การทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลบ้านตาก


น่าจะเป็นอย่างที่Snowden เขียนเป็นกฎข้อที่ 3 ไว้ว่า รู้มากกว่าที่พูดได้เขียนได้

                จุดเด่นของเราที่ผ่านHAรอบที่แล้วก็คือการช่วยกันดูแลคนไข้จากสาขาวิชาชีพต่างๆที่ช่วยเน้นบทบาทที่โดดเด่นของแต่ละสาขาวิชาชีพโดยไม่จำเป็นต้องไปดูพร้อมกันแต่สื่อสารกันด้วยการเขียนProgress noteถึงกัน ส่งผลให้เกิดการRound ward โดยแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ สุขภาพจิต เวชปฏิบัติครอบครัว กายภาพ เภสัช ซึ่งขอให้การทำแบบนี้ยังคงอยู่ หากจุดไหนตกหล่นไปบ้างก็ให้รีบดำเนินการตามเดิมนะครับ
                 และเมื่อดูแลเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพแบบนี้แล้ว ก็มีการสุ่มเพื่อดูว่าการทำงานเป็นทีมในการดูแลผู้ป่วย มีการดูแลที่ครอบคลุมจริงไหม ก็เลือกผู้ป่วยบางรายที่ซับซ้อนหรือมีโอกาสผิดพลาดมากมาทำการทบทวน เรียกว่าการทบทวนขณะดูแลผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า Grand round ที่ทำทุกวันพุธบ่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพครบทีม โดยการใช้แนวทาง 3CTHER+HELP
                 และเมื่อมีการดูแลผู้ป่วยไปแล้วและพบว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์หรือผู้ป่วยเสียชีวิตไม่ว่าจากเหตุผลกลใดก็ตาม เราก็จะนำผู้ป่วยรายนั้นมาทำการทบทวนเหตุการณ์สำคัญ เรียกว่า Dead case conference & Clinical case conference ซึ่งกำหนดไว้เดือนละ 2 ราย(แต่ถ้าเสียชีวิตเดิน 2 รายก็ทำทุกราย) ถ้าไม่มีเสียชีวิตก็นำรายที่มีปัญหาในการดูแลมาทำ สลับกันไปของตึกชาย+ERกับตึกหญิง+LRเพื่อสรุปบทเรียนนำมาปรับปรุงแนวทางที่กำหนดไว้ รายละเอียดส่วนใหญ่ถูกบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการประชุมของPCT ถ้านำเอาแนวทางที่ตกลงกันไว้มาลงในเว็บน่าจะกระจายข่าวสารได้เร็วขึ้น มากขึ้น
                 และเมื่อมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์กรณีเกิดความผิดพลาดหรือภาวะแทรกซ้อนในการรักษาของโรงพยาบาลอื่นๆที่ตกเป็นข่าว เราก็จะเอามาเป็นบทเรียนเปรียบเทียบกับของโรงพยาบาลเราว่าเรามีโอกาสเกิดแบบนี้ไหม ถ้ามี เราจะวางระบบป้องกันอย่างไร ถ้าไม่มีแน่ใจได้ว่าเพราะอะไร และระบบที่วางไว้มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ เช่นกรณีที่มีการทำฟันเด็กแล้วเกิดสภาพเจ้าชายนิทรา ทางทันตกรรมก็นำเอามาพิจารณาในระบบของทันตกรรมก็ทำให้มีระบบการดูแลคนไข้ขณะทำฟัน ร่วมกับการวางระบบดูแลหากเกิดการหยุดหายใจในห้องทันตกรรมจะมีทีมในการเข้าไปช่วยฟื้นคืนชีพและมีการซ้อมแผนช่วยฟื้นคืนชีพในห้องทันตกรรมด้วย เป็นการใช้บทเรียนจากความผิดพลาด(Lesson learned)ของผู้อื่น
                 และเมื่อมีรายงานความเสี่ยงของโรงพยาบาลที่เป็นความเสี่ยงจากการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นความเสี่ยงทางคลินิก เราก็จะนำมาเป็นบทเรียนความผิดพลาดด้วยเช่นกัน เช่น เคยมีผู้ป่วยอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ สลบไม่ไม่ทราบว่านานเท่าไหร่ แต่มารู้สึกตัวดีที่โรงพยาบาล ตรวจร่างกายปกติ แพทย์จะให้นอนสังเกตอาการ แต่ผู้ป่วยไม่ยอม แพทย์จึงให้ไปสังเกตอาการที่บ้าน พอวันรุ่งขึ้นเสียชีวิตที่บ้านด้วยเรื่องเลือดคั่งในสมอง แต่ไม่มีเรื่องวร้องเรียนโรงพยาบาลเนื่องจากโรงพยาบาลได้พยายามให้นอนโรงพยาบาลแล้วแต่ผู้ป่วยไม่ยอมนอน จากเรื่องนี้ทางองค์กรแพทย์และห้องฉุกเฉิน จึงได้กำหนดเป็นแนวทางในการรับผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล หากมีอุบัติเหตุสลบจะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนสังเกตอาการในโรงพยาบาลหรือหากไม่ยอมนอนจริงๆหลังจากได้เอธิบายแล้วก็มีการแนะนำญาติในเรื่องการสังเกตอาการทางสมองและจัดทำใบสรุปคำแนะนำสำหรับสังเกตอาการทางสมองให้ไปด้วยเผื่อลืมที่แพทย์ได้อธิบายให้ฟัง หรืออีกกรณีหนึ่งทราบว่าโรงพยาบาลข้างเคียงมีคนไข้เด็กท้องร่วมเสียชีวิต จากมาครั้งแรกให้ยากลับบ้าน มาอีกครั้งยังไม่ดีขึ้นเจอแพทย์อีกคนก็ให้ยากลับบ้าน พอมาครั้งที่สามเด็กช็อคต้องเข้าICUและเสียชีวิตในวันรุ่งขึ้น จนมีเรื่องร้องเรียนกัน กับอีกกรณีหนึ่งเป็นของโรงพยาบาลบ้านตากเอง พระรูปหนึ่งมาโรงพยาบาลด้วยปวดศีรษะแพทย์ตรวจไม่พบอาการผิดปกติทางสมองจึงให้ยาไปทานกลับวัด วันรุ่งขึ้นมาอีกด้วยเรื่องปวดหัวเหมือนเดิม แพทยืตรวจก็ปกติอีกให้ยาไปมานกลับวัด พอตอนเย็นมาด้วยเรื่องชักไม่รุ้สึกตัว แพทย์ได้ใส่ท่อหายใจ ดูแลเบื้องต้นแล้วส่งไปรักษาต่อในจังหวัด พอไปโรงพยาบาลจังหวัดได้สักพักก็รุ้สึกตัวและโชคดีที่ไม่เสียชีวิต แต่ศรัทธาญาติโยมก็ไม่พอใจโรงพยาบาลว่าคนไข้เป็นขนาดนี้ทำไมไม่ให้นอนโรงพยาบาลมาตั้ง 2 รอบแล้ว เกือบจะมีการเดินขบวนแต่เราได้ไปชี้แจงพูดคุยก่อน รวมทั้งพระปลอดภัย ท่านได้บอกศรัทธาญาติโยมไปว่าท่านไม่ยอมนอนโรงพยาบาลเองและญาติสายตรงที่เฝ้าก็บอกว่าทางโรงพยาบาลและแพทย์ดูแลอย่างดีแล้ว เหตุการณ์เลยสงบ จาก 2 ประเด็นตัวอย่างนี้ ทำให้ได้แนวทางในการรับผู้ป่วนนอนโรงพยาบาลคือถ้ามาด้วยโรคเดิมหรืออาการเดิมเป็นครั้งที่สองต่อเนื่องกันให้รับผู้ป่วยไว้นอนโรงพยาบาลโดยแพทย์ต้องเป็นผู้บอกผู้ป่วยเองโดยไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยร้องขอ
              นอกจากนี้ยังเกิดสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมขึ้นในการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น จากข่าวเด็กเล็กตกลงมาถูกแขวนคอกับเตียง ทางหอผู้ป่วยได้นำเอาผ้าปูเตียงมาทำเป็น อ้อมกอดแม่ หรือหอผู้ป่วยชายก็ทำเป็นผ้าคลุมราวกั้นเตียงเพื่อกันเด็กตกและรอดราวกั้นเตียง หรือห้องผ่าตัด จัดทำผ้าวางเครื่องมือผ่าตัดโดยทำเป็นช่องวางที่มีชื่อและจำนวนของเครื่องมืออย่างเห็นได้ชัดเจน เพื่อกันการลืมเครื่องมือไว้ในท้องผู้ป่วย หรือห้องคลอด เห็นว่าการส่งต่อเด็กแรกเกิดอาจเกิดภาวะเด็กตัวเย็นได้ขณะส่งต่อ ก็เลยจัดทำผ้าห่มอุ่นไอรัก ขึ้นมาสำหรับห่อตัวเด็กขณะส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลอื่น เป็นต้น

หมายเหตุ บันทึกนี้เขียนเพื่อชี้ประเด็นในการทำงานประจำที่ทำกันอยู่ให้ทีมงานของโรงพยาบาลบ้านตากอ่าน เพื่อเตรียมตัวก่อนประเมินHAเนื่องจากหลายคนพอถูกถามก็จะนึกถึงสิ่งที่ทำไม่ออก กลายเป็นตอบไม่ได้ ผู้ประเมินก็เลยตีความว่าไม่ได้ทำไป  น่าจะเป็นอย่างที่Snowden เขียนเป็นกฎข้อที่ 3 ไว้ว่า รู้มากกว่าที่พูดได้เขียนได้

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 39144เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท