ปิติสุขจากการไปร่วมการประชุมปฏิบัติการ โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้


         วันนี้ (14 ก.ค.49) ผมหลบฉากจากงานประชุมเครือข่าย UKM ไปร่วมงาน KM โรงเรียน & สพท. ที่มีชื่อยาว ๆ ข้างบนที่หาดใหญ่   แล้วกลับมากรุงเทพฯ ด้วยความสุข   เพราะมีความหวังว่าทีมงานของโครงการนี้ที่นำโดย ดร. เลขา & ดร. สุวัฒน์และทีมจาก มรภ.สวนสุนันทาและ สกศ. จะสามารถขับเคลื่อน KM เข้าสู่สถาบันการศึกษาระดับพื้นฐานได้

         หญิงเคยเอามา AAR ที่ สคส. เมื่อ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนว่าทีมนี้จัด workshop ได้เก่งกว่าทีมของ สคส.   ผมไปเห็นด้วยตาในวันนี้และยืนยันข้อสังเกตของหญิง

                       

บรรยากาศในห้องเรียน KM แบบไม่บรรยาย

         ที่ดีกว่าก็ตรงที่ผู้เข้าร่วม workshop จะเอาผลงานจาก workshop ไปใช้ต่อในงานประจำของตนเองได้เลย   ยอดเยี่ยมจริง ๆ

         ความสุขประเด็นที่ 2 ก็คือ   ผู้เข้าร่วม workshop เอาจริงเอาจังมาก   มีสมาธิอยู่กับการประชุม  ไม่วอกแวกอย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ผมไปเห็นที่อุดร   ซึ่งมีผู้บริหารจำนวนไม่น้อยมาแค่ครึ่งวันหรือวันเดียว   เรื่องวอกแวกและมัวไปต้อนรับนายและต้อนรับนักการเมือง  ไม่มีสมาธิในงานนี้เป็นจุดอ่อนของวงการศึกษาไทยเรานะครับ   เราต้องช่วยกันแก้   และมีคน (ในวงการศึกษาเองนั่นแหละ) บอกผมว่าครู & ผู้บริหารภาคอีสานเป็นมากกว่าภาคอื่น

                       

ครูใหม่ KM Intern ที่เพิ่งมาฝึกที่ สคส. เพียง ๑๒ วัน ทำหน้าที่ คุณอำนวย (facilitator) การเรียนรู้ KM แบบไม่บรรยาย

                       

หลังดู VCD KM รพ. บ้านตาก ก็แบ่งกลุ่มร่วมกันตีความ ว่า KM คืออะไร  ทำอย่างไร  จะทำ KM ได้ดีต้องทำอย่างไรบ้าง

                        

                              นี่ก็อีกกลุ่ม  ทั้งหมดมี ๘ กลุ่ม

                         

                                       สรุปผลงานกลุ่ม

                        

                            สรุปประเด็นสำคัญของอีกกลุ่ม

                        

                                 นำเสนอผลงานกลุ่ม

                        

              นำเสนอผลงานการตีความ KM ของอีกกลุ่ม

                        

                 เทคนิคการจัดกลุ่มขุมความรู้ เป็นแก่นความรู้

         ความสุขประเด็นที่ 3   คือผมได้พิสูจน์วิธี "สอนแบบไม่สอน" ให้คนเข้าใจ KM ในเวลา 3 ชม. ได้ดีกว่าวิธีบรรยายครับ   โดยให้ดูวิดีโอการจัดการความรู้ใน รพ.บ้านตาก 30 นาที  ประชุมกลุ่ม 1 ชม. นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม  กลุ่มละ 5 - 10 นาทีแล้ว dialogue อีก 30 นาที

          ความสุขประเด็นที่ 4   คือได้ฝึกครูใหม่ KM Intern คนที่ 2 ของเราให้เป็นผู้ดำเนินการประชุมและตอบคำถามแทนผม   ผมอวดด้วยว่าครูใหม่เพิ่งมาฝึกกับเราแค่ 12 วัน   ผู้เข้าร่วมประชุมตาค้างเลยครับ   ครูใหม่ได้คิดนวัตกรรมในการประชุมและนำเสนอด้วยครับ   เอาไว้ให้ครูใหม่เล่าเอง                    

วิจารณ์  พานิช
 14 ก.ค.49

 



ความเห็น (3)

อยากผู้บริหารเห็นและให้มีกิจกรรมแบบนี้ที่บุรีรัมย์ เขต 1  บ้าง คงเป็นประโยชน์ไม่น้อย

สุพรรณบุรี อยุธยา และลพบุรี เป็นรุ่นที่ 2 ของโครงการค่ะ และทราบว่ารุ่นของเราโชคดีกว่ารุ่นแรกซึ่งจัดที่กรุงเทพฯ เนื่องจากคณะผู้วิจัยฯ ซึ่งนำโดย ดร.เลขา และคุณหญิง+คุณจ๋า จากสคส.นั้น ได้นำข้อบกพร่องจากการจัดประชุมปฏิบัติการในครั้งแรก....ซึ่งคาดว่ารุ่นต่อ ๆ ไปจากเราจะโชคดีกว่าเราอีกเยอะ...ซึ่งรุ่นสุดท้ายน่าจะได้รับสิ่ง ดี ๆ ไปมากกว่าใครเพื่อน....อยากบอกเพื่อน ๆ ที่ร่วมโครงการชื่อย้าว...ยาวของเรานี่แหละค่ะว่า "ถึงเวลาที่เราจะสร้างพลังแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรของเรา" กันแล้วค่ะ....วัฒนธรรมของการ "ให้" และ "รับ" อย่างมีคุณค่าอยู่ในมือของพวกเราแล้วค่ะ...ขอขอบคุณจากหัวใจแด่ สกศ. สกว. และ สคส. ค่ะ...ที่นำพวกเรามาพบกับ KM...

ขอบพระคุณครับ
เห็นภาพและอ่านเรื่องราวแล้ว พอจะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร พลอยมีความสุขไปด้วยกับ การเอาการเอางาน ของผู้เข้าร่วมประชุมครับ  ทำให้นึกถึงบรรยากาศที่เคยตะลอนไปกับ คุณหมอทวีศักดิ์ นพเกษร ทำกับกลุ่มต่างๆ พบความหลากหลาย  ได้เรียนรู้อะไรมากมาย จาก คน และ เวที เหล่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท