การโต้แย้ง Behaviorism


พฤติกรรมนิยมสนใจพฤติกรรมภายนอก นักจิตวิยาเกสตัลต์ สนใจพฤติกรรมภายใน โดยเฉพาะเกี่ยวกับปัญญา

         ความคิดสำคัญของกลุ่ม Behaviorism คือ  S - R สามารถใช้อธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมของคนได้ทุกพฤคิกรรม   โดยไม่ต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า จิต  หรือ ความรู้สึก (Consciousness)  หรือ  O  ที่อยู่ระหว่าง S - R ในแบบแผน  S - O - R  มาช่วยในการอธิบายหรือพยากรณ์    

          ความรู้ของคนได้มาโดบการเรียนรู้ S - R แบบเพิ่มสะสม (Incremental Learning) และความรู้ที่ได้ก็คือ S - R    

          "ความรู้หน่วยใหญ่"ได้มาจากการรวมกันของ"หน่วยย่อย S - R " ถ้าเปรียบ "อิฐหนึ่งแผ่น" ที่ก่อเป็นบ้านก็คือ "หนึ่ง S - R " แล้ว  ตึกทั้งหลังก็คือ"กลุ่ม S-R " ที่รวมกันเข้าเป็น "ความรู้ของคน" !!

        ความคิดเหล่านี้ได้รับการต่อต้านจากนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychologists)  ชาวเยอรมัน  คือ Wolffgang Kohler (1887 - 1967)  Max Werthiemer(1880 - 1943)  และ  Kurt Koffka (1886 - 1941) กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า  "หน่วยย่อย(Part)ที่รวมเข้าเป็นหน่วยใหญ่(Whole) นั้น  จะมีคุณสมบัติเท่ากับหน่วยใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวของมัน"    คือ "หน่วยย่อยจะไม่เท่ากับหน่วยใหญ"  นอกจากนี้ Kohler ได้ทดลองศึกษาการแก้ปัญหาของลิง  พบว่า  ลิงแก้ปัญหาด้วยความคิดระดับซับซ้อนที่เขาเรียกว่า  Insight  หรือการหยั่งเห็น   ไม่ใช่ใช้ S - R มาแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

        กลุ่มเกสตัลท์ เน้นค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ  การรับรู้(Perception)  การคิด (Thinking)   ปัญญา(Intelligence)  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางจิต  หรือ O ระหว่าง S - R  คือ S - O - R  ที่กลุ่ม Behaviorism  ปฏิเสธนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 39015เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท