ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ : ของขวัญกล่องใหม่สำหรับนักลงทุน


ปัจจุบันกฎหมายไทยที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมการลงทุนนั้นจะเป็นกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาไม่ต่ำกว่าสิบปี ดังนั้นแม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้งให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่รากฐานบางอย่างก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น  ประเทศไทยจำเป็นต้องคิดหาทุกวิถีทางเพื่อสร้างแรงจูงใจอันนั้น  กลไกทางกฎหมายถือว่าเป็นสาระสำคัญที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ  เพราะนักลงทุนย่อมประสงค์จะได้สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของเขามากที่สุด

ปัจจุบันกฎหมายไทยที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมการลงทุนนั้นจะเป็นกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาไม่ต่ำกว่าสิบปี  ดังนั้นแม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้งให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่รากฐานบางอย่างก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้  อาทิกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม  แม้จะสร้างสิ่งจูงใจให้มีการเข้ามาลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรม  แต่ความต้องการของผู้ลงทุนที่เปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของเศรษฐกิจกลับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น  กฎหมายฉบับดังกล่าวจึงเริ่มไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนได้อีกต่อไป  จึงเป็นที่มาของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ Special Economic Zone  หมายถึงการกำหนดเขตทางภูมิศาสตร์เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่มีความพิเศษ  แตกต่างไปจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ทั่วไป  ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ (Wikipedia - Encyclopedia)  ซึ่งในปัจจุบันเขตเศรษฐกิจพิเศษมีกระจายอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย  (จีน  อินเดีย  จอร์แดน  คาซัคสถาน  ฟิลิปปินส์  เกาหลีเหนือ  โปแลนด์  และรัศเซีย)

เขตเศรษฐกิจพิเศษของไทยนั้นมีที่มาจากความคิดที่ว่า รัฐมีหน้าที่ต้องพัฒนาเศรษฐกิจและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ  จัดทำสาธารณูปโภค  สาธารูปการและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ  ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่  และต้องพัฒนาการให้บริการของภาครัฐให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน  และโดยที่แต่ละพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาแตกต่างกัน  การพัฒนาพื้นที่ต่างๆ  จึงต้องสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่  รวมทั้งต้องคำนึงภึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย  แต่พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒  อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่เฉพาะที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  มีเจตนารมณ์ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้น  อีกทั้งบทบัญญัติบางประการของกฎหมายดังกล่าวไม่เอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  สมควรยกเลิกกฎหมายดังกล่าวและให้มีกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เฉพาะสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของประชาชน  และเพื่อให้การพัฒนาระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น  (เหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฯ)

โดยเขตเศรษฐกิจในที่นี้มีนิยามว่า เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ หรือการอื่นใด รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการที่ดี หรือเพื่อประกอบการเสรี 

 

หมายเลขบันทึก: 38655เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ทราบว่าจะมีผลใช้บังคับเมื่อไร และมีผลดีกับประชาชนอย่างไร  อีกทั้งเป็นร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ซ้ำซ้อนกับพรบ.ที่มีอยู่ในประเทศไทยหรือไม่

อดใจอีกแป๊บครับพี่ต้อย เด๋วจะได้อ่านเต็มๆครับ

นอต

รออยู่นะจ๊ะ อยากอ่านอ่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท