การพัฒนาสมรรถนะครู


Competency

    เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาร่วมสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) ร่วมกันจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดการพัฒนาสมรรถนะครู ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ เชิงสะพานกรุงธน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ ปลัดกระทรวง รองกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ศธ.รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ ,รศ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์,รศ.ดร.สุนทร โคตรบรรเทา และ ข้าราชการครูแห่งชาติ ครูต้นแบบอีกมาก  ในภาพรวม ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดียิ่งในการเริ่มต้นพูดคุยกันถึงเรื่อง ทิศทางการพัฒนาครู  อย่างแท้จริง ซึ่งกลั่นมาจากพื้นฐานของปัญหาที่เกิดจากการที่ครูต้องถูกบังคับใช้มาตรฐานการประเมินที่มากมายจนกระทบกับกับงานการเรียนการสอน ไม่ว่า จะประเมินเพื่อประกันคุณภาพ ประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ หรือเพื่อการรับรองสายวิชาชีพก็ตาม ข้อสรุปที่ได้ คือ มีความเห็นร่วมกันที่สมควรจะบูรณาการมาตรฐานต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้มากที่สุดโดยมีความสุขกับการเรียนการสอน  ทั้งนี้  ได้มีการนำเสนอแนวทางการพัฒนาครู ตามหลักการ แนวคิดสมรรถนะ (Competency) ว่าจะมีการกำหนดระบบที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมได้อย่างไร  ซึ่งเรื่องนี้ถือว่า สำคัญมากที่จะต้องคอยติดตามดูว่า  จะเกิดมักเกิดผลให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติกันอย่างไรต่อไป  เพราะปริมาณครูถึง 5-6 แสนคนนั้นไม่ธรรมดาแน่นอน  เป้าหมายสำคัญก็คือ จะทำอย่างไรให้ครูทุกคน  มีประวัติสมรรถนะ (Competency Profile) ได้ครบถ้วนทุกตัวคน  เพราะข้อมูลนี้จะสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลครูในเรื่องต่างๆได้อย่างหลากหลาย  เช่น การพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถ การเข้าสู่ตำแหน่ง กำหนดอัตรากำลัง เลื่อนวิทยฐานะ และที่สำคัญคือจะกำหนดระบบความก้าวหน้าในสายอาชีพของครูให้ชัดเจน (Career parth) รวมถึงงาน HRD ของครูด้านอื่นๆ

           เงื่อนไขความสำเร็จ เรื่องนี้นั้น  ผู้เขียนขอเสนอความคิดร่วมที่คิดว่าจะทำให้ "ฝัน"เป็นจริงได้  ก็คือ  ต้องเอาจริง : คือผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ควรกำหนดเป็นนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนว่า จะมุ่งพัฒนาครู ตามแนวทางสมรรถนะ (CBA : Competency Based Approach) อย่างจริงจัง และในแผนยุทธศาสตร์ของระดับใดก็แล้วแต่ ควรกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักที่แน่นอนว่าจะมุ่งเน้นดำเนินการเรื่องนี้  ผู้บริหารระดับล่างๆลงมาจึงจะปฏิบัติตาม   อีกประการก็คือ  ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับ    คือ ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ  สุดท้ายขอฝากแง่คิดไว้  สมรรถนะ (Competency) เป็นของฝรั่งคิด  ผู้รู้ ผู้นำมาใช้ต้องชัดเจนในหลักการและแนวคิดเพียงพอที่จะประยุกต์ และบูรณาการเพื่อให้เข้ากันได้กับวัฒนธรรมการเป็นครูไทยได้ ให้ครูพึงพอใจ นั่นแหละ จึงจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง   

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3895เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2005 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และควรพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท