ถอดบทเรียน "การผลิตมังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน" ตอน 2 : ทำ BAR


ภูมิใจ ที่มีมังคุดต้นใหญ่ อายุ 300 ปี ดิฉันกับสามี 2 คน ขึ้นต้นมังคุดต้นนี้คุยกันมีความสุข ทำงานไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
                              
           ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากการทำ BAR : Before Action Review ในการจัดกิจกรรมถอดบทเรียน "การผลิตมังคุดที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน" บันทึกนี้ต่อเนื่องมาจาก  ตอนที่ 1(อ่านบันทึก)  ซึ่งคุณกิจผู้เป็นเจ้าของสวนมังคุดส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน ผมทำ BAR โดยให้เขียนความรู้สึกลงบนบัตรคำใบน้อย  แต่ความหมายที่เขียนกันออกมาไม่น้อยเลยครับ ในตอนแรกหลายคนก็ไม่ค่อยอยากเขียน  บอกว่าไม่รู้จะเขียนอะไร  แต่ในที่สุดเมื่อผมให้ทำสมาธิคิดคนเดียวไม่คุยกัน หลายท่านก็เขียนกันขึ้นมาและพยายามเขียนด้วยความตั้งใจ  และถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกลึก ๆ ที่แท้จริง

                     

           บัตรคำใบน้อยจำนวนที่เขียนมา 18 ใบ ก็ไม่ได้เขียนเป็นคำหรอก  เขียนเป็นประโยคหลายประโยคบรรยายมาเลย  ทำให้เห็นภาพหลายประเด็น  และได้เรียนรู้ครับว่าจริง ๆ แล้วเจ้าของสวนนั้นรักสวนมังคุดของเขามากขนาดไหน มังคุดเป็นวิถีชีวิตของเขา ครอบครัวเขามีความสุขกับมันอย่างไร   
           ผมให้เจ้าของสวนแสดงความรู้สึกแบบพื้นฐานทั่วไปครับ  ว่า "ดีใจหรือภูมิใจอะไรกับสวนมังคุด  เสียใจอะไรกับสวนมังคุด" ผมให้ประเด็นแค่นี้ครับ  แต่ก่อนที่จะให้ประเด็นก็ทำให้ในเวทีเงียบและมีสมาธิ คิดถึงเรื่องราวครอบครัว ความสุข ความทุกข์ที่เชื่อมโยงมายังอาชีพสวนมังคุด และให้เวลาในการรำลึกและเขียนลงกระดาษ  เวทีเงียบทุกคนตั้งหน้าตั้งตาเขียน  บางคนเขียนไปยิ้มไป บางคนเขียนไปนึกไปปากมุบมิบ และทำให้เรารู้จักเจ้าของสวนมากขึ้นครับ
           " ดีใจ ที่มังคุดออกนอกฤดูกาล ราคาดี ดินฟ้าอากาศอำนวย
                  เสียใจที่แล้งไม่มีน้ำมาช่วย  ทำให้ได้มังคุดไม่ดีและไม่มีราคา
                    ภูมิใจ ที่มีมังคุดต้นใหญ่ อายุ 300 ปี ดิฉันกับสามี 2 คน
                       ขึ้นต้นมังคุดต้นนี้คุยกันมีความสุข ทำงานไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย"

                            (นี่เป็นบันทึกของแม่บ้านคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของสวนมังคุด)
           "การเริ่มต้นทำสวนมังคุด ตอนข้าพเจ้าเป็นเด็กอายุ 8 ปี ไปบ้านเพื่อนเขามีต้น
               มังคุดช่วงที่เป็นลูก  ข้าพเจ้าเก็บลูกมังคุดบ้านเพื่อนในขณะที่ของข้าพเจ้า
                  ไม่มีเลยตั้งความหวังว่าสักวันข้าพเจ้าต้องมีต้นมังคุดให้ได้ พอปี 2530
                     ข้าพเจ้าได้เริ่มปลูกมังคุด 70 กว่าต้น ดูแลเขาด้วยความภูมิใจ
                      ตอนนี้เขาได้รับผลแล้ว แต่บางครั้งก็ไม่สมอารมณ์บ้าง
                        เพราะตัวเราเองไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าดีใจมากเมื่อมังคุด
                          ราคาดี แต่ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวข้าพเจ้าเองโดยตรง "
                                   (นี่ก็อีกบันทึกหนึ่งที่เขียนบนบัตรคำ)
ความภูมิใจดีใจในบัตรคำที่เขียนออกมาบ่งบอกถึงว่ามังคุดนั้นต้องอยู่กับวิถีชีวิตเขาอีกยาวนาน แม้นราคาดีบ้างไม่ดีบ้าง  เพราะมันเป็นมรดกตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษแล้ว  ความเสียใจที่เสียใจมากก็คือ เมื่อต้นมังคุดล้ม หรือหักโคนตาย  เพราะกว่าจะเลี้ยงมันโตมาได้ใช้เวลาหลายปีใจหายมันเหมือนส่วนหนึ่งของครอบครัว  
           ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้  ทีมผมที่เดินทางไปช่วยกัน มี พี่สราวุธ พลสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาตร์และสารสนเทศ  น้องนิพนธ์ สุขสะอาด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ น้องนวพร สุขอนันต์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พี่ภาณุ ทำหน้าที่ขับรถให้กับทีม  ส่วนผมนั้นล่วงหน้าเข้าไปเตรียมการก่อนกับรถส่วนตัวร่วมกับน้องวรโยค นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ของสำนักงานเกษตรอำเภอลานสกา  

                    

ก่อนทำ BAR พี่สราวุธ พบปะกับพี่น้องเจ้าของสวนก่อนเล็กน้อย  ท่านเกษตรอำเภอลานสกาทักทายพี่น้องสั้น ๆ  โดยน้องวรโยค ทำหน้าที่พิธีกร หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ผมที่เริ่มกระบวนการทำ BAR และแบ่งกลุ่ม บอกคุณอำนวยประจำกลุ่มในประเด็นที่เราต้องการถอดจากที่บ่งชี้ไว้ก่อนหน้านี้  กระบวนการ BAR บอกอะไรหลาย ๆ อย่าง รวมกับการสังเกตุพฤติกรรมอื่น ๆ ผมก็ต้องปรับกระบวนการไปตามสถานการณ์ของจริง  และแบ่งกลุ่มย่อย  โดยแบ่งตามสีของสมุดปกอ่อนที่แจกให้  ซึ่งมี  3 สี และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
                                             กลุ่มแรกพี่สราวุธ ทำหน้าที่คุณอำนวย  
                                                 


                                           กลุ่มที่สอง น้องนิพนธ์ ทำหน้าที่คุณอำนวย 
 
                   

                               กลุ่มที่สาม น้องวรโยค ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย 

                   


                           คุณอำนวยครั้งนี้ทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตพร้อมกันไปด้วย
บรรยากาศของกลุ่มตอนแรก ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครพูด ผมเดินเวียนไปมาระหว่าง  3 กลุ่ม  เพื่อหาจังหวะกระตุ้นให้พูด และในที่สุดก็พูด เวทีเดินแล้วเริ่มสนุกกับการได้พูด แรก ๆ เขินบ้างเพราะเขายังฝังความเคยชินในความรู้สึกที่เคยถูกให้พูดเป็นทางการแบบห้องประชุม แต่เมื่อเป็นเวทีแบบจับเข่าคุยก็เริ่มมีความรู้สึกอยากบอกอยากแบ่งปันให้เพื่อน ได้รู้ในส่วนที่ตัวเองมี 
            มังคุดเมื่อมีการถอดบทเรียนจากเจ้าของสวนมีอีกมากมายที่ฝังลึกในตัวเจ้าของสวน โดยเฉพาะกับเจ้าของสวนแบบรับมรดกมาจากบรรพบุรุษ  เพราะเห็นมาตั้งแต่เด็ก จะตกผลึกความรู้มาก ๆ  สามารถเปรียบเทียบข้อมูลอดีตปัจจุบันได้ดี  ส่วนเจ้าของสวนที่สร้างเองก็รู้ลึกไปอีกแนวเพราะทำมากับมือและเรียนรู้ด้วยตัวเอง

 


การทำสวนยางพารา : การพิจารณาใส่ปุ๋ยยางที่กรีดแล้ว
ผมบันทึกไว้ที่นี่ >>การใส่ปุ๋ยยางพาราที่กรีดแล้ว
                                                                     ชาญวิทย์-นครศรีฯ
หมายเลขบันทึก: 386983เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 เรียนท่านอาจารย์ชาญวิทย์ที่นับถือ

    แวะมาทักทายและขอเรียนรู้ด้วยคนนะคะ มีประโยชน์มากค่ะ

สวัสดี พี่วิทย์

เยี่ยมมาก อาจารย์ ต้นแบบ เคเอ็ม ตัวจริง

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะพี่ชาญวิทย์

ติดตามอ่านทุกตอน....

ขอบคุณที่ช่วยทำงานให้จังหวัด

บรรยากาศดีมาก ๆ ๆ

สวัสดีครับ คุณยาย

มีการจัดกระบวนการก็นำมาเล่าแลกเปลี่ยนกระบวนการกันบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

น้องบ่าว เกษตรยะลา

ขอบคุณมากครับที่ยกย่องจนตัวลอย

น้องสาว พัชร์ธนนันท์

เวทีหลัง ๆ จะเชิญไปช่วยครับ เตรียมตัวไว้

ขอบคุณครับ

น้องสาว พัชร์ธนนันท์

เวทีหลัง ๆ จะเชิญไปช่วยครับ เตรียมตัวไว้

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท