แม่ละเมาไดอารี่ : พะวอการท่องเที่ยว


ซึ่งจัดบริการแบบกลบกลืนกับธรรมชาติ ,การจัดการทุนชุมชน” ที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชนมากที่สุด, การพัฒนาปรับปรุงการให้บริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานซึ่งสอดคล้องกับบริบทชุมชนเป็นหลัก

          ในช่วงแรกของการเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผมได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนเป็นครั้งแรกครับ เป็นครั้งแรกที่น่าประทับใจมาก ๆ เลย

           ผมได้รับมอบหมายให้ศึกษาในพื้นที่จังหวัดตาก เป็นการเดินทางที่ไกลมากกว่าคนอื่น ๆ ในโครงการเดียวกันครับ

           ตอนนั้นผมทำวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเครือข่ายระว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรภายใต้นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ซึ่งมีขอบเขตการทำงานอยู่ใน 5 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และจังหวัดตาก ผมได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกลุ่มพะวอการท่องเที่ยวครับ เป็นกลุ่มนำร่องในการศึกษาวิจัยครั้งนี้

           ผมจึงขออนุญาตนำย่างก้าวต่าง ๆ ที่เคยสัมผัสมาเล่าให้ทุก ๆ คนฟังใน "แม่ละเมาไดอารี่" นี้ครับ

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม” จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

            กลุ่มพะวอการท่องเที่ยวเริ่มก่อตั้งกลุ่มเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2544 ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีรายได้จากการทำเกษตรและหาของป่า เช่น หน่อไม้ไผ่ตง ประชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งน้ำ นั่นก็คือ “แม่น้ำแม่ละเมา” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของหมู่บ้านซึ่งให้ประโยชน์ทั้งในการอุปโภค บริโภคและการประกอบอาชีพ กลุ่มพะวอการท่องเที่ยวได้เริ่มมีการรวมกลุ่มเพื่อบริการการล่องแพขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2544

 

            โดยคุณประดิษฐ์ ปานเขียวได้รวบรวมสมาชิกจำนวน 5 คน กู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านมาลงทุนในการดำเนินงาน โดยเริ่มการล่องแพที่บริเวณต้นน้ำห้วยแม่หก และบ้านห้วยยะอุ ประกอบกับการได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากหน่วยงานราชการภายในจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในอำเภอแม่สอด ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาชุมชนอำเภอ กรมป่าไม้ หน่วยงานพิทักษ์ป่า เข้ามาให้การสนับสนุนจึงได้มีการขยายบริการส่วนควบเพิ่มขึ้นอีก อาทิ การให้บริการอาหาร ซึ่งจัดบริการแบบกลบกลืนกับธรรมชาติ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับสมาชิกรวมถึงประชาชนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก จึงทำให้การล่องแพแก่งแม่ละเมา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นรวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมและพัฒนาการให้บริการกับธุรกิจภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกจังหวัด

             กลุ่มพะวอการท่องเที่ยวเริ่มเปิดให้บริการล่องแพครั้งแรกโดยการนำเอาจุดแข็งที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือการ “การจัดการทุนชุมชน” ที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชนมากที่สุดก็คือ ลำน้ำแม่ละเมา โดยนำวัสดุที่มีอยู่มากภายในท้องถิ่นคือ ไม้ไผ่ นำมามัดผูกติดกันและให้บริการนักท่องเที่ยวโดยเริ่มการล่องแพที่บริเวณต้นน้ำห้วยแม่หก และบ้านห้วยยะอุระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลาล่อง 2-3 ชั่วโมง แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องการขนส่งอุปกรณ์ในการล่องแพนั่นก็คือแพไม้ไผ่ที่มีน้ำหนักมาก และต้องใช้เนื้อที่ในการบรรทุกจำนวนมาก ทางกลุ่มจึงได้มีการวิเคราะห์ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยมีการพัฒนาจากแพไม้ไผ่ที่ใช้ไม้ไผ่ทั้งลำ เปลี่ยนมาเป็นไม้ไผ่ผ่าเป็นซีกขนาดเล็กและสานกันขึ้นเป็นแพไม้ไผ่โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น และผูกติดเข้ากับยางในรถยนต์ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดีและการดำเนินกิจการของกลุ่มก็มีการเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ

            กลุ่มพะวอการท่องเที่ยวได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากหน่วยงานราชการภายในจังหวัดโดยเฉพาะหน่วยงานในอำเภอแม่สอด ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาชุมชนอำเภอ กรมป่าไม้ หน่วยงานพิทักษ์ป่า เข้ามาให้การสนับสนุนจึงได้มีการขยายบริการส่วนควบเพิ่มขึ้นอีก อาทิ การให้บริการอาหาร ซึ่งจัดบริการแบบกลบกลืนกับธรรมชาติ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกรวมถึงประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้การล่องแพแก่งแม่ละเมา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล เป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากชมรมการท่องเที่ยวอำเภอแม่สอด ส่งเรือแคนนูและมีเรือยาง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมาจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกของกลุ่มในการล่องแก่งอยู่เสมอ

               การทำการตลาดของกลุ่มพะวอการท่องเที่ยวมีการดำเนินงานโดยการส่งเสริมการขายที่มุ่งลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ดึง (Pull Strategy) คือ การจัดกิจกรรมการตลาดที่ดึงผู้ซื้อหรือผู้ใช้ให้เกิดความสนใจ ความต้องการซื้อ และเข้ามาหาผู้ขาย ซึ่งจะเน้นที่การส่งเสริมการขายโดยมุ่งที่ผู้ซื้อคนสุดท้ายก็คือนักท่องเที่ยวนั่นเอง เช่น การลดราคา การให้ของขวัญพิเศษ การจัดแสดงสินค้าและจัดนิทรรศการในสถานที่ที่ให้บริการ และมีการให้ข่าวการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กระตุ้นความต้องการซื้อ และการยอมรับของลูกค้าโดยการสร้างข่าวเกี่ยวกับการบริการล่องแพของกลุ่มพะวอการท่องเที่ยวที่มีเพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากการล่องแพขึ้นมาเป็นการเดินป่าและการปั่นจักรยานเสือภูเขา

               กลุ่มพะวอการท่องเที่ยวจากเดินเมื่อเริ่มตั้งกลุ่มนั้นมีการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานซึ่งสอดคล้องกับบริบทชุมชนเป็นหลัก เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง นับตั้งแต่ของการใช้เรือแพไม้ไผ่ มาเป็นเรือยาง และมีอุปกรณ์เสริมทางด้านความปลอดภัย รวมถึงการให้ความมั่นใจโดยการอบรมด้านความปลอดภัยให้กับผู้ให้บริการมากมาย อาทิเช่น จัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมาให้บริการ จัดอบรมผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการปลอดภัยสูงสุด ให้บริการโดยสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ผู้ให้บริการสามารถริการเพื่อบำบัดความต้องการของลูกค้า บริหารระดับความพึงพอใจของลูกค้าหลังจากได้รับบริการไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 38960เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ประเด็นนี้น่าสนใจครับอาจารย์...ที่ชุมชนสามารถจะจัดการทุนตนเองได้อย่างอิสระ และได้ประโยชน์สูงสุด...เรื่อง ของการท่องเที่ยวหากเรามีกระบวนการพัฒนาชุมชน ด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการชุมชน และเป็นไปเพื่อการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ ตลอดจนถึง การพัฒนาศักยภาพคน ผ่านกระบวนการพัฒนาด้วย เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและต้องทำอย่างรีบด่วนในพื้นที่มีทุนสูงและสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าไปของนักท่องเที่ยวที่ไร้จิตสำนึก ...เหตุเพราะเราต้านกระแสการท่องเที่ยวหลักไม่ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท