อบรมคุณอำนวยแบบ ATM


          พัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยจากห้องเรียนจริงของคุณอำนวย 

  • การพัฒนาสมรรถนะในการทำงานของคุณอำนวยมีบทเรียนกันมาแล้วมากมาย
  • หากจะได้ศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยก็จะพบว่า มีตั้งแต่วิธีการแบบโบราณ คือวิธีอบรมคุณอำนวยในหลักสูตรต่างๆเสียก่อน จึงจะออกไปส่งเสริมการเรียนรู้คุณกิจได้ เรียกว่าอบรมกันแบบชั้นเรียน Inclass training กันก่อน ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างจะได้รับการวิพากย์วิจารณ์ในระยะต่อมาว่า พัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยไม่ค่อยได้ผลจริงจัง ลงทุนก็สูง สู้ให้คุณอำนวยเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาสมรรถนะจากสถานการณ์จริงณ์ไม่ได้ อย่างหลังนี้ได้รับการยืนยันในระยะต่อมาว่าได้ผลมากขึ้นเรื่อยๆ  แต่ถ้าจะพัฒนาควบคู่ไปทั้งสองวิธีก็น่าจะดี แต่ในสถานการณ์ที่จะต้องเร่งรัดทำงาน อย่างหลังน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า
  • เหตุที่ผมหยิบยกเรื่องนี่ขึ้นมาพูดก็สืบเนื่องมาจากคำถามของคณะที่มาศึกษาดูงานจากจังหวัดหนองบัวลำภูและสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร ที่มาดูงานจัดการความรู้ที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549  เช่น ถามว่า คุณอำนวยได้รับการพัฒนาทักษะนำกระบวนการอย่างไร ถอดบทเรียนอย่างไร จับประเด็น  Mind map ลิขิต หรือการบันทึก ฯลฯ อย่างไร อบรมมาหรือเปล่า หลังจากที่ได้เห็นทีมคุณอำนวยตำบล ที่ประกอบด้วยเกษตรตำบล นักวิชาการเกษตรของ อบต. พัฒนากร และครูอาสาฯ ต่างประสานทำหน้าที่กันอย่างดี ณ ห้องเรียนรู้แก้จน หมู่ที่ 1 ตำบลบางจาก
  • ผมจึงตอบคณะผู้ถามไปว่าคุณอำนวยดังกล่าวทำหน้าที่ของคุณอำนวยไปโดยที่โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครยังไม่มีได้อบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะใดๆให้เลย  ทุกคนใช้ทุนประสบการณ์เดิม ต่างนำประสบการณ์เดิมมาแชร์กันกัน และเรียนรู้จากสถานการณ์พร้อมๆกัน ปรึกษาหารือกัน ไม่รู้ว่าจะเรียกวิธีการอย่างนี้ว่าอะไร  ที่เคยได้ยินได้ฟังมา ถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะเรียกกันว่า on the job training ตอนที่ กศน.อำเภอเมืองนครศรีฯทำการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้อาชีพ เราก็ใช้สถานการณ์จริงแบบนี้ฝึกทักษะ สมรรถนะคุณอำนวย และตอนที่ทำการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนร่วมกัน 9 องค์กร ใน 3 ตำบล ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เราก็ใช้วิธีการพัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยอย่างเดียวกัน หลังจากที่เราได้ให้คุณอำนวยแต่ละคนตั้งหมายการพัฒนาตนเองแล้ว ไม่มีการอบรมอย่างที่เรียกว่าอบรมก่อนประจำการแต่อย่างใด
  • ในขณะที่ผมอธิบายความอย่างนี้อยู่ ผอ.สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร ท่าน ผอ.สุประณีต ยศกลาง ท่านบอกว่าที่เราทำๆกันอยู่เขาเรียกว่า การอบรมแบบ ATM ย่อมาจาก Action Based Training Model  สถาบันฯของท่านซึ่งมีพันธกิจในการพัฒนาบุคลากร กศน.ก็ให้ความสำคัญกับวิธีการอบรมบุคลากรแบบนี้แทนแบบเก่าแล้ว
  • ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเชื่อและสิ่งที่ผมทำอยู่นี้ยิ่งได้รับการยืนยันมากขึ้นว่าทำถูกทิศทางแล้ว ฉะนั้นโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ที่ออกแบบพัฒนาคุณอำนวยด้วยการอบรมคุณอำนวยแบบจัดอบรมเป็นชุดหลักสูตรสำเร็จรูป Package คงจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นการสัมมนาคุณอำนวยแทนหลังจากคุณอำนวยแต่ละพื้นที่ได้พบกับของจริงในพื้นที่ตำบลแล้ว ให้คุณอำนวยตำบลตรวจสอบว่าตนเองพัฒนาสมรรถนะหรือพัฒนาทักษะของหน้าที่คุณอำนวยได้ใกล้เคียงหรือยังห่างไกลเป้าหมายของตนเพียงใด ไหนๆเวลาที่จะต้องอบรมคุณอำนวยตามที่กำหนดไว้ในโครงการมันได้ล่วงเลยมาไกลถึงตอนนี้แล้ว ทีมคุณอำนวยตำบลได้ดำเนินการจัดเวทีชุมชนระดับหมู่บ้านไปได้ 2-3 เวที/ครั้ง แล้ว ควรที่จะให้เขาได้มาสัมมนากันแทนการอบรม น่าจะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสเสีย
  • ต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนโครงการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ให้มากที่สุด มิใช่หรือ

 

  • 17 ก.ค.49
หมายเลขบันทึก: 39298เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เรียนรู้จากการปฏิบัติครับ (ขอแจมด้วยคน)
  • ผมก็มักจะใช้คำว่า On the job training เช่นเดียวกันครับ หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า "ทำไปแก้ไปครับ"

ตอนนี้ช่องทางสื่อสารเรื่องแก้จนเมืองนคร ผมติดตามอ่านจากอาจารย์ จากอาจารย์สำราญและคุณชาญวิทย์ คนอื่นๆเงียบไปเลย ผมจึงไม่รู้ว่า วงเรียนรู้อื่นๆเป็นอย่างไรบ้างแล้ว ที่จริงควรหมุนวงเรียนรู้อย่างเชื่อมโยงกันตามที่เราออกแบบกันไว้ แต่ไม่ทราบว่าทีมประสานติดขัดอย่างไร เห็นเงียบไปครับ

ดีนะคะที่ อ.จำนง อ.สำราญ และคุณชาญวิทย์ เขียนบันทึกให้ได้อ่านติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง มิเช่นนั้นแล้วทีมกลางอย่างเรา คงขาดความต่อเนื่องในเนื้องานแน่ ๆ คะ

   ต้องขอบคุณ อ จำนง ที่ขยันบันทึกเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงในพื้นที่ ความจริงตัวเองตั้งใจว่าจะบันทึกเรื่องเล่าให้มากขึ้นแต่ติดขัดอยูที่ไม่ค่อยได้อยู่สำนักงาน ที่บ้านยังไม่ได้ติดตั้ง it  แต่เราแลกเปลี่ยนกันโดยตรงอยู่บ่อย นะอาจารย์นะ

   บอกเล่าความก้าวหน้าในการทำหน้าที่ในบทบาทคุณอำนวยตำบล ในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร

เข้ามาทักทายค่ะ หลังจากแอบอ่านอยู่นานมากแล้ว" เรียกว่าอบรมกันแบบชั้นเรียน Inclass training กันก่อน ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างจะได้รับการวิพากย์วิจารณ์ในระยะต่อมาว่า พัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยไม่ค่อยได้ผลจริงจัง ลงทุนก็สูง สู้ให้คุณอำนวยเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาสมรรถนะจากสถานการณ์จริงไม่ได้ อย่างหลังนี้ได้รับการยืนยันในระยะต่อมาว่าได้ผลมากขึ้นเรื่อยๆ  แต่ถ้าจะพัฒนาควบคู่ไปทั้งสองวิธีก็น่าจะดี"  เห็นด้วยกับทิ่ครูนงกล่าวค่ะ ปลายสัปดาห์ที่แล้วดิฉันทำหน้าที่จัด Inclass training แบบที่ว่า ผลปรากฏว่างงกันเป็นไก่ตาแตกจากการพยายามพยายามที่จะ list สมรรถนะคุณอำนวยออกมา ดิฉันสรุปว่าไม่จำเป็น แอบใจหายหลักสูตรนี้เปลืองตังส์ฟรี หรือเปล่า วัตถุประสงค์รองถูกงัดออกมาแทนวัตถุประสงค์หลักได้อย่างทันท่วงที  ด้วยความดีของการเฝ้าสังเกตกระบวนการ มีการทำ DAR  มีตัวช่วย  2 - 3 ประการมาเพิ่มสีสรรจึงทำให้ได้ประโยชน์อื่น และกลายเป็นความภูมิใจขึ้นมา  อาทิ  workshop การใช้ gotoknow  หนังเกาหลีเรื่องเสียงกู่จากครูใหญ่สู่ผู้ร่วมโครงการเป็นการตอกย้ำอุดมการณ์การทำงาน  เทคนิค story telling  เทคนิค AAR  สู่คุณอำนวยที่จะไปทำหน้าที่ขยายวง จะเขียนสรุปเรื่องนี้อยู่ อย่าลืมตามอ่านนะคะ  
 

จะคอยติดตามอ่าน และจะ Favorites ไว้ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท