                               5.1 ความไม่เสมอภาคในการกระจายของการพัฒนา                               5.2 ถูกบังคับให้ปรับการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของประเทศศูนย์กลาง                                5.3 ถูกครอบงำทางเศรษฐกิจในรูปของการพึ่งพึ่งทุนการค้าระหว่างประเทศ                                5.4 ถ้าจะพัฒนาตนเองต้องท้าทายการผูกขา/ ครอบงำของประเทศศูนย์กลางระบบทุนนิยม                 บทเรียนจากละตินอเมริกาเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าศึกษาสำหรับทุกท่าน เพื่อจะได้รู้ที่ไปที่มา และการเปลี่ยนแปลงของมวลมนุษย์ที่ผ่านมาและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และอยู่กับมันได้อย่างดีและมีความสุข
หมายเลขบันทึก: 39302เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วสรุปได้เยี่ยมมากครับ

แล้วพี่ศิริพงษ์คิดว่า สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาใช้กับประเทศไทยในปัจจุบันได้อย่างไรบ้างครับ

ตอบคุณปภังกร

                  ง่ายนิดเดียวครับ จับนักการเมือง(โดยเฉพาะคณะรัฐมลตรีทั้งหมด) มาลงทะเบียนเรียนวิชา พุทธเศรษฐศาสตร์ กับ อ.อภิชัย  พันธเสน  โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนในฐานะที่เป็นคนไทย เป็นค่าลงทะเบียนเรียน ..กรณีสอบไม่ผ่าน สถานความเป็นคนไทย ก็เป็นอันว่าสิ้นสุด...จบครับ 

กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่พอดีเลย ต้องขอบคุณนะคะที่นำความมาสรุป

 ทำให้เข้าในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น @^_^@

ขอบคุณนะค่ะ

ที่ให้ความรู้ ต้องใช้ทำงานส่งอาจารย์ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท