โครงการเบียร์วุ้น


โครงการเบียร์วุ้น

 

เบียร์วุ้น




การทำเบียร์วุ้น วิธีที่ 1
วิธีนี้ ต้องอาศัยว่าเบียร์ต้องอยู่ในอุณหภฺมิที่เย็นมาก แต่ยังไม่แข็ง ซึ่งอาจจะต้องแช่ช่อง Freezer นาน ถึง 3-4 ชั่วโมง


วิธีที่ 1.1 การเคาะ
การเคาะก็มีหลายแบบ
บางคนเอาเหรียญเค้าที่ก้นขวดเบาๆรัวๆ
บ้างเอามีดเคาะที่ขวดโดยตรง ป๊อกๆๆ
การเคาะจะทำให้ เกล็ดน้ำแข็งข้างในตกผลึก จนกลายเป็นเบียร์วุ้น
ที่ว่าเบียร์วุ้นๆนั้นที่จริงแล้ว มันก็คือเกล็ดน้ำแข็งที่ตกผลึกอยู่ในขวดนั่นเอง...

วิธีที่ 1.2 การกระตุ้น
ณ ขณะที่เบียร์เย็นจัด เปิดฝาขวดออก เอาหลอดขูดเอาเกร็ดหิมะที่อยู่ในช่อง Freezer แล้วใส่ลงไปในขวด
เอาหลอแทงๆเข้าๆออกๆ 2-3 ที ก็จะได้เบียร์วุ้นที่ต้องการ

สำหรับกระบวนการเกิดเบียร์วุ้นตามหลักการทางเคมีนั้น อธิบาย ได้ง่ายๆคือ
อุณหภูมิที่อยู่ภายนอกขวด กับอุณหภูมิข้างในขวดไม่เท่ากัน
(อุณหภูมิ ภายนอกขวดสูงกว่า อุณหภูมิภายในขวด)
ดังนั้นเมื่อขวดมีการกระทบกระเทือน หรือมีการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิภายในขวดอย่างฉับพลัน ก็จะทำให้ความดันภายในขวดสูงขึ้น
และเมื่อเบียร์ได้รับแรงดัน ก็จะทำให้มันกลายเป็นเบียร์วุ้นได้นั่นเอง




การทำเบียร์วุ้น วิธีที่ 2
วิธีนี้ ใช้เวลาไม่นาน เพราะมีตัวช่วยให้เบียร์เย็นเร็ว

 

อุปกรณ์การทดสอบ
1. เบียร์ 6 ขวด
2. กระติกใส่น้ำแข็งขนาดใหญ่ที่พอจะวางเบียร์ 6 ขวดได้ในแนวตั้ง (ถ้าแนวนอนจะทำให้เบียร์เป็นวุ้นช้า)
3. น้ำแข็งบด
4. เกลือเม็ด 2-3 กำมือ (เกลือเม็ดจะราคาถูกกว่าเกลือป่นที่ใช้รับประทานกันทั่วไป)
5. น้ำ

วิธีทำเบียร์วุ้น
1. เรียงขวดเบียร์ไว้ในกระติกน้ำแข็งในแนวตั้ง
2. ใส่น้ำแข็งลงไปให้ได้ครึ่งกระติก
3. ใส่เกลือตามลงไปสัก 1 กำมือ
4. ใส่น้ำแข็งเพิ่มลงไปอีกจนเต็มกระติก
5. ใส่เกลือที่เหลือลงไป
6. ใส่น้ำจนเต็มกระติก
7. ปิดฝา
8. หมุนไปหมุนมา
9. ประมาณ 10-20 นาที ให้เริ่มตรวจสอบเบียร์ว่ามีเกล็ดหิมะขึ้นมาเกาะหรือยังถ้ามีแสดงว่าพร้อมใช้งาน
(เวลาขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือด้วย)

ปล. เบียร์แต่ละขวด ใช้เวลาในการเป็นวุ้น ไม่เท่ากัน
ปล. ใส่เกลือมากเกินไป อาจทำให้เบียร์แข็งตัวเร็วมากจนขวดแตก แล้วจะอดกิน
ปล. สำหรับผู้ที่ยกกระดก ก่อนกินเบียร์วุ้นที่ทำจากวิธีที่ 2 โปรดตรวจสอบความเค็มของขวดด้วย
ปล. เบียร์ >> เป็นน้ำ >> เป็นวุ้น >> เป็นน้ำแข๋ง >> แตก >> อดกิน

หลักการของเกลือและน้ำแข็ง
เวลาเอาเกลือละลายน้ำ ถ้าจะให้เกลือละลายเร็วจะต้องใช้น้ำร้อน
เพราะเกลือต้องการความร้อนสำหรับช่วยในการละลายตัวให้หมดโดยเร็ว
ดังนั้น เมื่อเอาเกลือใส่ลงไปในน้ำแข็ง เกลือที่ต้องการละลายตัว
ไม่สามารถจะหาความร้อนที่ไหนมาช่วยละลายได้
จึงดึงความร้อนจากน้ำแข็งออกมา น้ำแข็งซึ่งเย็นอยู่แล้วจึงยิ่งเย็นลงไปอีก
เข้าขั้นเย็นยิ่งยวด อุณหภฺมิอาจติดลบได้ อยู่ที่ปริมาณของเกลือและน้ำในถังที่มีสภาพเป็นของเหลว
จึงถูกดึงความร้อนออกไป ของเหลวในถังจึงเย็นลง

สรุปว่า    เกลือไม่ได้ทำให้น้ำแข็งละลายช้า แต่จะทำให้น้ำแข็งเย็นจัดกว่าเดิมถึงขั้นอุณหภูมิติดลบ
เลยมีผลถึงน้ำในกระติกจะเย็นจัดด้วย

 


แนะนำ
ในช่วงชีวิตของเบียร์ 1 ขวดนั้น.....มันจะสามารถเป็นเบียร์วุ้นได้ เพียงครั้งเดียว (ไม่ว่าจะเป็นวุ้นจากวิธีที่ 1หรือ 2)
เมื่อกลายเป็น เบียร์วุ้นแล้ว จึงต้องรีบกินทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ มันจะไม่สามารถกลับไปเป็นเบียร์วุ้นได้อีกต่อไป

ที่มา
มาจากหลายๆ บล๊อค หลายๆ เว็บไซท์ เอาข้อมูลมาผสม แล้วสรุปรวมๆกันครับ

 

การทำเบียร์ให้เป็นวุ้น
  

         วิธีการทำเบียร์ให้เป็นวุ้น ทำได้ 3 กรณี คือ

             1. นำเบียร์ที่แช่ออกจากตู้แช่แล้วเคาะที่ก้นขวด ด้วยเหรียญ 5 หรือที่เปิดฝา แล้วหมุนข้อมือซ้ายขวา
                 น้ำเบียร์จะเป็นวุ้นทันทีเหมาะสำหรับร้านโชห่วยที่ลูกค้าต้องการซื้อแล้วนำกลับไปดื่มที่บ้าน 
                 (เบียร์วุ้นจะคงสภาพได้นานขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ 20-28 องศา จะคงสภาพ
                 เป็นวุ้นได้ประมาณ 15 – 20 นาที )

           2. ใส่น้ำแข็ง 1 ก้อนลงในแก้ว แล้วหยิบเบียร์ในตู้แช่เปิดฝาเทเบียร์ลงแก้ว เบียร์จะเป็นวุ้นขึ้นมา

           3. หยิบขวดเบียร์ออกจากตู้แช่แล้วเปิดฝาเบียร์เทเบียร์ลงในแก้วที่เย็นจัดก็จะได้เบียร์ที่เป็นวุ้น
                 ถึงใจจริง ๆ

วิธีทำเบียร์วุ้น 

วิธีทำเบียร์วุ้น  อุปกรณ์
1.เบียร์ที่ชอบ  ปริมาณตามต้องการ
2.แก้วสองใบ
3.ตู้เย็นเย็นๆ วิธีทำ   1.แช่เบียร์ในช่องแข็ง ให้เย็น ยิ่งยวด (ห้ามแข็งโป้ก)  กะๆ เวลาเอาเอง แนะนำให้ใช้เบียร์ขวด จะได้ดูได้ ทำไปซักลัง จะเริ่มคล่องละ 2.แช่แก้วทั้งสองไว้ด้วย ในช่องแข็ง 3.พอเบียร์เย็นยิ่งยวด ให้นำมาเปิด  เทใส่แก้ว ที่เย็นยวดยิ่ง 4.ถ้าอุณหภูมิ พอเหมาะ ฟ้าฝนเป็นใจ เทวดาสาธุ และเทพมังกรทรงกรุณา ท่านก็จะได้เบียร์วุ้นแก้วแรก 5.รินไม่หมดขวดใช่ไม๊  เอาเบียร์ที่เหลือไปแช่ตู้เย็น ช่องธรรมดา (แช่แข็งไม่ได้ เพราะมันจะหก ตู้เย็นคนจนนะครับ แคบๆ) 6.กินหมดแก้วแรก ฮ่าห์  ชื่นใจ   เอาแก้วไปแช่แข็งต่อ (ไม่ต้องล้างนะ) 7.หยิบ แก้ว No.2 ซึ่งเย็นยวดยิ่งขึ้นมา  เทเบียร์ ลงไป  แล้วกลับไปอ่านข้อ 4 8.ทำวนเวียนไปเรื่อยๆ จนเมา  หรือ เมียด่า ให้หยุด

 

 

 

 

 

 

 

เบียร์วุ้น 

 


ตอนเด็กๆเคยเข้าใจว่า ต้องเอาเบียร์แช่ในช่องทำความเย็นเท่านั้น เบียร์ถึงจะกลายเป็นวุ้น
ต่อมาก็มีผู้ผลิตถังแช่เบียร์ให้กลายเป็นวุ้นได้ภายใน 10 นาที ก็รู้สึกประหลาดใจ
แต่ลักษณะค่อนข้างคล้ายถังไอติมแท่งละบาทเหลือเกิน ก็ยังไม่เคยเห็นกลไกทำงานของเครื่องนี้เลย
แต่คิดไปคิดมาก็ทำให้นึกถึงสิ่งที่แม่ค้าชอบใส่ลงไปในถังน้ำแข็งข้างๆคือเกลือเม็ด
ถามแม่ค้าดูก็บอกว่ามันช่วยเก็บความเย็น แค่เกลือกับน้ำแข็งแล้วก็ถังเหล็กเท่านั้นที่ทำให้น้ำหวานกลายเป็นไอติม
เกลือเก็บความเย็นได้จริงเหรอ? ถ้าจริงก็คิดว่าวิธีนี้น่าจะประยุกต์มาทำเบียร์วุ้นได้ แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลอง
จนกระทั่งวันนึงพี่ช้างก็ได้บอกวิธีการทำเบียร์วุ้นแบบไม่ต้องพึ่งพาเครื่องทำเบียร์วุ้น

 

อุปกรณ์
1. เบียร์ 1 ลัง
2. กระติกใส่น้ำแข็งขนาดใหญ่มากพอที่จะใส่เบียร์ได้ 1 ลัง (12 ขวด)
3. น้ำแข็งเยอะๆ
4. น้ำ
5. เกลือเม็ด 2 กิโลกรัม

 

วิธีทำเบียร์วุ้น
1. เรียงขวดเบียร์ไว้ในกระติกน้ำแข็ง
2. ใส่น้ำแข็งพร้อมเกลือ เวลาตักน้ำแข็งใส่ก็ให้โรยเกลือเยอะๆ สลับไปด้วยจนเต็มกระติก โดยใส่เกลือให้  หมด 2 กิโลเลย
3. ใส่น้ำให้เต็มกระติกน้ำแข็ง แล้วปิดฝา

4.ประมาณ 10-30 นาที เราก็จะได้เบียร์วุ้นแล้วล่ะ ^^

 

 

กว่าจะมาเป็นตู้แช่เบียร์วุ้น TJ COOL

 

  

 

        ด้วยแนวคิดที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้เบียร์มีความเย็นได้ยาวนาน โดยไม่เป็นน้ำแข็ง เห็นนักดื่มเบียร์หลายคนชอบพูดว่า ถ้าได้เบียร์วุ้นสักขวดจะชื่นใจ พอไปซื้อที่ร้านค้าก็ไม่ค่อยเย็น เพราะว่าความเย็นของตู้แช่ธรรมดาจะตั้งไว้ที่ 1-4 องศา  เมื่อมีการเปิด-ปิด อยู่ตลอดเวลาทำให้ความเย็นไหลออกมาข้างนอกเนื่องจากมีอากาศร้อนกว่า ตู้แช่จึงเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าที่ตั้ง บางครั้งตั้งไว้ที่ 10 องศา เพื่อให้ใกล้เคียงกับอากาศข้างนอก ซึ่งประมาณ 28-32 องศา  จะได้ไม่เปลืองไฟ แต่เครื่องดื่มจะไม่เย็นจัดอย่างแน่นอน

       หลายคนอาจจะเคยนำเบียร์ไปแช่ไว้ที่ช่องน้ำแข็งในตู้เย็น เพื่อต้องการเบียร์ที่เย็นจัดบางครั้งก็เป็นวุ้น หรือไม่ก็เป็นน้ำแข็ง บ้างขวดก็แตก หมายความว่า เราต้องเสี่ยงโชค และคำนวณระยะเวลาในการแช่เพื่อต้องการเบียร์ที่เป็นวุ้น เมื่อมีการพัฒนาการทำเบียร์วุ้นเพื่อจำหน่ายให้กับนักดื่มเบียร์ ที่ชอบเบียร์เย็นจัดจนเป็นวุ้น ได้ใช้หลักการเดียวกับการทำไอศครีมแท่ง  ซึ่งมี ถังปั่น น้ำแข็ง เกลือ คนคอยเฝ้าคอยปั่น ปัจจุบันอาจพัฒนามาใช้มอเตอร์ในการปั่น  ทำให้นักดื่มเบียร์มีความสุขบ้าง แต่การใช้งาน การทำงานยุ่งยาก สกปรก ได้ปริมาณน้อย ที่สำคัญต้องมีคนคอยดูแล และต้องมีตู้เก็บรักษาความเย็นไม่อย่างนั้น ก็ไม่เป็นวุ้น

 

      และนี่เองจึงได้มีการพัฒนา หาวิธีการทำความเย็นของเบียร์ โดยไม่เสียหาย ไม่ยุ่งยาก ไม่สกปรก ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน และวัสดุอื่นๆ  จึงได้คิดค้นตู้แช่เบียร์วุ้น   มาสนองความต้องการของนักดื่มเบียร์  และง่ายต่อการทำและสะดวกต่อการขาย

 ระบบความเย็น

     ความรู้เกี่ยวกับการทำความเย็น

               การทำความเย็น คือ จำนวนความร้อนทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในห้องทำความเย็นและความร้อนจากภายนอกห้อง
       ที่ผ่านเข้ามาในห้องทำความเย็น ซึงเป็นภาระที่เครื่องทำความเย็นจะต้องนำออกไปเพื่อลดและรักษาระดับอุณหภูมิในห้อง
       ให้ได้ตามต้องการ  ความร้อนเกิดจากแหล่งต่างๆ ได้ดังนี้

-          ความร้อนที่ผ่านทางผนัง พื้น เพดาน

-          ความร้อนที่ผ่านเข้ามาตามผนังที่เป็นกระจก หรือวัสดุโปร่งแสง

-          ความร้อนที่เกิดจากสิ่งของและวัตถุที่นำเข้าไปภายในห้อง

-          ความร้อนที่เกิดจากภายนอกเข้ามาแทนที่ภายใน

     ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำความเย็น

-          คอมเพรสเซอร์  ทำหน้าที่ ดูดน้ำยาในสภาพที่เป็นไอจากเครื่องระเหย เพื่อทำให้ความดันในเครื่องระเหยลดต่ำลงจน
สามารถทำให้น้ำยากลายเป็นไอและสร้างความเย็นได้         อีกทั้งยังทำการอัดให้น้ำยาให้มีความดันสูงขึ้นจนกระทั่ง
ควบแน่นเป็นของเหลวในคอนเดนเชอร์และส่งน้ำยาผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ในวงจร

-          คอนเดนเซอร์  ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากน้ำยา เพื่อให้น้ำยาที่ถูกอัดออกจากคอมเพรสเซอร์ในสภาพที่ไอมี
อุณหภูมิและความดันสูงควบแน่นเป็นของเหลวได้  โดยจะระบายความร้อนด้วย อากาศ น้ำ หรือทั้งอากาศและน้ำ

 

 

 

 

 

 

ความเย็นที่เกี่ยวกับการแช่เบียร์ให้เป็นวุ้นอุณหภูมิของ ตู้ต้องให้ได้สภาพคงที่อุณหภูมิ ระหว่าง  -2 องศา  ถึง  -10 องศา จะทำให้ขวดเบียร์ไม่แตก ถ้าอุณหภูมิเกินหรือมีการสะสมอุณหภูมิ ก็จะทำให้
ขวดเบียร์แตกได้

 

 

ข้อควรระวัง

   ขวดเบียร์แตกหรือดันฝา เกิดได้จาก
       1. การเติมเบียร์  
                  - ไม่เติมเบียร์ในเวลาที่กำหนด
                  - ห้ามเติมเบียร์ในเวลาขาย
                  - ไม่เฉลี่ยเบียร์เก่าให้เท่ากันทุกๆ ช่องแล้วใส่เบียร์ใหม่
                  - นำเบียร์ที่อุณภูมิต่างกันเติม
       2. ปริมาณการขายเบียร์
                  - ถ้าขายเบียร์น้อยไม่ควรเติมเบียร์ใหม่เข้าไป
                  - ถ้าขายได้มากแล้วเหลือเบียร์น้อย เช่น 5 ขวด เอาออกแล้วเติมของใหม่ได้
      3.  วิธีที่ดีที่สุด คือ  โทรสอบถาม ศูนย์บริการ เมื่อมีปัญหา 

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงการ
หมายเลขบันทึก: 392727เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทำเหมือนง่ายนะแต่ลองทำดูแล้วมันไม่เป็นวุ้นนี่ มีวิธีทำอย่างอื่นๆอีกบ้างไหมค่ะถ้าใครมี mail มาหาหน่อยนะ ([email protected]

การเขียนยังไม่เป็นทางการเลย เช่นเย็นจัด ต้องเปลียนเป็นเย็นขึ้น

ขอแส่ดงความเห็นในฐานะ ที่เป็นผู้หนึ่งที่ค้นคว้า ศึกษา จนค้นพบวิธีที่จะ สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทำเบียร์วุ้น ได้อย่างคงที่ แน่นอน และ สม่ำเสมอได้ทุกครั้งที่ต้องการ ไม่ต้อง สุ่มเสี่ยง โดยการแช่เย็น แล้วรอว่าจะได้หรือไม่ หรือ ขวดจะแตกอยู่ในช่องฟรีซหรือไม่

อ่านผลงานของผมได้ ที่ http://kashane2499.blogspot.com/2016/04/blog-post_...

คุณจะได้รู้ว่า เบียร์วุ้น ทำได้ง่ายหรือยากเพียงใด

แต่วันนี้ ขอแสดงความรู้ที่ได้มาจากการทดลอง ค้นคว้าในเรื่องนี้มาโดยตรง ซักนิด

วิธีที่ 1 ไม่เป็นทั้ง หลักการ และ วิชาการ

ข้อ 1.1 ไม่ใช่ เกล็ดน้ำแข็งร่วงนะครับ เพราะภายในขวดเบียร์ จะไม่มีเกล็ดน้ำแข็ง เนื่องจากไม่มี น้ำที่แยกส่วนอยู่จากน้ำเบียร์ ซึ่งถึงแม้ว่า เบียร์ จะมีส่วนผสมของน้ำอยู่ 85% ก็ตาม แต่จะไม่สามารถแยกตัวออกมากลายเป็นเกล็ดเกาะติดอยุ่ที่ขวดได้ อย่างที่เข้าใจผิด

การเคาะ ที่จริงแล้ว เป็นการลดแรงดันที่มีอยู่ในขวดเบียร์ ผลที่เกิดขึ้นกับ น้ำเบียร์ ก็คือ เป็นการ เพิ่มอุณหภูมิจุดเยือกแข็งให้สูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเรื่องนี้ จะเป็นผลเฉพาะเมื่อขวดเบียร์จะต้องมีอุณหภูมิอยู่ในช่วงจุดเยือกแข็ง และ รอการถ่ายทอดความร้อนช่วงสุดท้าย ที่เรียกว่า ช่วงการถ่ายเทความร้อนแฝง ครับ

ปฎิกิริยานี้ เกิดจาก เบียร์ที่บรรจุอยู่ในขวด จะมีแรงดันอัดอยู่ด้วย ซึ่งมีผลทางความเย็นคือ ทำให้ จุดเยือกแข็งของของเหลวต่ำลงอีกเล็กน้อย จากเดิม เบียร์ ที่มีแอลกอฮอร์ 5% จะมีจุดเยือกแข็งในบรรยากาศเท่ากับ -3.5 องศาซี แต่เมื่อมีแรงดัน ประมาณ 17 พีเอสไอ ในขวด จึดเยือกแข็งจะลดลงไปเป็นประมาณ -3.7 ถึง -3.8 องศา ขวดเบียร์ที่นำออกมาเคาะแล้วกลายเป็นวุ้น จะต้องเป็น เบียร์ที่ น้ำเบียร์ มีอุณหภูมิิต่ำกว่า -3.5 คือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เยือกแข็ง ก็เพราะ แรงดันครับ พอเราเคาะ แรงดันก็ลดลง เบียร์ จึง เยือกแข็ง เพราะอุณหภูมิที่เป็นอยู่ สามารถเยือกแข็งได้แล้ว นั่นเอง

สำหรับคำอธิบายในข้อ 1.2 ยิ่งไปกันใหญ่เลย

ความจริงก็คือ

เบียร์ที่พร้อมจะเยือกแข็ง คือ อุณหภูมิถึง -3.5 องศา แต่ยังขาดการถ่ายเทความร้อนแฝง ซึ่งมีค่า 129 หน่วย พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องการความร้อนอีก 129 หน่วยก็จะเยือกแข็ง

แต่น้ำ แข็งตอนที่ละลายกลับกลายเป็นน้ำอีกครั้ง จะ ถ่ายเทความร้อนแฝงออกมา 80 หน่วย ออกไปสู่สิ่งที่อยู่โดยรอบ นี่เองที่ทำให้เวลาน้ำแข็งละลายในน้ำ จึงทำให้น้ำเย็นลงครับ

กลับไปที่เรื่องเบียร์ เมื่อเราเอาน้ำแข็ง ใส่ลงไปในน้ำเบียร์ แล้วทำให้ น้ำแข็งละลาย จะโดยการ อะไรนะ แทงเข้าแทงออก 2-3 ใช่ไม๊ ตอนนั้นแหล่ะที่น้ำแข็งจะละลาย แล้ว ปล่อยความเย็น 80 หน่วยออกมา ซึ่งถ้า น้ำเบียร์นั้น ต้องการอีกไม่ถึง 80 น้ำแข็งที่ละลายออกมาก็จะเพียงพอสำหรับเบียร์ที่จะเยือกแข็งแล้วกลายเป็นวุ้น

สำหรับวิธีที่ 2

ต้องขอชมว่า อ่านมาได้ดี มีผิดบ้างนิดหน่อย เช่น

ความร้อนแฝงของเกลื่อที่ปล่อยออกมา สู่น้ำแข็งตอนทีี เกลือละลาย มีค่าสูงถึง 478 หน่วยนะครับ นี่แหละที่ทำให้ น้ำแข็ง เย็นลงอีกมาก แต่ก็มีขีดจำกัด ไว้วันหลังผมจะสอนอย่างละเอียดอีกที เอาเป็นว่า ข้อจำกัดก็คือ ปริมาณเกลือต้องไม่เกิด 30% โดยประมาณ (จุดอิ่มตัว) และ ตอนที่เกลือละลายก็จะทำให้ น้ำแข็ง เย็นลงได้ ถึง -21 องศาครับ ต่ำสุดแล้ว ไม่ใช่ทำให้ อุณหภูมิน้ำแข็งลดลงอย่างที่คุณอธิบายไว้ แต่ก็ไม่ผิดมากครับ

และสำหรับวิธีาการของคุณ ผมจะอธิบายเพิ่มเป็นข้อๆดังนี้

วิธีทำเบียร์วุ้น
1. เรียงขวดเบียร์ไว้ในกระติกน้ำแข็งในแนวตั้ง

เพราะถ้าในแนวนอนก็จะหมุนขวดไปมาไม่ได้
2. ใส่น้ำแข็งลงไปให้ได้ครึ่งกระติก

คุณไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนเพราะคุณไม่เคยค้นคว้วอย่างจริงจังอย่างผม ครึ่งกระติก ควรกำหนดเป็น กิโลกรับ
3. ใส่เกลือตามลงไปสัก 1 กำมือ

นี่ก็เหมือนกัน กำมือคุณ อาจไม่เท่ากันทุกคนควรบอกว่า ถ้าน้ำแข็ง 1 กิโลกรัม ก็ใช้เกลือ 3 ขีด ไม่เกิน
4. ใส่น้ำแข็งเพิ่มลงไปอีกจนเต็มกระติก

5. ใส่เกลือที่เหลือลงไป

เพราะอะไรถึึงต้องทำอย่างนี้ คุณรู้ไม๊ ถ้าอยากรู้ ไว้คุยกันทีหลังก็ได้
6. ใส่น้ำจนเต็มกระติก

ที่จริงตรงนี้ ไม่ต้องใส่ก็ได้นะ จะทำให้ น้ำแข็งละลายเร็วเกินไปด้วยซ้ำ นี่ผมทดลองเองมากับมือ
7. ปิดฝา
8. หมุนไปหมุนมา

นี่แหล่ะ ที่ต้องวางทางตั้ง แต่คุณรู้ไม๊ว่าทำไม ก็เพราะ เมื่อคุณหมุนถังไปมา จะทำให้ น้ำเบียร์ในขวดเคลื่อนที่ไปสัมผัสผนังขวดด้านใน ทำให้น้ำทุกโมเลกุลได้ถ่ายเทความร้อนจนทั่วถึงไงครับ ถ้าไม่หมุนไปมา เบียร์ มันก็จะแข็งตัวจากผนังเข้าไปหาตอนกลาง คือ แข็งไปทั้งขวด
9. ประมาณ 10-20 นาที ให้เริ่มตรวจสอบเบียร์ว่ามีเกล็ดหิมะขึ้นมาเกาะหรือยังถ้ามีแสดงว่าพร้อมใช้งาน
(เวลาขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือด้วย)

คุณเขียนอย่างนี้ ก้เพราะ คุณลอกมาอีกที ไม่ได้ทำการทดลองเออเหมือนผมครับ ขอมูลจึง งูๆปลาๆ แต่ก็ไม่เป้นไรหรอกครับ เป็นจำอวดชนิดนึง

ปล. เบียร์แต่ละขวด ใช้เวลาในการเป็นวุ้น ไม่เท่ากัน
ปล. ใส่เกลือมากเกินไป อาจทำให้เบียร์แข็งตัวเร็วมากจนขวดแตก แล้วจะอดกิน
ปล. สำหรับผู้ที่ยกกระดก ก่อนกินเบียร์วุ้นที่ทำจากวิธีที่ 2 โปรดตรวจสอบความเค็มของขวดด้วย

ตรงนี้ ถูกต้องครับ วิธีการนี้ ผมจึงเรียกว่า ได้เบียร์วุ้นแบบฟลุ๊คๆ ไม่คงที่ สม่ำเสมอ กำหนดไม่ได้ อย่างว่าแต่เวลาเลย ได้หรือไม่ก็ไม่แน่นอนครับ

แนะนำ
ในช่วงชีวิตของเบียร์ 1 ขวดนั้น.....มันจะสามารถเป็นเบียร์วุ้นได้ เพียงครั้งเดียว (ไม่ว่าจะเป็นวุ้นจากวิธีที่ 1หรือ 2)
เมื่อกลายเป็น เบียร์วุ้นแล้ว จึงต้องรีบกินทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ มันจะไม่สามารถกลับไปเป็นเบียร์วุ้นได้อีกต่อไป

แล้วก็ตรงนี้ก็เหมือนกันครับ ผมทำการทดลองโดยใช้ เบียร์ ทั้งใหม่และเก่า พบว่า จะทำให้เป็นวุ้น กี่รอบก็ได้ จนเบียร์ เสียไปเลย

เพราะที่เสียจริงๆ คือ รสชาดครับ ไม่ใช่กลายเป็นวุ้นไม่ได้อีกเลยทำได้ครั้งเดียว ไม่จริงนะครับ ผมทำการทดลองเรื่องนี้ มานานนับ สิบปี


สุดท้ายนี้ ถ้าอยากรู้เรื่องจริงของการทำเบียร์วุ้น อ่านได้ที่ Blog ของผมต่อได้เลยครับ


สวัสดีครับ


ขอแก้ไขนิดครับ ตรงค่าความร้อนแฝงของเกลือ ที่มากกว่า น้ำ

ของน้ำ คือ 338 แต่ของเกลือ คือ 478 หน่วย ซึ่งเมื่อเกลือละลาย น้ำหรือน้ำแข็งจึงเย็นลงอีก

ที่ต้องแก้ก็เพราะข้างต้น ผมใช้หน่วย กิโลแคลลอรี่ แต่ ตอนหลังมาใช้ Kj

เดี๋ยวจะงง

สุนันทา รีเรืองชัย

ถ้าลูกค้าจะซื้อเบียร์กลับไปดื่มที่บ้าน เราเคาะขวดให้เบียร์เป็นวุ้นก่อนเลยได้มั้ย ก่อนจะใส่ถุงให้ลูกค้า มันจะมีข้อเสียอะไรมั้ยระหว่างที่ลูกค้าถือกลับบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท