ประชุมวิชาการเวชกรรมสังคม ประจำปี 2553


ประชุมวิชาการเวชกรรมสังคม ประจำปี 2553

ประชุมวิชาการเวชกรรมสังคม ประจำปี 2553

18-20 สค.2553 โรงแรมลองบีช อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

นพ.ธีรศักดิ์  ลักษณานนท์ ประธ่านชมรมเวชกรรมสังคม กล่าวรายงาน

นพ.สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดงาน

และกล่าวถึงกลุ่มงานเวชกรรมสังคมว่า

1) เติมเต็มส่วนขาดของโรงพยาบาล

2) เชื่อมต่อเครือข่าย ประสานงาน

3) เตรียมคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจงานในชุมชน

 

นพ.ประวิง เอื้อนนทัช แพทย์ Ortho  ผอก.รพ.สุราษฏรธานี
บรรยายเรื่องแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพชุมชน ทีมงาน และทำงานเป็นทีม 

เนื่องจาก OPD รพ.สุราษฎร เตรียมไว้สำหรับคนไข้เพียง 500 คนต่อวัน
แต่มีคนไข้ OPD วันละ > 2000 คน
 
ได้ทำโครงการโดยให้เทศบาลช่วยดูแลเขตเมือง
เริ่ม 2547 เทศบาลสุราษฎรธานีมีทีมพยาบาลอยู่เองแล้ว

เทศบาลสุราษฎรธานี จึงจ้างแพทย์จบใหม่
เดือนละ 50,000 เพื่อเป็นแพทย์ของเทศบาล
 
ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือ

นพ.ประวิง เอื้อนนทัช บรรยายแทน นพ.อมร นนทสุต

เพราะชาวบ้านรู้เรื่องปัญหาของชุมชนดีกว่า แพทย์ พยาบาล
อาจารย์ นพ.อมร บอก นพ.ประวิง ว่า
ให้ชาวบ้านตั้งกฎิกาเอง ควบคุมกันเอง
 
แต่ก่อนกว่าจะได้เงินงบประมาณด้านสาธารณสุขจากท้องถิ่นนั้นยาก
แต่เมื่อชุมชนได้คิดงานเองและ รพ.ช่วยเขียนโครงการจึงทำงานได้ง่าย

ในภายหลังชาวบ้านคิดเองและเขียนโครงการเอง

นพ.สสจ. ก็มาช่วย  งบของเทศบาล แต่ได้ใช้ทั้งอำเภอ !!

 

 

ดร.กาญจนา จันทร์ไทย

ผู้อำนวยการสำนักการพยาบาล
บรรยายถอดรหัสบทเรียนพยาบาลชุมชน
พยาบาล RN, NP    Professional Role

1) มีความรู้เชิงวิชาชีพ
2) สมดุลย์ 4 มิติ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู)
3) ทำงานเป็นทีมกับสหสาขา
4) สัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ท้องถิ่น
5) การแปลงและผสมผสานนโยบายสู่การปฏิบัติ
6) หลักฐานเชิงประจักษ์ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
7) มีภาวะผู้นำ

The Five principle of Primary Health Care
1) Accessiblility to health services
2) Use of appropriate technology
3) Individual and community participation
4) Increase health promotion and disease prevention
5) Intersectoral co-orperation and collaboration
(ARRN, 2003)

 

 

 

 

19 สค.2553 นพ.ปราชญ์ บุญญวงศ์วิโรจน์
ได้มาร่วมงาน 60 ฝนที่ล้ำค่าสู่เส้นชัย ของชมรมเวชกรรมสังคม

ซึ่งเริ่มต้นคิดคำว่า "เวชกรรมสังคม" นี้ ขึ้นที่ จ.น่าน และพัฒนาต่อที่ จ.ลำปาง

เดิมท่านปฏิบัติงานเป็น แพทย์ศัลยกรรม รพ.นครราชสีมา
ประมาณ พ.ศ. 2523-2526 จึงมาทำงานเวชกรรมสังคม

ท่านเล่าว่า เมื่อเริ่มต้นงานเวชกรรมสังคมนั้น 

ด้านการยอมรับ อัตรากำลังและงบประมาณ (มีอยู่น้อย)

ให้ทำงานให้เกิดผลงานก่อน

อีกเรื่องหนี่งที่ท่านแนะนำคือ องค์บิดาแห่งการแพทย์การสาธารณสุข
ให้ถิอประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นลำดับที่ 1 (ประโยชน์ส่วนตัวเป็นลำดับที่ 2)
ลาภ ยศ จะตกอยู่กับท่าน ถ้าท่านดำรงธรรมะแห่งวิชาชีพให้บริสุทธ์

เพิ่มการเรียนรู้ด้านสาธารณสุข และเปลี่ยนสายงาน เป็น สสจ.
ผู้ตรวจราชการ อธิบดี รองปลัด ปลัดกระทรวง

ซึ่งด้านการบริหาร ต้อง Balance ระหว่าง 

ศักดิ์ศรีของวิชาชีพกับความต้องการของนักการเมือง (13 รมต. )

นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ท่านใช้วิถีทางของเวชกรรมสังคมในการทำงาน

 

ฝากให้ชมรมเวชกรรมสังคมดูแลผู้สูงอายุด้วย

ให้ผู้สูงอายุมี FAN คือ Family, Activities และ Networks

 

 

พญ.อภิญญา รพ.ลำปาง
นพ.สมยศ (เฉิน) รพ.เจ้าพระยายมราช
รวมทั้งหมด 15 ท่าน

========================================

พรุ่งนี้ 20 สค.2553 วิทยากรคือ

ศ.ดร.สมจิตร หนุเจริญกุล ภาควิชาพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล

 

========================================
บ่ายวันนี้ 23 สค.2553 คุณนงนุช  จ.นครสวรรค์  ส่ง email  Powerpoint ของ

นพ.วินัย สวัสดิวร สปสช.

เรื่อง ความคาดหวังของ สปสช. ต่อกลุ่มงานเวชกรรมสังคม

เนื้อหาโดยย่อคือ

1. การพัฒนา Primary care

2. การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

3. การส่งเสริมให้เทศบาลมีบทบาทในงานสาธารณสุขเขตเมือง

 

 

งาน Primary Care ใน Catchment Area
ในเขตเทศบาล (โรงพยาบาล, เทศบาล)
และนอกเขตเทศบาล (สถานีอนามัย, อบต.)

Health Promotion, Disease Prevention
P&P Expressed demand services

93.85 บาทต่อหัวประชากร (ทั้งประเทศ)
ปรับโครงสร้างอายุที่ระดับจังหวัด
ครอบคลุม

การฝากครรภ์ - การตรวจหลังคลอด
การให้ภูมิคุ้มกันโรค - การดูแลสุขภาพและพัฒนาการตามวัยเด็ก
การวางแผนครอบครัว - การดูแลสุขภาพช่องปาก
การให้สุขศึกษา - อนามัยโรงเรียน
การตรวจคัดกรองและปรับพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มวัย
การสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 

 

========================================

บ่ายวันนี้ 19 สค.2553 ผมจะเป็นผู้วิพากษ์

งานวิชาการของการประชุมประจำปีเวชกรรมสังคม
คู่กับ พญ.เพ็ญศรี รพ.พิจิตร (ห้องสีทราย 1 มี Paper นำเสนอ 8 เรือง)

Link to: http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=somed1&topic=58

อีกห้องหนึ่ง นพ.ธีรศักดิ์ จ.นครสวรรค์
และ พญ.ลลิตยา จ.โคราช

 

========================================

เมื่อปี 2538 งบก่อสร้าง PCU ของเทศบาลนครพิษณุโลก
ชุมชนประชาอุทิศ เป็นงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย

เมื่อปี 2538 ผม ได้เสนอให้ก่อสร้างโดยใช้แบบแปลนของกระทรวงสาธารณสุข
เทศบาลนครพิษณุโลกได้เป็นเทศบาลแห่งแรกที่เป็นคู่สัญญาตรงกับ สปสช.

และได้สนับสนุนงบประมาณ เพิ่มไปจากที่ สปสช. ส่งมา
คือเพิ่มให้อีก 50 ล้านบาทในช่วงเวลา 2-3 ปี

ปัจจุบันมีคู่สัญญาระหว่าง เทศบาล หรือ อบต. กับ สปสช.
5,000 แห่งจากทั้งหมด 7,000 แห่ง

เดิมคนไข้ของเทศบาลนครพิษณุโลก
มี Market Share 2% ขณะนี้เพิ่มเป็น 30%

นพ.นภดล เป็นแพทย์ของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช
ที่ไปช่วยตรวจคนไข้ OPD ของเทศบาล (ประชาอุทิศ) ตั้งแต่ 2541

ส่วนเรื่อง รอแป๊บ นึงนั้น
 
ก็คือเรื่อง Pap Smear กลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลสามารถรับคูปอง
ไปตรวจ Pap ที่ คลินิกแพทย์ที่เป็นคู่สัญญากับเทศบาล
ในเวลาตอนเย็นหรือตอนหัวค่ำที่แพทย์เปิดคลินิกได้

(เพราะเทศบาลมีสภาพทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล จึงทำสัญญากับคลินิกแพทย์ได้เอง
ต่างกันกับ รพศ รพท. ซึ่งไม่ได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล)

นภดล

หมายเลขบันทึก: 386082เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2010 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ หมอสีอิฐ

ตอบ 
กระทรวง สาธารณสุขจัดให้เวชกรรมสังคม เป็น Primary Care 
แต่เวชกรรมสังคม มีงานที่ต้องประสานกับ Secondary, Tirtiary Care ด้วย 

คือ Primary Care เป็น Subset ของ Social Medicine 

ซึ่ง Social Medicine หรือ Community Medicine ใช้หลักระบาดวิทยาในการป้องกันควบคุมโรค

และแพทยสภาจัดให้ ระบาดวิทยาเป็นวิชาด้านเวชศาสตร์ป้องกัน

 

เพราะกลุ่มงานเวชกรรมสังคมเป็นหน่วยงานของ รพศ รพท 
คือของ โรงพยาบาลศูนย์ของเขต (รพศ.) และ รพ.ทั่วไป (รพท.) หรือ รพ.จังหวัด 

รพ.อำเภอ (โรงพยาบาลชุมชน) จะไม่มี "กลุ่มงานเวชกรรมสังคม" 
แต่ รพ.อำเภอ จะมี "กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว"

รพศ. รพท จะมี "งานเวชศาสตร์ครอบครัว" 
เพิ่มขึ้นมาใน "กลุ่มงานเวชกรรมสังคม" ประมาณปี พ.ศ.2544

บุคลากรของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม คือ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ (ทันตแพทย์ เภสัช) 

งานสุขศึกษาและงานสังคมสงเคราะห์ แยกออกจากเวชกรรมสังคม 
ไปตั้งเป็นกลุ่มงาน ประมาณ พ.ศ.2544-2545 

งานอาชีวเวชกรรม แยกออกจากเวชกรรมสังคมตั้งเป็นกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม 
(40 แห่งจาก รพศ./รพท. 90 แห่ง) 

ผมมีความเห็นเห็นว่างาน Primary Care คือ สถานบริการสาธารณสุข (PCU) 
ควรจะอยู่ที่ตำบล หรืออยู่ชุมชน 
Link to: General Practice 
http://somed1.tripod.com/gp

แต่งานในกลุ่มงานเวชกรรมสังคมมี ทั้งงานในโรงพยาบาลเองและงานนอกโรงพยาบาล 
เป็นงานเพื่อประโยชน์ของสังคม "Social Medicine" 

งานการแพทย์การสาธารณสุขในโรงเรียน งานงานการแพทย์การสาธารณสุขในโรงงาน 

Family ครอบครัวเดี่ยว คือ พ่อ แม่ ลูก

Social = Family + Family +Family 

(Social <--> Family) 
เมื่อเสร็จงานในโรงงานหรือเมื่อเด็กกลับจากโรงเรียนแล้ว ก็มาอยู้บ้านเดียวกัน เป็น พ่อแม่ลูก Family 

Social Medicine จึงกว้างมากไปกว่างาน "Family Medicine" 
พ่อ แม่ ลูก ในห้องตรวจ Consultation room ของหมอ FamMed สามารถ ได้รับการรักษา ส่งเสริม ป้องกันได้ในคราวเดียว (Integrated or Complehensive Care) 

แต่ถ้าเป็นแพทย์เฉพาะทาง "Specialist" 
(ถ้าเป็นโรคที่ซับซ้อน ก็คือ Tirtialry Care ใน รพ.จังหวัด หรือ รพ.ศูนย์) คือ 
พ่อ ผู้ชายไปห้องอายุรกรรมหรือศัลย์กรรม 
ผู้หญิงไปห้อง OB-Gyn 
เด็กไปห้องหมอเด็ก 

หรือบางที ในคนเดียวกัน 
โรคหูต้องไปตรวจห้องหนี่งกับหมอ ENT 
โรคตาต้องไปตรวจห้องหนึ่งกับหมอโรคตา 
โรคผิวหนังตรวจอีกห้องหนึ่งกับหมอโรคผิวหนัง เป็นต้น 

บางงานของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม เช่น งาน TB เป็นงานที่ต้องประสานกับแพทย์อายุรกรรม คือ Specialist เพื่อตรวจรักษา แต่การรายงานข้อมูล Cohort TB เป็นงานของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม 

งานด้านเวชศาสตรป้องกัน (Preventive Medicine)

งานป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา เช่นรายงาน Influenza Like Illness (ILI) 

รายงาน 506, 507 (โรคติดต่อและโรคเฝ้าระวัง 82-84 โรค จาก OPD และหอผู้ป่วย) 

งาน HIV-Qual-T. PIMM, CHILD งาน SRRT 

เป็นงานป้องกันควบคุมโรคของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม 


อ่านเพิ่มเติม Website ชมรมเวชกรรมสังคม 
Link to: http://somed1.tripod.com

ขอบคุณพี่มากครับ ข้อมูลพี่มีประโยชน์มาก จะค่อยๆศึกษาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท