สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 25 )


พันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน
ต้นปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะความหนาบางของกะลาในผลที่แตกต่างกัน  เป็นผลจากยีนควบคุมความหนาของกะลา  1  คู่    จำแนกลักษณะผลได้ 3 แบบ 1.  ดูรา (DURA)  มีกะลาหนาประมาณ 2-8 มิลลิเมตร  และไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา  มีชั้นเปลือกนอกบาง  โดยมีน้ำหนักของชั้นนี้ประมาณ 35-60  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล   มียีนควบคุมเป็นลักษณะเด่น 2. เทอเนอรา (TENERA)  มีกะลาบาง  ตั้งแต่  0.5-4 มิลลิเมตร  มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา  มีชั้นเปลือกนอกมาก  โดยมีน้ำหนักของชั้นนี้ประมาณ 60-90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล  ลักษณะ เทอเนอรา  เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1   เกิดจากการผสมข้ามระหว่างลักษณะดูราและฟิสิเฟอรา  ใช้ปลูกเป็นการค้า 3. ฟิสิเฟอรา (PISIFERA)   ยีนควบคุมลักษณะผลแบบนี้เป็นลักษณะด้อย  ลักษณะผลไม่มีกะลาหรือมีกะลาบาง  มีข้อเสีย  คือ  ช่อดอกตัวเมียเป็นหมัน  ทำให้ผลฝ่อลีบ  ทะลายเล็กเนื่องจากผลไม่พัฒนา  ผลผลิตทะลายต่ำมาก  ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้า  การที่มีต้นฟิสิเฟอราปรากฏในสวนปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอราที่ปลูกเป็นการค้า  เป็นตัวบ่งชี้ว่า  เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันนั้น  มาจากแหล่งผลิตที่มีการผลิตลูกผสมที่ไม่ได้มาตรฐาน 

                ผลจากการนำเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ไม่ตรงตามพันธุ์  หรือได้จากแหล่งผลิตพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือไปปลูก  จะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง 15-35 เปอร์เซ็นต์  และเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบลดลง  35-55 เปอร์เซ็นต์

อ.ประสาทพร กออวยชัย

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 39182เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท