ลิ เกฮูลู..การละเล่นภาคใต้...


ลิ เกฮูลู..การละเล่นภาคใต้...

ลิเกฮูลูคืออย่างไร

ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด
งาน เมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า "ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย
มี ความหมาย ๒ ประการ คือ
    ๑. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกร์เมาลิด"
    ๒. กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า "ลิเกฮูลู"
บ้างก็ว่าได้รับแบบอย่าง มาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก เรียกว่า มโนห์ราคนซาไก
บ้างก็ว่าเอาแบบอย่าง การเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย

นี่คือความหมายที่มาจากฟากนัก วิชาการ
ทว่า ในความเชื่อของชาวบ้านอย่าง เจะปอ สะแม หัวหน้าคณะลิเกแหลมทราย
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่โด่งดังมาจากภาพยนตร์โฆษณาชุด 'สำนึกรักบ้านเกิด'
กลับต่างออกไป โดยเจะปอให้ความหมายว่า

 "ฮูลู หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู
เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็น การละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล แต่ในมาเลย์เรียกลิเกปารัต
ซึ่งปารัตแปล ว่า ทิศตะวันตก คือคนมาเลย์รับศิลปะนี้ไปจากปัตตานี
ที่อยู่ทางทิศตะวัน ตกของเขา
ที่มาเลย์เลยเรียกว่า ลิเกปารัต แต่รูปแบบไม่ต่างกันเลย"

หัว หน้าคณะคนเดิมเล่าว่า การแสดงลิเกฮูลู มีต้นเค้ามาจากการละเล่นของชาวบ้าน
ที่ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน และมีกิจกรรมร่วมกันคือการร้องเพลงในตอนเย็น
อุปกรณ์ให้จังหวะคือภาชนะ ที่หาได้ใกล้มือ จำพวก หม้อ กระทะ คนหนึ่งร้อง คนหนึ่งเคาะ
อีกหลายๆ คนช่วยกันประสานเสียง ต่อมาก็พัฒนาให้มีเครื่องดนตรี ที่ใช้กันทั่วไปคือ
แซ็ก ฆ้อง ขลุ่ย และรำมะนา

สำหรับรูปแบบการละเล่น จะคล้ายกับการแสดงลำตัดหรือเพลงฉ่อยในภาคกลาง
กล่าวคือ การตั้งวงของแต่ละคณะ จะมีสมาชิกที่เป็นลูกคู่ประมาณ 10 คนขึ้นไป
ผู้ ร้องเพลงและผู้ขับร้องมีประจำคณะอย่างน้อย 2-3 คน และถ้าผู้ชมคนใดสนใจอยากร่วมแสดง
หรือเสนอความคิดเห็น ก็สามารถขึ้นไปสมทบบนเวทีได้

ส่วนเครื่องแต่งกายจะนิยมใช้เสื้อผ้า สีสันสดใส เดิมมีผ้าโพกหัว สวมเสื้อคอกลม
และนุ่งโสร่งแบบมุสลิม
มี บางครั้งที่อาจจะเหน็บขวานมาแสดง ทั้งนี้เพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้
แต่ใน ปัจจุบันการแต่งกายเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม โดยมากจะแต่งกายเหมือนกันทั้งคณะ

เอกลักษณ์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแสดงลิเกฮูลูก็คือ
การขับร้องพร้อมแสดง ท่วงท่าประกอบ

"ท่าร่ายรำจะบ่งบอกถึงธรรมชาติ และการห่วงหาอาทรต่อกัน เช่น การทำมือเป็นลูกคลื่น
ท่ากวักมือเพื่อชัก ชวนพี่น้องที่ไปอยู่ในมาเลเซียให้กลับมายังบ้านเกิด ท่าปลาแหวกว่าย
ท่า ชักอวน คือจะประกอบกับการตบมือเป็นจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน"
หัวหน้า คณะลิเกแหลมทรายเล่า พร้อมอธิบายต่อว่า

เวลาทำการแสดงจะต้องเริ่ม ด้วยการโหมโรงดนตรีเพื่อปลุกเร้าหรือเรียกผู้ชม
เมื่อพร้อมแล้วก็ทำการ แสดง โดยว่าเพลงกลอนไปตามเนื้อหา
หากใครมีข้อโต้แย้งก็ให้แสดงความคิด เห็น เป็นการปะทะคารมกันคล้ายโต้วาที
ซึ่งความสนุกสนานจะแฝงอยู่ตรงนี้

"เนื้อหา ที่เอามาร้องโต้กันจะเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรืออาชีพ เช่น ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเก็บเกี่ยวปีนี้ได้ผลดี
เพราะมีน้ำใช้ตลอดปี อีกฝ่ายก็อาจจะร้องว่า ทำนาไม่ได้ เพราะที่นาอยู่ห่างไกล ไม่มีน้ำใช้
ราย ได้เลยไม่งอกเงย อะไรทำนองนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน" เจะปอ บอก

 

ดีเกฮูลูเป็นศิลปะการแสดงในสมัยก่อนคนเก่าคนแก่ กำเนิดของดีเกฮูลูเกิดขึ้นที่บ้านกายูบอเกาะ(บ้านจือนาแร) หมู่บ้านกายูบอเกาะ ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
          ดีเกฮูลูมีการโหมโรงเครื่องรำมะนา (เรียกว่า ตาโบ๊ะ) และเพลงปันตง ดีเกฮูลูรวมเพลงอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน จบเพลงแล้วมีกาโระ(การโต้ตอบ) เป็นเรื่อง ๆ จบด้วย วาบูแล คำว่า "วา" แปลว่า ว่าว "บูแล" แปลว่า วงเดือน รวมกันแล้วแปลว่า ว่าววงเดือน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของดีเกฮูลู คำว่า "ดีเก" คนไทยทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ลิเก  คำวา "ฮูลู" แปลว่า ใต้ เพราะฉะนั้น ดีเกฮูลูจึงแปลว่า ลิเกของภาคใต้ ถ้าเพลงที่ร้องจบด้วยคำว่า "วาบูแล" เป็นอันว่าจบเพลง

          เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นดีเกฮูลู มีทั้งหมด 8 ชิ้น คือ

  ภาษาไทย ภาษามลายู จำนวน
1 รำมะนาใหญ่ บานอร์อีบู 1 ลูก
2 รำมะนาเล็ก บานอร์อาเนาะ 1 ลูก
3 ฆ้อง โฆ่ง 1 ใบ
4 ฉิ่ง อาเนาะอาแย 1 คู่
5 ฉาบ กายูตือโป๊ะ 1 คู่
6 โม่ง ม่อง 1 วง
7 ขลุ่ย ปูลิง 1 เลา
8 ลูกแซด เวาะลอมา 1 คู่

          ดีเกฮูลู ในสมัยก่อนเจ้าเมืองรามัน เจ้าเมืองปัตตานี เรียกว่า 7 หัวเมือง ใช้ดีเกฮูลูสำหรับทำพิธีในงานใหญ่ ๆ ส่วนในปัจจุบันใช้ในงานต่าง ๆ

                                      ข้อมูลโดย : นายยูโซ๊ะ อุมาร์ (ยูโซ๊ะ บ่อทอง ปัตตานี)

เชิญคลิคชมภาพวีดีโอตัวอย่างจากโฆษณาสำนึกรักบ้านเกิด

http://www.rakbankerd.com/live/sn7.html

"...บ้านใครใครก็รัก บ้านใครใครก็หวง เต่าเล ปะการัง กุ้งกั้ง เราก็ห่วง
โอะ โอ้ โอะ โอ กือเละมารี กลับมา มาช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลทะเลบ้านเรา..."

ข้อมูลจาก www.pattanitoday.com
www.rakbankerd.com
www.moradokthai.com
และ ภาพประกอบจาก www.tourthai.com

และ http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=2057.msg46860#msg46860


หมายเลขบันทึก: 388404เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

อ่านบทความข้างบน แล้วมาตั้งคำถามแล้วตอบ ด้วย นะจ๊ะ ห้าม ก๊อบปี้คนข้างบนมาส่งเด็ดขาด

ลบเหมื่อนเดิม นะ

นาย สุระ สินธุยศกุล เลขที่21 ม.6

1.คำว่า "ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย

มี ความหมาย กี่ ประการ อะไรบ้าง

ตอบ 2ประการ

๑. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกร์เมาลิด"

๒. กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า "ลิเกฮูลู"

บ้างก็ว่าได้รับแบบอย่าง มาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก เรียกว่า มโนห์ราคนซาไก

บ้างก็ว่าเอาแบบอย่าง การเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย

นางสาว ศศิธร ชาญศรีภิญโญ ม.6เลขที่22

1.คําว่า"ฮูลู"หมายถึง อะไร?

ตอบ หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู

เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็น การละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล

แต่ในมาเลย์เรียกลิเกปารัตซึ่งปารัตแปล ว่า ทิศตะวันตก คือคนมาเลย์รับศิลปะนี้ไปจากปัตตานี ที่อยู่ทางทิศตะวัน ตกของเขา .

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สวัสดีครับลุงเดียร์

ลุงวอญ่า เคยมีเพื่อนร่วมรุ่น ศึกษาผู้ใหญ่ ที่ปากพะยูน ชื่อสุวิทย์ แซ่ว่อง จบรร.แล้วไม่เจอกันเลย 30 ปีมาแล้วครับ

นาย กนกพล ธีระธนานนท์ ม.6 เลขที่13

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นดีเกฮูลู มีทั้งหมด กี่ชิ้น

ตอบ .  8 ชิ้น คับ

น.ส พัชรา บุรีศรี เลขที่ 26 ม.6

"เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า" ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า ?

ตอบ "ดิเกร์เมาลิด"

นาย ฐาปนา แซ่ซำ เลขที่24 ม.6

กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า ?

ตอบ "ลิเกฮูลู"

นาย ณัฐสิทธิ์ จงสถิตย์ไพบูลย์ เลขที่ 27 ม.6

1.ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบชายแดนภาคใด .

 ตอบ ภาคใต้ .

นางสาว สุวรรณี ชำนิถิ่นเถื่อน ม.6 เลขที่28

1.ลิเกฮูลูคือ?

ตอบ ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด

นาย นัยวัต แซ่ล๊ก ม.6 เลขที่8

1. หัวหน้าคณะลิเกแหลมทราย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่โด่งดังมาจากภาพยนตร์โฆษณาชุด 'สำนึกรักบ้านเกิด'ชื่ออะไร

ตอบ เจะปอ สะแม

นางสาว กมลรัตน์ ปานทอง ม.6 เลขที่ 20

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นดีเกฮูลู รำมะนาเล็ก บานอร์อาเนาะใช้กี่ลูก ?

ตอบ 1 ลูก

นาย วิภพ แซ่เบ้ ม.6 เลขที่30

ดีเกฮูลูเป็นศิลปะการแสดงในภาคใต้ อยากทราบว่ากำเนิดของดีเกฮูลูนั้นเกิดขึ้นที่ใด

ตอบ เกิดขึ้นที่บ้านกายูบอเกาะ(บ้านจือนาแร) หมู่บ้านกายูบอเกาะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

นายสิทธิชัย แซ่หวาง

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นดีเกฮูลู มีทั้งหมด 8 ชิ้น คือ

ตอบ 1 รำมะนาใหญ่ บานอร์อีบู 1 ลูก

2 รำมะนาเล็ก บานอร์อาเนาะ 1 ลูก

3 ฆ้อง โฆ่ง 1 ใบ

4 ฉิ่ง อาเนาะอาแย 1 คู่

5 ฉาบ กายูตือโป๊ะ 1 คู่

6 โม่ง ม่อง 1 วง

7 ขลุ่ย ปูลิง 1 เลา

8 ลูกแซด เวาะลอมา 1 คู่

วรากร นฤนาทมิ่ง ม.6 เลขที่ 11

เอกลักษณ์ที่สำคัญของการแสดงลิเกฮูลูคือ อะไร

ตอบ การขับร้องพร้อมแสดง ท่วงท่าประกอบ

นาย นักรบ วุฒิโอภาส

ถ้าหากจะจัดเป็นคณะลิเกฮูลูอย่างน้อยต้องมีนวนสมาชิกกี่คน

ตอบ 10 คนขึ้นไป

นนท์ กฤดาภินิหาร 3 ม.6

เครื่องแต่งกายจะนิยมใช้เสื้อผ้า แบบใด

ตอบ สีสันสดใส เดิมมีผ้าโพกหัว สวมเสื้อคอกลม

และนุ่งโสร่งแบบมุสลิม

ทวี รุ่งเรืองทองทวี ม.6 เลขที่23

เครื่องดนตรี ที่ใช้กันทั่วไปคือ
ตอบ แซ็ก ฆ้อง ขลุ่ย และรำมะนา

นาย ศิลป์ชัย นิมิตรพงศ์ธร ม.6 เลขที่29

ลิเกฮูลูมีผู้ขับร้องประจำคณะอย่างน้อยกี่คน

ตอบ 2-3คน

นาย ฑัตพล พิพัฒน์จรัส ม.6 เลขที่ 7.

ส่วนเครื่องแต่งกายจะนิยมใช้เสื้อผ้าลักษณะใด

ตอบ สีสันสดใส เดิมมีผ้าโพกหัว สวมเสื้อคอกลม และนุ่งโสร่งแบบมุสลิม

นาย ประสิทธิ์ ชินวรพิทักษ์ ม.6 เลขที่10

ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย มี ความหมาย ๒ ประการ คืออะไร

ตอบ. ๑. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกร์เมาลิด"

        ๒. กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า "ลิเกฮูลู"

         http://gotoknow.org/blog/artm6/388404

น.ส. นภัสวรรณ วงศ์วาณิชย์ศิลป์ เลขที่ 16 ม.6

จานอันข้างบนนั้นของหนูนะลืมเขียนชื่อ

ลิเกฮูลู การละเล่นพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ได้รับความนิยมมากของชาวใด

ตอบ ชาวไทยมุสลิม

นางสาว ธัญลักษณ์ แซ่ตั้ง ม. 6 เลขที่ 12

การแสดงลิเกฮูลู มีต้นเค้ามาจากอะไร

ตอบ  การละเล่นของชาวบ้านที่ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน

นาย อาทิตย์ แซ่ตั้ง ม.6 เลขที่ 1

การแสดงลิเกฮูลู มีต้นเค้ามาจากการละเล่นของชาวบ้านที่ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน และมีกิจกรรมร่วมกันคือการร้องเพลงในตอนเย็น อุปกรณ์ให้จังหวะมี อะไรบ้าง ?

ตอบ ภาชนะ ที่หาได้ใกล้มือ จำพวก หม้อ กระทะ คนหนึ่งร้อง คนหนึ่งเคาะ อีกหลายๆ คนช่วยกันประสานเสียง

น.ส. วันดี แซ่เยี่ยง เลขที่19 ม.6

ผู้ที่เล่น ลิเกฮูลูนั้น มี10คนขึ้นไป แต่มีข้อบังคับว่าต้องเพศใดเท่านั้น

ตอบ ต้องเป็นชายล้วน

นางสาว ปิยนุช แซ่ชั้น ม. 6 เลขที่ 2

ถ้ามีคำว่า"วาบูแล" หมายความว่าอะไร

ตอบ จบเพลง

นางสาว กนกวรรณ แซ่หวอง ม. 6 เลขที่ 18

ปารัตแปลว่าอะไร

ตอบ  ทิศตะวันตก

นางสาว โสภา แซ่ว่าง เลขที่32 ม.6

เนื้อหา ที่เอามาร้องโต้กันจะเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรืออาชีพ เช่น

ตอบ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเก็บเกี่ยวปีนี้ได้ผลดี

เพราะมีน้ำใช้ตลอดปี อีกฝ่ายก็อาจจะร้องว่า ทำนาไม่ได้ เพราะที่นาอยู่ห่างไกล ไม่มีน้ำใช้

ราย ได้เลยไม่งอกเงย อะไรทำนองนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน" เจะปอ บอก

นาย ปรีชา แซ่เจิ้ง เลขที่4 ม.6

รูปแบบการละเล่น จะคล้ายกับการแสดงของภาคใด

ตอบ ลำตัดหรือเพลงฉ่อยในภาคกลาง

หมดเวลาการส่งงาน ละ

แต่ส่งหลังจากปิดแล้วก็ได้นะ

แต่ได้ครึ่งราคา หรือ 0

นางสาวโชติกา แซ่เจียง เลขที่34 ม.6

1. ท่าร่ายรำจะบ่งบอกถึงธรรมชาติ และการห่วงหาอาทรต่อกันมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ตอบ การทำมือเป็นลูกคลื่น ท่ากวักมือเพื่อชัก ท่าปลาแหวกว่าย

นาย ปกรณ์ ตันสกุล เลขที่15

สิ่งที่ทำให้ ลิเกฮูลู สนุกสนามคือ

ตอบ การปะทะคารมกันคล้ายโต้วาที

ซึ่งความสนุกสนานจะแฝงอยู่ตรงนี้

นาย มงคล เลี้ยงพันธุ์สกุล เลขที่ 5

เอกลักษณ์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแสดงลิเกฮูลูคืออะไร

ตอบ การขับร้องพร้อมแสดง ท่วงท่าประกอบ

น.ส. วิภาวรรณ แซกง เลขที่ 9 ม.6

1. การละเล่นลิเก ฮูลุต้องแต่งกายอย่างไร จึงถูกวัฒนธรรมการละเล่ของภาคใต้

ตอบ เครื่องแต่งกายจะนิยมใช้เสื้อผ้า สีสันสดใส เดิมมีผ้าโพกหัว สวมเสื้อคอกลม

และนุ่งโสร่งแบบมุสลิม

วรวิช เลี้ยงพันธุสกุล

เอกลักษณ์ ที่สำคัญของการแสดงลิเกฮูลูคืออะไร

ตอบ ขับร้องพร้อมแสดง ท่วงท่าประกอบ

นาย รัฐวิกร ก่อปฏิภาณ เลขที่ 31

อำเภอ ใด เป็นแหล่ง กำเนิด ลิเก ฮูลู

ตอบ . อำเภอ รามัน

นาย โชคชัย แซ่พาน เลขที่25

เอกลักษณ์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแสดงลิเกฮูลูคืออะไร

ตอบ การขับร้องพร้อมแสดง ท่วงท่าประกอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท