เทคโนโลยีกับแนวโน้มโลกในอนาคต


ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันของเราต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย

เทคโนโลยีกับแนวโน้มโลกในอนาคต ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันของเราต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย การอยู่รวมกันเป็นสังคมทำให้ต้องสื่อสารถึงกัน เราจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันกับผู้อื่น มาใช้หรือปฏิบัติให้ถูดต้องก็จะมีผลเสียหายทั้งต่อตนเองและบุคลรอบข้างด้วย

  เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อน มาเป็นสังคมเกษตร ที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตร ทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมาก และต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่ม อยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เน็ต เชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ (cyberspace) มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในไซเปอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริงมากมาย เช่น ห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง ฯลฯ

              เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความต้องการ ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ เมื่อเราเปิดโทรทัศน์ เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาเราก็จะต้องชมตามตารางเวลาที่สถานีกำหนด หากผิดเวลาก็ทำให้พลาดรายการที่สนใจไป แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ ที่เรียกว่า ออนดีมานด์ (on demand) เราจะมีทีวีออนดีมานด์ (TV on demand) เช่น เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็เลือกชม และดูได้ตั้งแต่ต้นรายการ การศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) คือ สามารถเลือกเรียนตามความต้องการได้

            เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง เรามีระบบประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบการศึกษาบนเครือข่าย มีระบบการค้าบนเครือข่าย มีการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้มีการเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา

           เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติ ไปเป็นเศรษฐกิจโลก ความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์ (globalization) ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทส ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศ และเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น

หมายเลขบันทึก: 38556เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท