วิธีใช้กระดาษพิมพ์ผล Lab อย่างคุ้มค่าของชาวเคมีคลินิก


เราประหยัดกันจนอยู่ในสายเลือดแล้วนะคะนี่

เรื่องที่เอามาเล่าต่อในวันนี้ คิดว่าคงมีคนอื่น ที่อื่นปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว แต่ที่เอามาเล่าเพราะคิดว่าจะได้ช่วยกันขยายความคิดให้กว้างไกลต่อไปอีกค่ะ

เรื่องก็คือ ปกติจะได้เห็นวิธีการประหยัดต่างๆจากชาวเคมีคลินิกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการช่วย"หลวง"ไปโดยปริยาย เช่น เราจะใช้น้ำยากันจนแทบจะหยดสุดท้าย ด้วยการดัดแปลงเล็กๆน้อยๆอย่างที่คุณศิริเคยเอามาเล่าให้ฟังในบันทึกเรื่องราว...เล่าสู่กันฟัง ของเธอ

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเฉพาะสาขาของเรา แต่คราวนี้เป็นเรื่องของกระดาษพิมพ์ค่ะ เรามีเครื่องอัตโนมัติที่จะใช้พิมพ์ผลออกมาพร้อมๆกับการส่งผลออกไปทางเครื่องคอมฯ ซึ่งโดยปกติเขาจะพิมพ์กันหน้าเดียว แต่เราชาวเคมีคลินิก ผู้เลื่องชื่อเรื่องการประหยัด เราจะใช้ทั้งสองหน้าค่ะ โดยเก็บส่วนที่ใช้แล้วหน้าเดียวแยกจากส่วนที่ใช้แล้วทั้ง 2 ด้าน แล้วก็นำกลับมาใช้ให้หมดทั้ง 2 ด้านก่อนที่จะเก็บไปขายต่อให้เขาเอาไป recycle

ด้วยวิธีง่ายๆที่เกิดจากการคิดนิดเดียวเท่านั้น ทำให้เราลดปริมาณการใช้กระดาษได้ลงถึงครึ่งหนึ่ง ใครที่ยังใช้กระดาษเพียงด้านเดียวอยู่ ช่วยๆกันใช้ให้ครบทั้ง 2 หน้านะคะ ลดการตัดไม้ลงได้บ้าง

ถ้าสังเกตในรูปแรกให้ดีจะเห็นว่า ช่วงระยะระหว่างผลแต่ละรายนั้นห่างพอควร คุณศิริเล่าว่า เธอเคยถามทางบริษัทผู้ผลิตแล้วว่าจะสามารถปรับให้ลดลงอีกได้ไหม เพื่อประหยัดกระดาษ (เอากับเธอสิคะ...คุณนายสมุทรตัวจริง) แต่ปรากฎว่าเป็นไปไม่ได้ค่ะ ก็ถือเป็นความพยายามต่อยอดความประหยัดเพิ่มขึ้นไปอีก น่าชื่นชมไหมคะ

หมายเลขบันทึก: 39285เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
สุปราณี (แกบ) จริยะพร

       ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ คุณโอ๋ และ คุณศิริ ถูกใจคุณยายของคุณนายสมุทรตัวจริง...  และขอบคุณที่ช่วยรักษาต้นไม้ไพรพฤกษ์ รวมทั้งน้ำที่ค่อยๆ เหือดแห้ง และผู้คนที่ยากไร้

  • ห้องฮีมาโต ก็ทำอย่างนี้เช่นกันค่ะ ใช้กระดาษ A4 แล้วกลับด้านใช้อีก
  • จนกระทั่งมาดูข้อกำหนด ISO15189 ที่ว่าต้องมีการเก็บหลักฐานเพื่อการทวนสอบไว้อย่างน้อยตามเวลาที่กำหนดไว้ (เรากำหนด 1 เดือน)
  • เราจึงต้องเก็บใบ printout คู่กับใบ request ไว้จนครบเดือนหนึ่งก่อน แล้วจึงแยกนำกลับมาใช้อีกด้าน
  • ข้อระวังก็คือ เรามักไม่ขีดคร่อมด้านที่ไม่ใช้งานไว้ เผลอๆกลับด้าน อาจจะบังเอิญเจอหมายเลขเดียวกันในเดือนที่ผ่านมาพอดีได้ค่ะ
  • ห้อง sero  ก็ประหยัดเหมือนกันค่ะ   เราใช้กระดาษหน้าเดียว (หมายถึงหน้าว่างหน้าเดียว)   มา print list  ก่อนที่จะทำ  test  (ทำเป็น working sheet)   
  • กระดาษหน้าเดียวเราก็ได้จาก  print out ของเครื่อง flow cytometer  เมื่อเก็บไว้ครบปีก็จะนำออกมาใช้ต่อได้
  • เมื่อก่อนเราประสบปัญหากระดาษหน้าเดียวไม่พอใช้   แต่หลังจากที่จัดการทำ  5 ส.  ปรากฏว่าได้กระดาษมาใช้งานหลายลังเลย

ขอสนับสนุนการประหยัดทุกรูปแบบครับ ...
    ความ ฟุ่มเฟือยเกินเหตุ ของมนุษย์ได้ทำลายโลกเรามามากแล้ว ก่อผลกระทบมากมายจนเกิดอาการแปรปรวน ให้ผู้คนได้เดือดร้อนกันอย่างไม่น่าเชื่อ
    ขอฝากเรื่องประหยัดกระดาษอีกแง่มุมหนึ่งครับ ไม่ทราบว่าที่ไหนยังทำอยู่บ้าง คือ ... มีคำสั่งหลายๆหน้ากระดาษ ที่ระบุชื่อและหน้าที่ของบุคลากรนับร้อย แล้วก็แจกคำสั่งนั้นให้กับทุกๆคน บางทีใช้กระดาษไปกว่า 3000 แผ่น สาระสำคัญที่แต่ละคนจำเป็นต้องอ่านมีเพียงนิดเดียว  เคยลองคำนวณแล้วว่าถ้าเพียงแจกคำสั่งชุดสมบูรณ์ไปยังหน่วยงานย่อย และส่วนที่แจกรายบุคคล ทำเป็น Slip สัก 1/4 ของ A-4 พร้อมข้อความว่า รายละเอียดคำสั่ง ดูได้ที่ภาควิชา แค่นี้ก็จะใช้กระดาษเพียงไม่กี่ร้อยแผ่นเท่านั้น

ถ้าผลLab.ใช้งานไม่ถึงครึ่งหน้าและใช้เพื่อดูผลLab เฉยๆ การกลับทางกระดาษด้านล่างมาใช้งานได้ก็ประหยัดได้อีกเยอะนะครับ อิ อิ อิ 1+1=2 2+2=4 บังเอิญผ่านมาครับ ยิ่งกว่ามหาสมุทรอีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท