ข้อสังเกตจากการสอนหัวข้อทฤษฎีการพัฒนา


ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 12 กรกฎาคม 2549

หัวข้อ ทุนนิยม ทันสมัยนิยมและการพึ่งพิง

         1.    การมอบหมายงานให้นักศึกษาอ่านก่อนเข้าห้องเรียน ทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการถกเถียงเนื้อหาทางทฤษฎีได้อย่างเข้มข้นพร้อมกับการตอบโต้กับประเด็นที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตต่างๆเกี่ยวกับทฤษฎีทั้งในแง่เนื้อหา และพลังการอธิบายสภาพความเป็นจริงในยุคที่แนวคิดทุนนิยม ทฤษฏีความทันสมัย และการพึ่งพาเกิดขึ้น รวมทั้งการอธิบายความเป็นจริงในยุคปัจจุบัน

         2.    นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นในชั้นเรียนค่อนข้างสูงพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบการอภิปราย โดยเฉพาะในส่วนที่นำแนวคิดบางอย่างไปประยุกต์ใช้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาของไทยด้านต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอทางออกบางประการเกี่ยวกับปัญหาด้านการพัฒนาในปัจจุบัน

          3.   การที่นักศึกษามีความสนใจในการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้มากที่สุด ทำให้ในหลายๆครั้งนักศึกษาจะใช้สามัญสำนึกในการอธิบายมากกว่าจะนำเนื้อหาทางทฤษฎีไปใช้จริง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้นักศึกษาละเลยที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาสารัตถะสำคัญของตัวทฤษฎีไป 

หมายเลขบันทึก: 38835เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

    มีโอกาสทีดีได้เข้ามาส่วนร่วมในการเรียนตามหลักสูตรดังกล่าว ประเด็นเรื่องทฤษฎีการพัฒนาสังคม โดยท่านอาจารย์เป็นผู้ดำเนินรายการ นั้น เป็นเรื่องเตรียมพื้นฐานสำคัญของการศึกษาโดยเฉพาะขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ แต่ด้วยพื้นฐานที่แตกต่างกันของผู้เข้าเรียนทั้งระดับการศึกษา  ที่มาของการศึกษาตามสาขาที่จบมา  ภูมิหลังการศึกษาด้วยตนเองในเรื่องราวต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะทำให้การแลกเปลี่ยนตามมีความจำกัดบ้าง การพูดคุยแลกเปลี่ยนจะจำกัดเพียงผู้ที่เคยมีประสบการณ์ที่เคยผ่านการเรียนมาในระดับ ป.โท หรือกรณีผู้ที่ผ่านการเรียนระดับ ป.ตรี ก็จะจบด้านสังคมศึกษา - ประวัติศาสตร์ จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากหน่อย แต่ทั้งนี้ก็ไม่อาจปฏิเสธเรื่องราวซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัว ข้อมูลเรื่องที่ตนเองประสบ หรือแม้กระทั้งสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบันก็ตามแต่ 

       มีน้องอย่างน้อย 3 คน ที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานด้านทฤษฎีการพัฒนาสังคมเลย อาทิ น้องไร จบ ป.ตรี ด้านเกษตร หรือ  น้องน.ศ.จากประเทศลาว ซึ่งทั้ง 2 คน ยังไม่เคยเรียนเรื่องทฤษฎีการสังคมในโลกตะวันตกที่เป็นระบบทุนนิยมอันครอบนำเกือบทั่วโลกมากนักเพราะเขาเป็นประเทศปิด จะเรียนรู้ก็เพียงทางทฤษฎีค่ายสังคมนิยมและแนวนโยบายแห่งรัฐ น้องทั้ง 2 คนจะตามไม่ค่อยทัน ก็นำไปสู่การแลกเปลี่ยนได้น้อยลง  

      การประยุกต์ทฤษฎีเชิงรูปธรรม ก็จะมีความจำกัดเพราะด้วยพื้นฐานและเข้าใจในสาระสำคัญในการวิเคราะห์ทฤษฎี บางครั้งก็ไม่สามารถทำได้ดีมากนักจึงกลายเป็นเรื่องความห็นส่วนตัวมากในบางครั้ง

      อย่างไรก็ตาม เรื่องแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคมเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ คนไม่ค่อยสนใจถ้าไม่ถูกบังคับให้ศึกษา  แต่กลับกันในชั้นเรียนกลับเป็นเรื่องที่สนุก มีความสุขเมื่อเรียน รู้สึกเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตนเองเหมือนได้กลับมาทบทวนความรู้ และรับรู้ข้อมมูลใหม่ นับว่าเป็นประโยชน์มาก คลายกับช่วงที่เรียนกับอาจารยบ์ ซู ซู เรื่องการจัดความรู้ก็เช่นกัน

     ข้อเสนอแนะ อยากให้ท่านอาจารย์ ช่วย ลงรายละเอียดว่าในช่วง - ยุคใด เกิดแนวคิดทางสังคม และทฤษฎีทางสังคมอะไรที่สำคัญ เส้นทางเดินของทฤษฎี และแนวคิดทางสังคมมีความเชื่อมต่อ ต่อเนื่องไปถึงยุคสมัยใด สุดท้ายเราสามารถแยกจำแนกออกเป็นแนวคิด ทฤษฎีสำนักใดบ้าง เพื่อเป็นพื้นฐานให้น้อง ๆ ในห้องได้ตามเนื้อหาอย่างเข้ามากยิ่งขึ้น 

     ขอขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ

          หลง ครับ นักศึกษที่แก่ที่สุดในห้องเรียน

ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับสำหรับข้อแนะนำและชี้แนะ ผมจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนและการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท