กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กศน.

นโยบายที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรียนฟรี 15 ปี กศน.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่จัดกิจกรรมต้องศึกษารูปแบบ วิธีการ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน

แนวทางเสริมสร้างให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

1. หลักการ

  จากการที่มีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดยสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายให้นักเรียน นักศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยส่วนหนึ่งได้จัดสรรเงินเป็นค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นสำนักงาน กศน. ได้กำหนดเกณฑ์กิจกรรมในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาในสังกัด ไว้ดังนี้

1.1  กิจกรรมค่ายวิชาการ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ความรู้ความสามารถใน  วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

1.2 กิจกรรมเรียนปรับพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานอ่อนได้มีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนต่อไปได้และทันกับผู้เรียนคนอื่นๆ

1.3  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ICT ) เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถด้าน ICT อย่างทั่วถึง

1.4   กิจกรรมจัดหาสื่ออุปกรณ์การสอนของครูหรือหนังสือที่นอกเหนือจากแบบเรียนเพื่อให้บริการในห้องสมุด

   โดยมีเงื่อนไขของการดำเนินงาน คือ ให้สถานศึกษามีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนองค์กรนักศึกษา ผู้แทนครูและผู้บริการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินงาน โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผู้เรียน และให้การเบิกจ่ายในการจัดกิจกรรมเป็นไปตามระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักความถูกต้อง ซื่อสัตย์ ประหยัด โปร่งใส พร้อมรับการครวจสอบ และไม่ให้สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้เรียน

 

2. งบประมาณ

   งบประมาณในแผนงานเสริมสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคมโครงการสนับสนุนการจัดการติดตามโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี หมวดเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีรายละเอียด ดังนี้

2.1  ระดับประถมศึกษา                      คนละ  140  บาทต่อภาคเรียน

2.2  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น              คนละ   290  บาทต่อภาคเรียน

2.3  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย          คนละ   290  บาทต่อภาคเรียน

2.4  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ          คนละ   530  บาทต่อภาคเรียน

3. วิธีดำเนินงาน

   จากกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย จึงได้กำหนดวิธีการดำเนินงานการจัดกิจกรรมต่างๆ ไว้ดังนี้

   3.1 กิจกรรมการเรียนปรับพื้นฐาน

          เป็นกิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานที่มีพื้นฐานความรู้ยังไม่เพียงพอต่อการศึกษาต่อในแต่ละระดับ โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

          1)   ให้สถานศึกษาจัดทำเครื่องมือทดสอบความรู้พื้นฐานผู้เรียนโดยเฉพาะรายวิชาหลัก

          2)   จัดให้มีการทดสอบความรู้พื้นฐานผู้เรียน เพื่อจักกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานต่ำให้ได้รับการเรียนปรับพื้นฐาน

          3)   รูปแบบการจักกิจกรรมการเรียนรู้ใช้การจัดการเรียนรู้แบบชั้นเรียน

          4)   วิทยากรหรือผู้สอน ควรเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์จากครู กศน. กรือบุคคลภายนอก ตามความเหมาะสม

          5)   ระยะเวลาการจักิจกรรม ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนแรกของภาคเรียน

  

3.2 กิจกรรมค่ายวิชาการ

          เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถในวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

          1)   พิจารณาจากสาระการเรียนที่ยาก และจำเป็นต้องสอนเสริม

          2)   พิจารณาจากความต้องการของผู้เรียน ที่จำเป็นต้องสอนเสริม

          3)   รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อาจใช้การจัดการเรียนรู้แบบชั้นเรียนการจัดฐานการเรียนรู้ หรือในลักษณะกิจกรรมบูรณาการ

          4)   วิทยากรหรือผู้สอน ควรเป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการสอนวิชานั้นๆซึ่งอาจจะเป็นครู กศน. หรือบุคคลภายนอกตามความเหมาะสม 

          5)   ระยะเวลาการจัดกิจกรรม ให้ดำเนินการในระยะเวลาตามความเหมาะสมนอกเวลาการพบกลุ่มปกติ

          6)   การเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

   3.3 กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ICT )

          เป็นกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( ICT ) ในการเรียนรู้หรือแสวงหาข่าวสารข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดไป โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

           1)   จัดการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่จะจบหลักสูตร กศน. ขั้นพื้นฐานทุกระดับ ที่ยังไม่มีความรู้ตามหลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

           2)    จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

           3)   การจัดการเรียนการสอนสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

                  - สถานศึกษา กศน.จัดเอง (หลักสูตรระยะสั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กศน.กำหนด)

                  - จัดร่วมกับเครือข่าย

                  - ทดสอบเพื่อประเมินและเทียบโอนความรู้ สำหรับผู้ที่มีความรู้ตามหลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐานอยู่แล้ว

            4)   ระยะเวลาจัดการเรียนการสอน ไม่น้อยกว่า 40 ชม. หรือเทียบเท่า

            5)   การเบิกจ่ายงบประมาณ ค่าตอบแทน ค่าวัสดุและค่าบำรุงรักษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด (ว่าด้วยการวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น)

   3.4 กิจกรรมการจัดหาสื่ออุปกรณ์การสอนของครูหรือหนังสือที่นอกเหนือจากแบบเรียนเพื่อให้บริการในห้องสมุดประชาชน

          เป็นการจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนหรือหนังสือที่นอกเหนือจากแบบเรียนเพื่อให้บริการในห้องสมุดประชาชน เพื่อให้ครูและนักศึกษามีสื่ออุปกรณ์หรือหนังสือเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยให้ดำเนินการในกรณีที่มีเงินเหลือจากการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนข้อ 3.1 - 3.4 แล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 387699เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท