การประชุมร่วม 18 จังหวัดนำร่องและทีม km ส่วนกลาง


การประชุมหารือครั้งนี้มีแต่การสร้างสรรค์ เสนอแนะสิ่งที่ดี รวมทั้งให้ความรู้สึกการเป็นเจ้าของกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 มีการประชุมร่วมระหว่าง 18 จังหวัดนำร่องกับทีมkm ส่วนกลาง ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร

     เริ่มจากผอ.มนตรี วงศ์รักษ์พานิช  ประธานทีมKM กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมว่าวันนี้มีเรื่องที่หารือ    3-4 เรื่อง    เพื่อให้เกิดการวางแผนร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินกิจกรรม km ในช่วงต่อไป โดยมีผลสรุปจากการหารือดังนี้คือ

     เรื่องที่1.การจัดตลาดนัดความรู้การจัดการความรู้ในการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 12-13 กันยายน 2549   ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ  ผู้เข้าสัมมนานอกจากจังหวัดนำร่องแล้วยังมีจังหวัดอื่น ๆ และกอง/สำนักในส่วนกลางด้วย  รวมผู้เข้าสัมมนา 247 คน 

      เนื้อหาการจัดสัมมนาประกอบด้วย แนวทางการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร การจัดการความรู้ด้านเกษตรปลอดภัย การจัดการความรู้ในกอง/สำนัก  เทคนิค/วิชาการ/ประสบการณ์จากการปฎิบัติการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน และกระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยแก่เกษตรกร

     รูปแบบการสัมมนา จะแบ่งเป็น

      ภาคบรรยาย ห้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ห้องรวมในช่วงเช้าของการสัมมนาวันแรกซึ่งมีผู้เสนอว่าควรให้เกษตรกรมาเล่าเรื่องการผลิตพืชปลอดภัยให้ฟัง ส่วนห้องย่อย 3 ห้องประกอบด้วย (1) ห้องเรียนรู้กระบวนการ km   (2)ห้องเรียนรู้กระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยฯ   และ(3)ห้องเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยฯ  

      นอกจากนี้ยังมีการเสนอผลการวิจัยเป็นห้องเรียนรู้การวิจัยเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรผลิตสินค้าที่ปลอดภัยฯ    ใน 4 จังหวัดคือ นครพนม   นครศรีธรรมราช  อ่างทอง  และกำแพงเพชร อีกด้วย

      ภาคนิทรรศการ

      18 จังหวัดนำร่อง แสดงนิทรรศการโดยเลือกได้ 3 ประเด็นคือกระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและกรณีศึกษาการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยระดับชุมชนและเกษตรกร 

      และเปิดโอกาสให้จังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ใฃ่จังหวัดนำร่องและกอง/สำนักที่เกี่ยวข้องที่พร้อมจะแสดงนิทรรศการ

     นอกจากนี้ยังเปิดห้องเรียน KM  และการให้คำปรึกษาด้านการจัดการความรู้และการเขียนบล็อกอีกด้วย เพื่อบริการแก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อเตรียมการการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

      ในช่วงนี้มีการให้จังหวัดนำร่องเสนอเรื่องที่จะจัดนิทรรศการเพื่อดูความหลากหลายและความเหมือนของแต่ละจังหวัดด้วย พบว่ามีความหลากหลายและน่าสนใจมาก

     เรื่องที่ 2  การสัมมนาเชิงปฎิบัติการการพัฒนาทักษะการจดบันทึก

     เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของเรามีปัญหาการบันทึกเมื่อมีกระบวนการ ลปรร.ไปแล้วไม่สามารถบันทึกและเก็บไว้ในคลังความรู้ได้ จึงจัดสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นคุณลิขิตแก่จังหวัดนำร่อง 18 จังหวัดและกอง/สำนักที่เกี่ยวของรวม 40 คนโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เข้าสัมมนาจะต้องเป็นผู้ร่วมอยู่ในกระบวนการ KM  มีความสนใจดารบันทึก  ต้องสามารถบันทึกความเคลื่อนไหวการทำ KM ในหน่วยงานและเปิดบล็อกของตนเอง  และมีหน้าที่ในการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะด้านนี้แก่ผู้ร่วมงาน  จะจัดวันที่ 21-22 สิงหาคม 2549 ณ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเชิญวิทยากรจาก มสธ.(อาจารย์บำเพ็ญ เขียวหวานและคณะ)

      เรื่องที่ 3  การจัดการคลังความรู้ 

      ที่ประชุมได้ร่วมหารือเพื่อที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทำ KM ขึ้น KM Website      เพื่อการจัดการและวัดผล     โดยขอให้ศูนย์สารสนเทศจัดทำเอกสารแสดงการดำเนินงานให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายส่งจังหวัดต่อไป  โดยได้แสดงขั้นตอนการรวบรวมองค์ความรู้เข้าสู่ระบบมี 4 ขั้นตอน     แล้วกำหนดให้จังหวัดนำร่องมีองค์ความรู้เชิงวิชาการแบบ best practice ด้านเทคโนโลยีอย่างน้อยจังหวัดละ 1 เรื่อง  ด้านกระบวนการฯอย่างน้อยจังหวัดละ 2 เรื่อง/รายการ ความรู้ระดับเกษตรกรอย่างน้อยอำเภอละ 2 เรื่อง

     ระบบฐานข้อมูลมี 3 กลุ่มคือ ด้านเทคโนโลยี  ด้านกระบวนการและความรู้ระดับเกษตรกร

      เรื่องที่ 4   การเตรียมการสรุปผลการดำเนินงานของจังหวัดประจำปี 2549

      ที่ประชุมมีความเห็นว่าน่าจะกำหนดประเด็นหลักที่เหมือน ๆ กันโดยให้ฝ่ายเลขาฯจัดทำ  และแจ้งไปยังจังหวัด     ส่วนประเด็นย่อยสามารถเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม และควรเพิ่มกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จด้วย

      การประชุมครั้งนี้มี CKO (เกษตรจังหวัดนครพนมและตรัง)เข้าร่วมการหารือตลอดเวลาด้วย ซึ่งที่ประชุมให้ความเห็นว่าน่าจะถอดความรู้จากทั้งสองท่านในการส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรม KM  ของสำนักงานเกษตรจังหวัด

       ดิฉันมีความเห็นว่าการประชุมหารือครั้งนี้มีแต่การสร้างสรรค์ เสนอแนะสิ่งที่ดี รวมทั้งให้ความรู้สึกการเป็นเจ้าของกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันและก็หวังว่ากิจกรรมเหล่านั้นคงจะดำเนินไปอย่างราบรื่น น่าสนใจและสามารถนำไปสูการขยายผลในปีต่อไปทั่วทั้งองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร

หมายเลขบันทึก: 39139เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบพระคุณพี่หม่ามากนะครับ ที่บันทึกให้ได้ทราบความก้าวหน้า
  • วันที่ 12-13 กันยายน บรรยากาศน่าจะคล้ายๆ กับ KM แห่งชาติของ สคส.เลยนะเนี่ย...

น่าจะเป็นอย่างที่คุณสิงห์ป่าสักมีความเห็น เผอิญวันที่จัดระดับชาติ  พี่ไม่ได้ไปร่วม     แต่ของเราจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  และเจาะลึกในงานส่งเสริมการเกษตร ขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมอยากให้เป็นรูปแบบใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท