แบบประเมิน นวัตกรรมการศึกษา


ผม มักได้รับคำถามเสมอ ๆ ว่า อะไรเป็นนวัตกรรม หรือ นวัตกรรมนี้ ดีหรือไม่ ? วันนี้จึงเอา ตัวอย่างการประเมินนวัตกรรม ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย มาให้ลองพิจารณากันดู โดยหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้สนใจบ้าง
องค์ประกอบ
รายการตัวบ่งชี้
น้ำหนัก
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ ตบช.
หลักฐาน ร่องรอยและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
1
ความเป็นนวัตกรรม
ความเป็นนวัตกรรม
 
9
 
 
 
2
ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรม
1.  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ
      การพัฒนานวัตกรรม
2.  การใช้หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี
     ในการพัฒนานวัตกรรม
3.  การออกแบบพัฒนานวัตกรรม
4.  กระบวนการ พัฒนานวัตกรรม
5.  การมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม
6.  ความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม
 
2
 
2
 
2
2
2
2
 
 
 
3
คุณค่าและประโยชน์ของนวัตกรรม
1.  การแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.  การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรม
3.  การเรียนรู้ร่วมกัน
4.  ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแสวงหาความรู้
5.  การยอมรับ
6.  การนำไปใช้
 
2
2
2
2
2
2
 
 
 
 
คะแนนรวม/ระดับคุณภาพของนวัตกรรม
 
 
 
 

 จุดเด่น...................................................................................................................................................

จุดที่ควรพัฒนา........................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ...........................................................................................................................................
                                                                                       ลงชื่อ................................................
                                                                                          (.................................................)
                                                                                          คณะกรรมการประเมินนวัตกรรมการศึกษา                                                                                                    ........../.........../.........

เกณฑ์การประเมินคุณภาพนวัตกรรม
1) ความเป็นนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

ความเป็นนวัตกรรม

 

ระดับ 3 – เป็นผลงาน  วิธีการ  กระบวนการใหม่ หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีหรือปรากฏมาก่อน

ระดับ 2 – เป็นผลงาน  วิธีการหรือกระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุงหรือพัฒนา และได้ผลดี

ระดับ 1 – เป็นผลงาน  วิธีการหรือกระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุงหรือพัฒน บางส่วนและได้ผลดี

 

2)      กระบวนการพัฒนา

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

2.1  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม

 

ระดับ 3 – วัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ มีความ  เป็นไปได้และสามารถวัดได้

ระดับ 2 – วัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ และ สามารถวัดได้

ระดับ 1 – วัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ

2.2  การใช้หลักการแนวคิด ทฤษฎีในการพัฒนานวัตกรรม

ระดับ 3 – มีการสังเคราะห์  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความต้องการพัฒนา

ระดับ 2 – ใช้หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีถูกต้อง ตามหลักวิชา และสอดคล้องกับ  สภาพ ปัญหาหรือความต้องการพัฒนา

ระดับ 1 – ใช้หลักการ  แนวคิด ทฤษฎี แต่ไม่สอดคล้อง

2.3 การออกแบบนวัตกรรม

ระดับ 3 – มีการออกแบบการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความ ต้องการ บริบท หลักการ แนวคิด        ทฤษฎีครอบคลุมกระบวนการพัฒนา และมีความเป็นไปได้

ระดับ 2 – มีการออกแบบการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความต้องการ  หรือบริบท หรือ หลักการ  หรือแนวคิด ทฤษฎีครอบคลุมกระบวนการพัฒนา และมีความเป็นไปได้

ระดับ 1-  มีการออกแบบการพัฒนานวัตกรรมสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความต้องการหรือบริบทหรือ หลักการ  หรือแนวคิด ทฤษฎีบางส่วนครอบคลุม กระบวนการพัฒนาแต่เป็นไปได้ยาก

 


 

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

2.4     กระบวนการพัฒนา     นวัตกรรม

 

ระดับ 3 – ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมตามที่ออกแบบไว้ครบทุกขั้นตอนและ/หรือมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ระดับ 2 – ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมตามที่ออกแบบไว้ แต่ไม่ครบทุกขั้นตอน

ระดับ 1 – กระบวนการพัฒนานวัตกรรมไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้

2.5     การมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม

ระดับ 3 - ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน  การดำเนินการประเมินและสรุปผล

ระดับ 2 - ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน  หรือการดำเนินการหรือประเมินผลหรือสรุปรายงานการพัฒนานวัตกรรม

ระดับ 1 - ผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน  หรือดำเนินการหรือประเมินผลหรือสรุปผล

2.6     ความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม

ระดับ 3 – การพัฒนานวัตกรรมได้ดำเนินการเสร็จสิ้น  มีการเผยแพร่และสร้างเครือข่าย

ระดับ 2 – การพัฒนานวัตกรรมดำเนินการเสร็จสิ้น  มีการเผยแพร่

ระดับ 1 – การพัฒนานวัตกรรมดำเนินการเสร็จสิ้น 

 

3)      คุณค่าของนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

3.1  การแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

 

ระดับ 3 – แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง

ระดับ 2 – แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  

ระดับ 1 – แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ แต่ไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  

3.2    การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรม

ระดับ 3 – ประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนานวัตกรรมได้เหมาะสม  คุ้มค่า และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

ระดับ 2 – ใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรมได้เหมาะสม  คุ้มค่า และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

ระดับ 1 – ใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรมไม่คุ้มค่า

3.3    การเรียนรู้ร่วมกัน

ระดับ 3 – กระบวนการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียน

ระดับ 2 – กระบวนการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม

ระดับ 1 – กระบวนการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้เฉพาะ บุคคล

 


 

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

3.4    ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการ แสวงหาความรู้

 

ระดับ 3 – นวัตกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริม  กระตุ้น  ให้ผู้พัฒนา/ผู้เกี่ยวข้องศึกษา  ค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจนสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้

ระดับ 2 – นวัตกรรม/กระบวนการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริม  กระตุ้น  ให้ผู้พัฒนา/ ผู้เกี่ยวข้องศึกษา  ค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

ระดับ 1 -  นวัตกรรม/กระบวนการพัฒนาก่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้า  แสวงหาความรู้ เพิ่มเติมเฉพาะผู้พัฒนา

3.5    การยอมรับ

ระดับ 3 – เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน

ระดับ 2 – เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องในระดับโรงเรียน

ระดับ 1 – เป็นที่ยอมรับเฉพาะกลุ่ม

3.6    การนำไปใช้

ระดับ 3 – มีขั้นตอนการใช้ไม่ซับซ้อน  สามารถนำไปใช้ได้ดี

ระดับ 2 – มีขั้นตอนการนำไปใช้ไม่ซับซ้อน  แต่มีเงื่อนไข และข้อจำกัด

ระดับ 1 – มีขั้นตอนการนำไปใช้ซับซ้อน มีเงื่อนไข และข้อจำกัด

หมายเลขบันทึก: 392717เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

อ่านเนื้อหานวัตกรรมของอาจารย์แล้ว  เข้าใจมากเลยค่ะ

หนูจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ขอบคุณมากคะ ได้ประโยชน์มากเลย

ผมก็เป็นนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับวิชานี้

อ่านแล้วได้ความรู้ เข้าใจง่ายขึ้นครับ

ขอบคุณ ทุกคนครับ

ต้องขอบคุณ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย

ด้วยนะครับ

เอกพรต

อ่านแล้วค่ะ และได้เก็บไว้ในไฟล์word เป็นแนวทางในการเตรียมทำISหัวข้อเกี่ยวกับการบริหารจัดการนวัตกรรมในสถานศึกษา

อ่านแล้วค่ะ แล้วก็จะขอนำไปใช้ปรับในการประเมินนักเรียนบ้าง เป็นรูบิคที่ชัดเจน ขอบคุณนะคะ

การวัดประเมินผล ถือว่าสำคัญมากสำหรับการเรียนการสอน ถ้ามีระดับการวัดนักเรียนจะมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้

ศึกษาแล้วคะอาจารย์ มีประโยชน์มาก จะนำไปปรับใช้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท