KM หน่วยราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO (21 กค. 49)


เป็นการประชุมแบบปิด ไม่รับผู้มาลงทะเบียนจ่ายเงินหน้างาน

KM หน่วยราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO (21 กค. 49) 

กำหนดการในห้องย่อย KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

ช่วงเช้า
วิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตร 3 ท่าน   

   1. คุณสำราญ สาราบรรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 8ว
       กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร
   2. คุณจำลอง  พุฒซ้อน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว
       สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
   3. คุณธัญชนก เหล่าโนนคร้อ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว.  กองแผนงาน

10.50 – 11.00 น.  กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำวิทยากร
   (อุรพิณ  ชูเกาะทวด)
11.00 – 11.30 น.  “จุดเริ่มต้นของการนำกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปใช้ในหน่วยงาน”
วิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรทั้ง 3 ท่าน
11.30 – 11.45 น.  “ความประทับจากการนำการจัดการความรู้เข้าไปใช้ในหน่วยงาน”
   วิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรทั้ง 3 ท่าน
11.45 – 12.00 น.  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วม


ช่วงบ่าย
วิทยากรจากจังหวัดชุมพร 4 ท่าน 

   1. คุณจุรีรัตน์    จันทร์ภักดี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว
       สำนักงานจังหวัดชุมพร
   2. คุณประสงค์ บุญเจริญ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
       สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร
   3. คุณไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดชุมพร
   4. คุณสัมพันธ์ ภุกาม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6
       สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร

13.00 – 13.10 น.  กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำวิทยากร
   (อุรพิณ  ชูเกาะทวด)
13.10 – 13.50 น.  จุดเริ่มต้นของการนำกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปใช้ในหน่วยงาน”
   คณะทำงานจัดการความรู้จังหวัดชุมพร 4 ท่าน
13.50 – 14.10 น.  “ความประทับจากการนำการจัดการความรู้เข้าไปใช้ในหน่วยงาน”
   คณะทำงานจัดการความรู้จังหวัดชุมพร 4 ท่าน
14.10 – 14.30 น.  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วม 

 


จังหวัดชุมพร: KM เพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม

          เมื่อกระบวนการจัดการความรู้เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่สำคัญตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ในภาคราชการต้องค้นหา ศึกษากระบวนการจัดการความรู้เพื่อนำกลับไปใช้ในหน่วยงานของตน 

         ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญและหน่วยงานส่วนใหญ่มักจะมองข้ามคือ เมื่อกำหนดเป้าหมายของหน่วยงานได้แล้วแต่กลับไม่ได้สร้างความเป็นเจ้าของร่วม (Shared Vision) จากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำให้การทำงานไม่สะดวกราบรื่นเท่าที่ควร  แต่จังหวัดชุมพรซึ่งมีเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า 

 “เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการความรู้ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย (Food Safety)”

          สามารถก้าวข้ามอุปสรรคนี้ไปได้อย่างง่ายดาย โดยใช้ “ยุทธศาสตร์เจ้าของหัวปลา” เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้แสดงความคิดเห็นต่อเป้าหมายของจังหวัดที่จัดทำขึ้นมาจากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น 

          ผลจากเวทีนั้นพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับเป้าหมายถึงร้อยละ 66 ซึ่งแม้จะทำให้ขนาดของหัวปลาที่ตั้งไว้เดิมลดลงไปบ้าง แตกต่างกันบ้างตามบริบทของพื้นที่ แต่ยังคงนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน 

          นอกจากนี้ผลพวงอื่นๆ ที่ตามมาจากการเห็นพ้องต้องกันนั้นก็มีมากมาย เช่น เกิดการทบทวนตัวเอง, สามารถลดความซ้ำซ้อนของการทำงานระหว่างหน่วยงาน, เกิดกิจกรรม KM สัญจร เป็นต้น


 กรมส่งเสริมการเกษตร


 “มุ่งมั่นพัฒนาเกษตรกรให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน”
 
          จากแนวทางการดำเนินงานที่ต้องขยายและถ่ายทอดความรู้ให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพที่จะตามมา กรมส่งเสริมการเกษตรจึงเริ่มต้นดำเนินงานด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในจังหวัดนำร่องเพียง 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร, น่าน, อุบลราชธานี, นครศรีธรรมราช, นครพนม, สตูล, นครนายก, สมุทรสงครามและอ่างทอง  โดยใช้ประเด็น “การพัฒนากลุ่ม/องค์กรวิสาหกิจชุมชนและเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร” เป็นตัวเดินเรื่อง

        ในปี 2548 ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งแบบเห็นหน้าเห็นตาและช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการเกษตร บล็อกของ สคส. เป็นต้น

          ปี 2549 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้จังหวัดนำร่องเดิมคัดเลือกจังหวัดใกล้เคียงเพื่อเป็นการขยายผลแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอีก 9 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก, แพร่, พระนครศรีอยุธยา, ศรีษะเกษ, พัทลุง, ตรัง, มุกดาหาร, ปราจีนบุรีและนครปฐม รวมทั้งขยายไปสู่กรม กองต่างๆ ภายในกรมส่งเสริมการเกษตรด้วย  ซึ่งแต่ละจังหวัดและหน่วยงานภายในได้ดำเนินการจัดการความรู้ไปบ้างแล้ว แต่อาจมีความเข้มข้นแตกต่างกันบ้าง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคน งาน และองค์กร ทั้งยังมีการสอบทานความชัดเจนกันตลอดเวลาว่าทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร


         ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ตรงกับบริบทและวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด บุคลการได้พัฒนาตนเอง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ก่อเกิดเครือข่ายที่หลากหลายรูปแบบในทุกระดับ คือ ระดับเกษตรกร ระดับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานส่วนกลาง

 

หมายเลขบันทึก: 39225เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท