การเพาะเลี้ยงไส้เดือน


ไส้เดือน

วิธีการเลี้ยงไส้เดือนโดยใช้เศษอาหารเลี้ยง เพื่อนำตัวไส้เดือนมาใช้ประโยชน์เอง หรือนำปุ๋ยที่ได้มาใช้ประโยชน์เอง
             ผสมดิน 80% ผสมกับ มูลสัตว์ 20% จึงทำการปล่อยไส้เดือนลงไปตรงกลาง แล้วจึงเริ่มให้อาหารควรให้อาหารแต่พอเหมาะขุดดินตื้นๆและกลบฝังอาหารไว้ ควรตรวจดูทุกๆ 7 วัน ว่าอาหารที่ให้นั้นหมดหรือยัง ถ้าหมดแล้วจึงค่อยให้เพิ่ม ควรเปลี่ยนตำแหน่งการให้อาหารไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันมิให้เบดดิ้งบริเวณนั้นๆเกิดกรดเร็วเกินไปโดยทั่วไปแล้ว ไส้เดือนกินอาหารอินทรีย์ได้ทุกชนิด ไม่เพียงแต่เศษอาหารเหลือจากครัวเรือนที่ท่านสามารถให้แก่ไส้เดือน แต่ท่านยังสามารถให้อาหารเหล่านี้ด้วย: เศษฟาง หญ้าแห้ง ใบไม้ เศษซากพืช ซากสัตว์ เศษผัก ผลไม้


การคัดแยกไส้เดือน

มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความสะดวกของผู้เลี้ยงไส้เดือน ปริมาณไส้เดือนที่เลี้ยง และความเอื้ออำนวยของสถานที่จัดการ วิธีการด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลายวิธีที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการคัดแยกไส้เดือนได้
วิธีที่หนึ่ง:
             ท่านที่เลี้ยงไส้เดือนปริมาณไม่มากในภาชนะ ท่านสามารถคัดแยกไส้เดือนโดยวิธีการนี้
นำผ้าพลาสติก 1 ผืนมาปูบนพื้น โดยทำกลางแสงแดด จากนั้นนำเบดดิ้งที่มีไส้เดือนอาศัยอยู่ มาเทกองเป็นภูเขาลูกเล็กๆ หลายๆกอง บนผ้าพลาสติกที่ปูไว้
ซึ่งโดยธรรมชาติของไส้เดือนแล้ว ไส้เดือนจะกลัวแสงแดดและมุดหนีลงด้านล่างหากถูกแสง จากนั้นจึงปล่อยทิ้งไว้ 20 นาที จึงทำการปาดดินจากส่วนผิวด้านบนออกทีละน้อย จนเมื่อเจอไส้เดือนเมื่อใด จึงหยุดปาดผิวดินและปล่อยทิ้งเอาไว้อีกประมาณ 20 นาทีเพื่อรอให้ไส้เดือนได้มุดลงด้านล่างท่านจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง ในที่สุดแล้ว ไส้เดือนเกือบทั้งหมดมาขดรวมกันบริเวณด้านล่างของกองดิน ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวไส้เดือน นำไส้เดือนที่ได้ไปใส่ภาชนะเลี้ยงใหม่ต่อไปและเติมที่อยู่ในภาชนะใหม่ให้เต็ม
วิธีที่สอง:
             หยุดให้อาหารที่เลี้ยงไส้เดือนเป็นเวลา 10 วัน      หลังจากนั้นดันเบดดิ้งเก่าไว้ด้านหนึ่ง  ไส่เบดดิ้งใหม่ลงไป ถัดจากเบดดิ้งเก่า เมื่อถึงเวลารดน้ำ ให้รดน้ำเฉพาะบริเวณเบดดิ้งใหม่และงดให้น้ำหรืองดให้อาหารบริเวณเบดดิ้งเก่าปล่อยทิ้งเอาไว้เช่นนี้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ ซึ่งหลังจากนี้ไส้เดือนเกือบทั้งหมดจะมาอาศัยที่เบดดิ้งใหม่แทนจึงทำการเก็บที่อยู่เก่าเพื่อนำมูลไส้เดือนไปใช้ประโยชน์
วิธีที่สาม:
             ใช้เครื่องคัดแยกมูลไส้เดือน วิธีการนี้เหมาะสำหรับฟาร์มใหญ่ๆที่ต้องคัดแยกเบดดิ้งไส้เดือนในปริมาณมาก

 วิธีการทำน้ำหมักมูลไส้เดือนเพื่อใช้เองในครัวเรือน
อุปกรณ์
- ถังขนาดเล็ก 1 ใบ
- ตะแกรงที่กรอง 1 อัน
- ไม้สำหรับกวนน้ำหมักมูลไส้ดือน 1 อัน
- เครื่องให้อากาศอ็อกซิเจน (สำหรับใช้ในตู้ปลาได้) และหัววาวต่างๆ เพื่อต่อลม ออกซิเจน
- กากน้ำตาล หรือ น้ำตาลทราย
วิธีการ
- ใส่มูลไส้เดือนลงไปในถัง ประมาณครึ่งหนึ่งของถัง โดยกลบทับหัวออกซิเจนซึ่งฝังอยู่ด้านล่าง
- เติมน้ำบาดาลหรือน้ำฝนลงไปโดยให้ท่วมเหนือมูลไส้เดือนประมาณ 2-3 นิ้ว
- เปิดเครื่องให้ออกซิเจน
- เติมกากน้ำตาลลงไป 120 ซีซี จากนั้นจึงใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
- พยายามกวนน้ำหมักวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆจากมูลไส้เดือนผสมเข้าไปในน้ำ
- หลังจากนั้น 3 วัน จึงนำหัวท่อให้ออกซิเจนออกจากถัง และปล่อยทิ้งเอาไว้ 10 ถึง 20 นาทีเพื่อให้น้ำหมักตกตะกอน
- จึงทำการกรองเอาเศษตะกอนออก และนำน้ำหมักที่ผ่านการกรองแล้ว ไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยอัตราส่วนการใช้คือ ผสมน้ำหมักมูลไส้เดือน 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร

ลักษณะทั่วไป       

- ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ในไฟลัม แอนเนลิดา (Phylum Annelida)        คลาส โอลิโกคี

    ตา ( Class Oligochaeta) 

-  ลักษณะเด่นของสัตว์ในไฟลัมนี้คือลำตัวเป็นปล้อง (segment) เรียงต่อกัน ปล้อง

   ของไส้เดือนดินแต่ละปล้องมีความกว้างใกล้เคียงกันไส้เดือนดินทั่วโลกมีหลายพัน 

   ชนิด ส่วนมากอาศัยอยู่บนบกในดินที่ค่อนข้างชื้นและมีอินทรียวัตถุ

- ไส้เดือนดินในเมืองไทยที่สามารถพบได้นั้นมีหลายชนิดแต่ชนิดที่ใหญ่และหาง่าย

    ตามดินร่วยซุยชื้นๆ มักเป็นชนิด  Pheretima peguana และ Pheretima posthuma  

    ซึ่งมีลักษณะต่างๆ คล้ายกันมาก

- ไส้เดือนดินในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่เป็นไส้เดือนในวงศ์ Lumbricidae

- ไส้เดือนดินในทวีปอาฟริกาคือไส้เดือนดินวงศ์ Eudrilidae

 

หมายเลขบันทึก: 389140เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท