การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้การตูน


การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้การตูน

การจัดการเรียนการสอนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้การ์ตูนถือเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน เนื่องจากในวัยของนักเรียนมีความสนใจที่จะเรียนรู้จากการ์ตูนมากกว่าครูเป็นผู้สอน ถึงอย่างไรก็ตามการใช้สื่อหรือนวัตกรรมนั้น ก็ขึ้นอยู่กับทักษะกระบวนการของครูผู้สอนด้วย หลังจากการใช้สื่อแล้ว ครูผู้สอนควรเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาให้นักเรียนได้เกิดมโนทัศน์ และเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วย

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์มาก   ดังนั้นครูวิทยาศาสตร์ควรตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าเนื้อหา  เนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ประกอบด้วยความรู้และกระบวนการแสวงหาความรู้  ฉะนั้นวิธีการหนึ่งที่ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ก็คือ  การมีความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”  อำเภอบางระกำ  จังหวัดพิษณุโลก  มีทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (56.45%)  ดังนั้น  ครูเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้น  ด้วยวิธีการทำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่างๆมาใช้  ด้วยเหตุนี้  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทดลองใช้การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”

คำถามวิจัย

          การให้นักเรียนเรียนรู้โดยการใช้การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ผลที่ได้ควรเป็นอย่างไร


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          1.  เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”  ก่อนและหลังการใช้การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.      เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”  ก่อนและหลังการใช้การ์ตูนด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ตัวแปรการวิจัย

          ตัวแปรต้น      การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          ตัวแปรตาม    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 


แนวทางแก้ปัญหา

          ใช้สื่อการเรียนการสอน  คือ  การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


กระบวนการวิจัย

1.      ระยะเวลาดำเนินการ  27  มิถุนายน  2548 – 15  กรกฎาคม  2548
2.   กลุ่มทดลอง    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2  จำนวน  33  คน  โรงเรียนชุมแสง    สงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2548
          3.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                3.1  แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จำนวน  3  แผน  ใช้เวลาสอน  6   ชั่วโมง
                3.2  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                3.3  การ์ตูนเกี่ยวกับด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.4    แบบสอบถาม  ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  กรณี
       ศึกษา : การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         4.   กิจกรรม
4.1    ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการสร้างการ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทาง

       วิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4.2   เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
1)  สร้างการ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                       2)  สร้างแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4.3   เขียนแบบสอบถาม  ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

       กรณีศึกษา  การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การเก็บรวบรวมข้อมูล

          1.   ทดสอบวัดทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ก่อนการใช้การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 2.  ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ด้วยแผนการจัดการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โดยให้นักเรียนศึกษาการ์ตูนเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทำแบบฝึกหัดทีละทักษะ ๆ ละ  20  นาที  จนครบ  8  ทักษะ
3.      เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบ  6  ชั่วโมง  ให้นักเรียนตอบแบบ
สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  :  กรณีศึกษา   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          4.  วัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  หลังการใช้การ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

          1.  หาค่าเฉลี่ยของระดับความคิดจากแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  :  กรณีศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          2.  หาค่าเฉลี่ยแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน
          3.  นำค่าเฉลี่ยผลการประเมินความคิดเห็น  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ก่อนและหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดให้

               3.1  เกณฑ์พิจารณาความคิดเห็น  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เทียบเป็นร้อยละมี 
                      4  ระดับ  ดังนี้
ค่าเฉลี่ยร้อยละ      50.00 – 59.00       หมายถึง     พอใจน้อยที่สุด
ค่าเฉลี่ยร้อยละ      60.00 – 69.00       หมายถึง      พอใจน้อย
ค่าเฉลี่ยร้อยละ      70.00 – 79.00       หมายถึง      พอใจมาก
ค่าเฉลี่ยร้อยละ      80.00 – 100.00     หมายถึง      พอใจมากที่สุด
3.2   เกณฑ์พิจารณาระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เทียบเป็น 
                      ร้อยละมี  5  ระดับ  ดังนี้
ค่าเฉลี่ยร้อยละ      0.00 – 20.00          หมายถึง     มีระดับต่ำมาก
ค่าเฉลี่ยร้อยละ    21.00 – 40.00          หมายถึง     มีระดับต่ำ
ค่าเฉลี่ยร้อยละ    41.00 – 60.00          หมายถึง     มีระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยร้อยละ    61.00 – 80.00          หมายถึง     มีระดับสูง
ค่าเฉลี่ยร้อยละ    81.00 – 100.00        หมายถึง     มีระดับสูงมาก

สรุปผลการวิจัย
          1.  ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ : กรณีศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก
             2.  ค่าเฉลี่ยร้อยละของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                   2.1  ทักษะการสังเกต  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพ
                          รวมอยู่ในระดับสูง
2.2    ทักษะการจำแนกประเภท   มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

       ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง

2.3    ทักษะการวัด  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวม
       อยู่ในระดับสูง
2.4    ทักษะการคำนวณ  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2.5    ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริภูมิกับปริภูมิและปริภูมิกับเวลา  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2.6    ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล   มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2.7    ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2.8    ทักษะการพยากรณ์  มีค่าระดับของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง

ข้อเสนอแนะ

          ผลการวิจัยครั้งนี้  พบว่า  ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”
ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (70.62%) แสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์สูงขึ้น  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการ์ตูนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ไขการเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้  เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพียง  1  ห้อง  คือ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  เท่านั้น  ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์  ดังนั้นในการวิจัยชั้นเรียนครั้งต่อไปควรทำการวิจัยทุกห้องเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างห้องเรียน  ดังนั้นครูจึงควรทำการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักเรียนโดยตรง

ผู้ส่ง  นางสาวสุภาพร  กางทะวร  โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์”  อำเภอบางระกำ  จังหวัดพิษณุโลก  โทร. 0-9568-4422
หมายเลขบันทึก: 38963เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สนใจการเรียนการสอนโดยใช้การ์ตูนเหมือนกันแต่ใช้ในวิชาวิทยาศาสตรฺและเคมี ใช้ในวิชาทักษะอย่างไรขอทราบได้หรือไม่ว่าเป็นการ์ตูนแนวไหนอย่างไร

อยากได้ตัวอย่างการ์ตูนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2จะติดต่อได้ที่ไหนค่ะบอกที่อยู่ติดต่อด้วยค่ะจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน

 กำลังจัดการเรียนรู้วิชาวิทย์อยู่  มีความต้องการและสนใจการ์ตูนเกี่ยวกับด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาก ช่วยอนุเคราะห์ ส่งให้ได้หรือไม่ ขอรับรองว่าไม่นำไปเป็นผลงานของตนเองที่จะขอเลื่อนตำแหน่ง แต่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้ดีที่สุด

                              ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

                                  ประดิษฐ์ อินต๊ะแดง

                            โรงเรียนนันทาราม เชียงใหม่

                                    053323079

                                   0840456830

สนใจ เกี่ยวกับกรจัดทำการ์ตูนวิทยาศาสตร์เพ่อใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1

ชอบนาโนเหมือนกัน

มากด้วย

^_______________________^

สนใจเกี่ยวกับการสอนโดยใช้การ์ตูนสำหรับเด็กมัธยมต้องทำอย่างไรบ้าง กำลังจะทำวิจัยเรื่องทะกษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ม.3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท