กฎหมายการเงินระหว่างประเทศที่มีเกี่ยวข้องต่อธุรกิจสื่อสารมวลชน(การบ้านครั้งที่4)


กฎหมายการเงินระหว่างประเทศคืออะไร

หากจะกล่าวถึงการพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศหรือการส่งเสริมการลงทุนจากภาคต่างประเทศนั้นจะต้องพิจารณากฎหมายการลงทุนนอกจากนี้กฎหมายอีกประเภทหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้คือกฎหมายการเงิน กฎหมายการเงินคือกฎหมายซึ่งรัฐหนึ่งๆสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ(Credibility)ของการดำเนินนโยบายด้านการเงินในประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเเละในประเทศเองให้มาลงทุนในประเทศ นอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ฉะนั้นประเทศต่างๆจึงพัฒนาระบบกฎหมายการเงินของเเต่ละประเทศให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของเเต่ละประเทศนั่นเอง โดยประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ตั้งเเต่อดีต เเละได้พัฒนาเรื่อยๆมา

กฎหมายการเงินระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อนักลงทุนอย่างไร

เนื่องจากตัวกฎหมายหรือนโยบายทางการเงินมีที่มาจากฐานของสภาพเศรษฐกิจในประเทศขณะนั้นเป็นหลัก เช่น พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน และร่าง พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น การที่นักลงทุนจากต่างชาติที่จะพิจารณาเข้ามาลงทุนนั้นจึงจะต้องพิจารณากฎหมายการเงินเป็นสำคัญว่าเหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่ ฉะนั้นปัญหาหรืออุปสรรคการเงินในประเทศจึงส่งผลกระทบต่อการลงทุน เช่นปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ปัญหาการไหลเข้า-ออกของเงินทุน ปัญหาภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้นโยบายทางการเงินแบบ Flexible Inflation Targeting โดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเเทนปริมาณเงิน เนื่องจากมีประสิทธิผลมากกว่า และเป็นตัวบ่งชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าด้วย

การเข้ามาของบรรษัทข้ามชาติ(สื่อสารมวลชน)กับธุรกิจการเงินระหว่างประเทศ

การเข้ามาของบรรษัทข้ามชาติทางด้านสื่อสารมวลชนส่วนใหญ่จะเป็นบรรษัทต่างชาติที่มีความเข้มเเข็งทางด้านการเงินสูงมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น เช่น กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ หรือ กลุ่มบริษัทของนอร์เวย์ที่เข้ามาซื้อหุ้นของดีเเทค เป็นต้น ดังนั้นการที่จะเข้ามาลงทุนดังกล่าวต้องพิจารณากฎหมายเเละธุรกิจการเงินของประเทศเป็นสำคัญ เช่น เเนวโน้มของร่างกฎหมายการเงินระหว่างประเทศในอนาคต ความผันผวนของอัตราเเลกเปลี่ยน การเปิดเสรีทางการเงินทำให้ต้นทุนของเงินทุนตำลง ตลาดเงินเเละตลาดทุนมีการรวมตัวอย่างไร อัตรางินเฟ้อ เเละความต้องการของตลาดด้านอุปสงค์อุปทาน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นข้อพิจารณาทั้งสิ้น ทั้งนี้ภาครัฐเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความใส่ใจกับสภาพปัญหาเหล่านี้ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ไม่เพียงเเต่เพื่อการลงทุน เเต่เพื่อความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ

หมายเลขบันทึก: 38929เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 04:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท